แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ออกเงินซื้อที่ดินร่วมกับจำเลยโดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อสามีโจทก์แปลงชาติเป็นไทยได้เรียกร้อยแล้ว จำเลยจะโอนโฉนดใส่ชื่อโจทก์ร่วมด้วย ดังนี้หาเป็นสัญญาที่ผิดกฎหมายไม่และต่อมาเมื่อสามีโจทก์แปลงชาติเป็นไทยได้เรียบร้อยแล้ว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิในที่ดินโฉนดที่ ๔๗๐๖ ร่วมกับจำเลยที่ ๑-๒ กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ ๑-๒ กลับทุจริตโอนขายที่ดินแปลงนี้ให้จำเลยทั้ง ๓ ไป โดยจำเลยที่ ๓ ก็ทราบดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของร่วมด้วย จึงขอให้ทำลายการโอน และขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิกึ่งหนึ่ง
ศาลชั้นตันพิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ ๔๗๐๖ ครึ่งหนึ่ง การโอนซื้อขายระหว่างจำเลยที่ ๑-๒ กับจำเลยที่ ๓ ใช้ได้เฉพาะส่วนของจำเลยที่ ๑-๒ ครึ่งหนึ่งซึ่งยังคงเป็นของจำเลยที่ ๓ ให้ลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของครึ่งหนึ่งร่วมกับจำเลยที่ ๓
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกาเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ศาลฎีกาเห็นว่าข้อกฎหมายที่จำเลยคัดค้านนี้ เห็นว่าการที่โจทก์ออกเงินซื้อที่ดินร่วมกับจำเลย โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อสามีโจทก์แปลงชาติเป็นไทยได้เรียบร้อยแล้ว จำเลยจะโอนโฉนดใส่ชื่อโจทก์ร่วมด้วยเช่นนี้ หาเป็นสัญญาที่ผิดกฎหมายไม่ และต่อมาเมื่อสามีโจทก์แปลงชาติเป็นไทยได้เรียบร้อยแล้ว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น และเมื่อการโอนรายนี้จำเลยนี้ ๓ รับโอนโดยไม่สุจริตการโอนก็ย่อมไม่กระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์
จึงพิพากษายืน