คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2503

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยยืนยันให้กำนันยึดรถยนต์บรรทุก ของโจทก์ซึ่งรับจ้างบรรทุกข้าวเปลือกนั้นสักข้าวเปลือกของจำเลยไว้โดยไม่มีความจำเป็นและเป็นการแกล้งโจทก์โดยไม่สุจริต กำนันจึงยึดของโจทก์ไว้ 39 วันดังนี้ การกระทำของจำเลยได้ชื่อว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ กำนันจะยึดรถไว้โดยอาศัยอำนาจของตนเองในฐานเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจเช่นว่า นั้น หรือไม่ ไม่สำคัญ เมื่อโจทก์ฟ้องในทางแพ่ง และจำเลยได้ละเมิดสิทธิของโจทก์แล้ว จำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ในทางแพ่ง ตามประมวลกฎหมายแพและพาณิชย์ มาตรา 420 (ควรเทียบดูฎีกา ที่ 320/2503) (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2503)

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้แจ้งให้กำนันจับรถยนต์บรรทุกขอช่วย โจทก์ยึดไว้ ๓๙ วัน โดยจำเลยหาว่านางเน้ยเป็นคนร้ายลักข้างที่รถโจทก์รับจ้างบรรทุกนั้น ทั้งที่คนรถของโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่า รถคันนี้เป็นของโจทก์ เพียงแต่มารับจ้าง ไม่เกี่ยวข้องกับข้าวเปลือกซึ่งจำเลยกับนายเน้ย โต้เถียงสิทธิกัน ขออย่าให้ยึดรถไว้เลย จำเลยก็ไม่ยอม กลับแจ้งให้กำนันยึดรถของโจทก์ไว้ เป็นการจงใจหน่วงเหนี่ยวใช้สิทธิไม่สุจริต เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย และเสียเวลา ซ่อมรถอีก ๑๖ วัน ขอให้จำเลยรับผิดฐานละเมิด ให้ใช้ค่าเสีย หายให้แก่โจทก์รวม ๔๗,๓๕๐ บาทดอกเบี้ย
จำเลยต่อสู้ว่า มิได้แจ้งให้กำนันยึด อำนาจที่จะยึดของกลางตกอยู่แถวกำนันผู้เป็นเจ้าหน้าที่ที่จะใช้ดุลยพินิจยึดหรือไม่ยึดตามกฎหมายและตามหน้าที่ จำเลยไม่อำนาจที่จะสั่งการเองได้
ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยแจ้งกำนันให้จับนางเน้ยหาว่า ลักข้าวเปลือกของจำเลย และกำนันได้ยึดรถที่บรรทุกข้าวเปลือกของจำเลยนั้น ศาลพิพากษายกฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในทางแพ่ง ในการที่รถของโจทก์ถูกยึดอยู่ ๓๙ วัน และต้องเสียเวลาซ่อมรถอีก ๑๖ วัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นเงิน ๒๕,๒๕๐ บาท กับดอกเบี้ย
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า การที่กำนันและพนักงานสอบสวนยึดรถและข้าวเปลือกไว้เป็นของกลางนั้น เป็นเรื่องใช้ดุลยพินิจตามอำนาจหน้าที่ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้รถจะเป็นของโจทก์ก็ดี พิพากษากลับให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
่ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า รถเป็นของโจทก์และจำเลยเป็นผู้ยืนยันให้กำนันยึดรถซึ่งมิใช่เป็นของนางเน้ยผู้ต้องหาเป็นของกลางโดยไม่มีความจำเป็นการจงใจแกล้งโจทก์โดยไม่สุจริต ดังนี้ จำเลยได้ละเมิดสิทธิของโจทก์แล้ว จำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ในทางแพ่ง ตามประมวลกฎหมายแพและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐
ศาลฎีกาเห็นสมควรอธิบายข้อกฎหมายเปรียบเทียบคดีอาญาตามฎีกาที่ ๓๒๐/๒๕๐๓ ในคดีนั้นศาลฟังว่า จำเลยเอาเครื่องมือทำสตางค์ไปใส่ไว้ที่บ้านผู้เสียหาย แล้วไปแจ้งให้เจ้าหน้าที่ไปค้น เป็นผลให้ผู้เสียหายถูกจับกุม แต่ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานทำให้ผู้เสียหาย เสื่อมเสียอิสระภาพ ทั้งนี้โดยการกระทำของจำเลยหากจะเป็นผิดก็ผิดตามตัวบทซึ่งกฎหมายบัญญัติฐานความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว การที่เจ้าพนักงานจับกุมผู้เสียหาย เจ้าพนักงานได้ทำไปตามอำนาจของเจ้าพนักงาน จำเลยจึงหาได้ผิดฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพไม่ แต่ถ้าจะว่า ในทางแพ่งแล้ว การกระทำเช่นว่านี้ ของจำเลยไม่ว่าจะผิดฐานใดในทางอาญาก็คงเป็นละเมิดในทางแพ่ง เช่นเดียวกัน ฉะนั้น ในคดีนี้กำนันจะยึดรถไว้โดยอาศัยอำนาจของตนในฐานเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจเช่นว่านั้นหรือไม่ ไม่สำคัญ เมื่อโจทก์ในทางแพ่ง และจำเลยได้ละเมิดสิทธิของโจทก์แล้ว จำเลยก็ต้องรับผิดในทางนั้น
ศาลฎีกาพิพากษากลับศาลอุทธรณ์ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดแก่โจทก์เป็นเงินรวม ๑๖,๗๐๐ บาทและดอกเบี้ย

Share