คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ใบไต่สวนเป็นหนังสือซึ่งเจ้าพนักงานออกให้เพื่อแสดงว่าเจ้าของที่ดินได้นำรังวัดเพื่อออกโฉนดไม่ใช่ เอกสารสำคัญที่แสดงว่าผู้มีชื่อในใบไต่สวนเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเมื่อโจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งมีใบไต่สวนโดยเจตนายึดถือเพื่อตนเป็นเวลาเกินกว่า1ปีโจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองจากเจ้าของเดิมโดยเด็ดขาดแล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า นาย จีนเซียว เป็น เจ้าของ ที่ดิน ตาม ใบ ไต่สวน เล่ม 2 หน้า 81139 หรือ 139 ที่ดิน ระวาง ที่ 4 ต 2 ฏ เลขที่ 131จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 12 ตารางวา ต่อมา ได้ โอน ตกทอด เป็น สิทธิ ครอบครองของ นาง นันทา หัตถกิจ โดย เข้า ครอบครอง และ ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน เช่น ทำนา เสีย ภาษีบำรุงท้องที่ ติดต่อ กัน มา ตั้งแต่ ปี 2506 จน ถึงปี 2532 โดย ไม่มี ผู้ใด โต้แย้ง เมื่อ วันที่ 21 เมษายน 2531นาง นันทา ขาย ให้ แก่ โจทก์ ใน ราคา 90,000 บาท โดย ส่งมอบ สิทธิ ครอบครอง ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง แปลง โจทก์ ได้ ครอบครอง ทำประโยชน์ โดย ทำนาปลูก ผัก ปลูก ดอกไม้ และ ให้ ผู้อื่น ทำนา ตลอดมา และ ได้ ปลูก บ้าน เลขที่7/1 หมู่ ที่ 2 ตำบล ฉลอง อำเภอ เมือง ภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต เพื่อ อยู่อาศัย เมื่อ วันที่ 7 มีนาคม 2535 จำเลย ทั้ง สอง ซึ่ง เป็น หลานของ นาย จีนเซียว ได้ บุกรุก เข้า ไป รบกวน สิทธิ การ ครอบครอง ที่ดิน ของ โจทก์ เป็น เนื้อที่ ประมาณ 1 ไร่ ราคา 100,000 บาท โดย ปัก หลักไม้ ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 2.5 เมตร จำนวน 4 ต้น จึงขอให้ ศาล พิพากษา ว่า โจทก์ มีสิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดิน มือเปล่า จำนวน1 ไร่ ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 12 ดีกว่า จำเลย ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า ที่ดิน ตาม ใบ ไต่สวนเล่ม ที่ 2 หน้า 81139 หรือ 139 ที่ดิน ระวาง ที่ 4 ต2ฎ เลขที่ 131จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 12 ตารางวา เป็น กรรมสิทธิ์ ของ นาย จีนเซียว เมื่อ นาย จีนเซียว ถึงแก่กรรม จึง ตกเป็น มรดก ของ จำเลย ที่ 1 หา ได้ ตกเป็น สิทธิ ครอบครอง ของ นาง นันทา หัตถกิจ แต่ ประการใด นาง นันทา ไม่ได้ ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ถือ สิทธิครอบครอง ทำประโยชน์ ตลอดมา โจทก์ กับ นาง นันทา ร่วมกัน ทำ สัญญา ซื้อ ขาย ขึ้น เพื่อ อ้าง เป็น ข้อ ฟ้องร้อง จำเลย ทั้ง สอง โดย ไม่ได้ ทำการซื้อ ขาย กัน จริง บ้าน เลขที่ 7/1 หมู่ ที่ 2 ตำบล ฉลอง อำเภอ เมือง ภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต อยู่ นอก ที่พิพาท จำเลย ที่ 2 เป็น เพียง ผู้กระทำตาม คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 1 ให้ นำ หลัก ไม้ ไป ปัก ไว้ โจทก์ ยัง ครอบครองไม่เกิน 10 ปี จึง ไม่มี สิทธิ ใน ที่พิพาท ขอให้ พิพากษายก ฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษากลับ ว่า โจทก์ มีสิทธิ ใน ที่พิพาทประมาณ 1 ไร่ ของ ที่ดิน ตาม ใบ ไต่สวน เล่ม ที่ 2 หน้า 139 เลขที่ 131ตำบล ฉลอง อำเภอ เมือง ภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต ดีกว่า จำเลย ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ มี ราคา ทรัพย์สิน หรือ จำนวน ทุนทรัพย์ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท ห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ในข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งและ ใน การ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 238 ประกอบ ด้วย มาตรา 247 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟัง ข้อเท็จจริง มา ว่า ที่พิพาท ประมาณ 1 ไร่ เป็น ส่วน หนึ่งของ ที่ดิน ตาม ใบ ไต่สวน เล่ม 2 หน้า 139 เลขที่ 131 ตำบล ฉลอง อำเภอ เมือง ภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 12 ตารางวาเดิม เป็น ของ นาย จีนเซียว บิดา จำเลย ที่ 1 ซึ่ง ถึงแก่กรรม ไป แล้ว นาง นันทา หัตถกิจ ซื้อ ที่ดิน แปลง นี้ มาจาก นาย ไข่ บุตร ของ นาย จีนเซียว อีก คนหนึ่ง แล้ว นาง นันทา ขาย ที่พิพาท ให้ แก่ โจทก์ เมื่อ โจทก์ ซื้อ ที่ดิน จาก นาง นันทา แล้ว ได้ เข้า ครอบครอง ที่พิพาท โดย เจตนา จะ ยึดถือ เพื่อ ตน ตั้งแต่ วันที่ 21 เมษายน 2531 ปัญหา ต้องวินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ข้อ แรก มี ว่า ที่พิพาท มี หลักฐาน ตามใบ ไต่สวน การ ที่ โจทก์ ครอบครอง ที่ดินพิพาท โจทก์ จะ ต้อง ครอบครองเกินกว่า 10 ปี จึง จะ ได้ สิทธิ ใน ที่ดิน ด้วย การ ครอบครอง หรือไม่เห็นว่า ใบ ไต่สวน เป็น หนังสือ ซึ่ง เจ้าพนักงาน ออก ให้ เพื่อ แสดง ว่าเจ้าของ ที่ดิน ได้ นำ รังวัด เพื่อ ออก โฉนด แต่ ใบ ไต่สวน ตาม ประมวล กฎหมายที่ดิน ไม่ใช่ เอกสาร สำคัญ ที่ แสดง ว่า ผู้มีชื่อ ใน ใบ ไต่สวน เป็น ผู้ มีกรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน นั้น เมื่อ โจทก์ ครอบครอง ที่พิพาท ซึ่ง เป็นที่ดิน ที่ มี ใบ ไต่สวน โดย เจตนา ยึดถือ เพื่อ ตน ตั้งแต่ วันที่ 21 เมษายน2531 จน ถึง วันที่ 7 เมษายน 2535 เป็น เวลา เกินกว่า 1 ปี โจทก์ย่อม ได้ ไป ซึ่ง สิทธิ ครอบครอง จาก เจ้าของ เดิม โดย เด็ดขาด แล้ว
ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา อีก ข้อ หนึ่ง ว่า ฟ้องโจทก์ คดี นี้ เป็นฟ้องซ้ำ กับ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 103/2535 ของ ศาลชั้นต้น นั้นเห็นว่า คดี ดังกล่าว โจทก์ ฟ้อง บุคคลอื่น เป็น จำเลย คู่ความ ใน คดี นี้และ คดี ก่อน มิใช่ คู่ความ เดียว กัน ฟ้องโจทก์ คดี นี้ จึง ไม่เป็น ฟ้องซ้ำฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ทุก ข้อ ฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายก อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สองและ ให้ คืน ค่าขึ้นศาล ใน ชั้นอุทธรณ์ ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง ทั้งหมด นั้นปรากฏว่า แม้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 จะ ไม่รับ วินิจฉัย อุทธรณ์ ส่วน ที่จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์ ขอให้ พิพากษา ว่า ที่พิพาท เป็น ของ จำเลย ที่ 1แต่ ก็ ได้ วินิจฉัย ใน ข้อกฎหมาย ที่ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์ ว่าคดี นี้เป็น ฟ้องซ้ำ กับ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 103/2535 ของ ศาลชั้นต้นหรือไม่ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายก อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สองจึง เป็น การ ไม่ชอบ ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ใน ส่วนที่ ให้ยก อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สอง คืน ค่าขึ้นศาล ใน ชั้นอุทธรณ์ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง ทั้งหมด นั้น เสีย นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3

Share