คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อและชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์หากส่งมอบไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนจำเลยที่1ได้นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งมอบให้โจทก์แล้วแต่พนักงานของโจทก์ไม่ยอมรับเมื่อจำเลยทั้งสองนำรถยนต์ที่เช่าซื้อและเงินค่าเสียหายไปวางทรัพย์ที่สำนักงานวางทรัพย์กลางแม้เป็นเวลาภายหลังที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยที่2แล้วก็ตามก็ถือได้ว่าไม่มีหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องบังคับคดีต่อไปซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา295(1)อันเป็นผลให้หมายบังคับคดีสิ้นผลไปจึงต้องยกเลิกหมายบังคับคดีตามคำร้องของจำเลยทั้งสอง

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ส่งมอบรถยนต์ ที่ เช่าซื้อ คืน ให้ โจทก์ ใน สภาพ ที่ ใช้ การ ได้ ดี ถ้า ไม่ส่ง มอบ คืนให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ราคา แทน ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระค่าเสียหาย เป็น ค่าขาดประโยชน์ จำนวนเงิน 19,500 บาท และ ชำระค่าเสียหาย ให้ โจทก์ ต่อไป อีก เดือน ละ 1,500 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้องจนกว่า จะ ส่งมอบ รถ ที่ เช่าซื้อ แต่ ไม่ให้ เกิน 10 เดือน คดีถึงที่สุด แล้วจำเลย ทั้ง สอง ทราบ คำบังคับ แล้ว แต่ ไม่ ปฎิบัติ ตาม คำพิพากษาโจทก์ ขอให้ ศาล ตั้ง เจ้าพนักงาน บังคับคดี ต่อมา จำเลย ที่ 2 ยื่น คำร้องต่อ ศาลชั้นต้น ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่เคย ได้รับ คำบังคับ จึง ไม่ทราบ ว่าต้อง ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 เพื่อ ชำระหนี้ ตาม คำพิพากษา เมื่อ วันที่25 พฤษภาคม 2537 เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ยึด ที่ดิน โฉนด เลขที่175043 แขวง คลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เลขที่ 494 ของ จำเลย ที่ 2 ทั้ง ๆ ที่ จำเลย ที่ 1 ได้ ติดต่อ โจทก์หลาย ครั้ง เพื่อ ขอ คืน รถยนต์ พร้อม ค่าเสียหาย จำนวน 34,500 บาท ตามคำพิพากษา แต่ โจทก์ ไม่ยอม รับ รถยนต์ จะ รับ แต่ เงิน จำนวน117,463 บาท กรณี จึง เห็น ได้ว่า โจทก์ ไม่ยอม รับ การ ชำระหนี้ มิใช่จำเลย ทั้ง สอง มิได้ ปฎิบัติ ตาม คำพิพากษา การ ที่ โจทก์ ขอ ออกหมายบังคับคดี เป็น จึง เป็น การ ฝ่าฝืน ต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 ขอให้ ยกเลิก หมาย บังคับคดี และ ถอน การ ยึดทรัพย์ ของ จำเลยที่ 2
ศาลชั้นต้น นัด พร้อม เพื่อ สอบถาม ก่อน ถึง วันนัด เมื่อ วันที่26 และ 27 กันยายน 2537 จำเลย ทั้ง สอง ได้ นำ รถยนต์ ที่ เช่าซื้อพร้อม เงิน จำนวน 39,865 บาท ไป วาง ที่ สำนักงาน วางทรัพย์ กลางเพื่อ ให้ โจทก์ รับ ไป ศาลชั้นต้น ทำการ ไต่สวน แล้ว มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก เลิก หมาย บังคับคดี จำเลยทั้ง สอง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา รับฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ ส่ง จดหมาย แจ้ง ให้จำเลย ที่ 1 นำ รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ ไป ส่งมอบ แก่ โจทก์ พร้อม ทั้ง ชำระค่าเสียหาย ตาม คำพิพากษา จำเลย ที่ 1 จึง นำ รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ ไป ส่งมอบแก่ โจทก์ พร้อม ทั้ง ชำระ ค่าเสียหาย ตาม คำพิพากษา จำเลย ที่ 1 จึง นำรถยนต์ ที่ เช่าซื้อ ไป ส่งมอบ ให้ โจทก์ แต่ พนักงาน ของ โจทก์ ไม่ยอม รับโดย แจ้ง ว่า นโยบาย ของ บริษัท จะ ไม่รับ รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ คืน โดย จะ ขอรับ เงิน ตาม คำพิพากษา หลังจาก นั้น จำเลย ที่ 1 ไป ติดต่อ โจทก์ อีก3-4 ครั้ง แต่ โจทก์ ไม่ยอม รับ รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ คืน จำเลย ทั้ง สองจึง นำ รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ และ เงิน ไป วางทรัพย์ ณ สำนักงาน วางทรัพย์กรมบังคับคดี แล้ว วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ วางทรัพย์ชำระหนี้ ให้ แก่ โจทก์ ตาม คำพิพากษา แล้ว แม้ เป็น การ ชำระหนี้ หลังจากโจทก์ นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึดทรัพย์ จำเลย ที่ 2 ตาม กฎหมาย บังคับคดีเพื่อ บังคับ ตาม คำพิพากษา ก็ ตาม ก็ ถือได้ว่า ไม่มี หนี้ ตาม คำพิพากษาที่ จะ บังคับ ต่อไป เจ้าพนักงาน บังคับคดี ต้อง ถอน การ บังคับคดี ตามมาตรา 295(1) แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่ง เป็น ผลให้ หมาย บังคับคดี สิ้น ผล ไป โดย ผล แห่ง การ ชำระหนี้ ตาม คำพิพากษา แล้ว
พิพากษายืน

Share