แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เมื่อปรากฎว่าข้อกฎหมายที่จำเลยฎีกา ไม่มีข้อเท็ดจริงในสำนวนฎีกาของจำเลยก็ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195, 225
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขุดทำลายทำนบหรือพนังทางกั้นน้ำในห้องที่อำเภอคลองตาคดซึ่งใช้ป้องกันน้ำท่วมที่ดินและไร่นาของราษฎรและใช้เป็นทางสัญจร เป็นเหตุให้ท่อระบายน้ำแตกร้าวเสียหายเป็นเงิน 1,000 บาท ขอให้ลงโทษ
จำเลยปฏิเสธ
ศาลจังหวัดราชบุรีพิพากษาว่าจำเลยผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.191 ให้จำคุก 3 เดือน แต่ให้รอการลงอาญาไว้ 5 ปี
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้รอการลงอาญาไว้ 1 ปี
จำเลยฎีกาข้อกฎหมายว่า
1. กรณีนี้ต้องด้วยพ.ร.บ.จัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 และ พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษ ศาลลงโทษจำเลยตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.191 มิชอบ
2. พนักงานที่พิพาทนี้อยู่ในเขตที่ดินของกรมรถไฟเป็นอำนาจและหน้าที่ของอาณาบาลรถไฟจะดำเนินการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดและมอบให้อัยการ ปลัดอำเภอและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจสืบสวนสอบสวนฟ้องร้อง
ศาลฎีกาเห็นว่า ในศาลชั้นต้นจำเลยต่อสู้แต่เฉพาะข้อเท็จจริงว่ามิได้กระทำผิดเท่านั้น ข้อที่ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของกรมรถไฟนั้นหาได้มีผู้ใดยกขึ้นอ้างอิงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ ข้อเท็จจริงข้อนี้จึงไม่ปรากฎในสำนวน ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอ้างจึงไม่เกิดขึ้น ฎีกาของจำเลยต้องห้ามตาม ม.195 ประกอบด้วย ม.225 แห่ง ป.วิ.อาญา