แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิดตามฟ้องโจทก์ทั้งที่ไม่มีข้อตกลงว่าหาก ป. ผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมดนั้นเมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้เมื่อหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้เป็นมูลหนี้ที่ชอบมีผลบังคับได้ตามกฎหมายส่วนมูลหนี้จะเกิดจากการกู้ยืมหรือเกิดจากการขายที่ดินหาใช่ข้อสำคัญไม่ ข้อตกลงที่ ป. จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาหย่ามิใช่เป็นการจะให้ที่ดินแก่โจทก์โดยตรงแต่เป็นการให้ที่เกิดจาก ข้อตกลงตามสัญญา แบ่งทรัพย์สินในการหย่าระหว่าง ป.กับโจทก์ดังนี้ข้อตกลงจะให้ที่ดินดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้โดย ไม่ต้อง จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. รับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ ป. ทำไว้กับโจทก์ส่วนคดีแพ่งของศาลจังหวัดลพบุรีเป็นเรื่องโจทก์ฟ้อง ป. เป็นจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาหย่าที่ ป. ทำไว้กับโจทก์ดังนี้จำเลยในคดีนี้กับจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นคนละคนข้อพิพาทก็เป็นคนละประเด็นกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึง ไม่เป็น ฟ้องซ้อน
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า พันเอก ประเสริฐ สารพัฒน์ เป็น หนี้ เงินกู้ โจทก์ และ ได้ ทำ สัญญา รับสภาพหนี้ ไว้ จำนวนเงิน 33,500 บาท โดย จะ ผ่อนชำระให้ โจทก์ เป็น รายเดือน เดือน ละ 1,000 บาท เริ่ม แต่ สิ้นเดือน มีนาคม2530 เป็นต้น ไป หลังจาก นั้น พันเอก ประเสริฐ ได้ ผ่อนชำระ ให้ โจทก์ เพียง 2 เดือน รวมเป็น เงิน 2,000 บาท แล้ว ผิดนัด ไม่ ผ่อนชำระให้ โจทก์ อีก เลย ต่อมา พันเอก ประเสริฐ ได้ ถึงแก่ความตาย โจทก์ ได้ ทวงถาม ให้ จำเลย ซึ่ง เป็น ทายาท และ ผู้จัดการมรดก ของพันเอก ประเสริฐ ชำระหนี้ ที่ ค้าง จำเลย เพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 31,500 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ เป็น ภริยา ของ พันเอก ประเสริฐ ต่อมา ได้ จดทะเบียน หย่า และ ทำ บันทึก ไว้ พันเอก ประเสริฐ ได้ ปฏิบัติ ตาม ข้อ 3 ใน เอกสาร ดังกล่าว โดย ทำการ ไถ่ถอน จำนอง ที่ดิน แล้ว นำไป ขาย เหลือ เงิน จาก หัก ชำระหนี้ และ ค่าธรรมเนียม แล้ว จำนวน38,000 บาท เศษ เงิน จำนวน ดังกล่าว โจทก์ ได้ ติดตาม เรียกร้องพันเอก ประเสริฐ จึง ได้ ทำ บันทึก ใช้ หนี้ ดังกล่าว ให้ มูลหนี้ ที่ โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เกิดจาก สัญญา หย่า ตาม เอกสาร ที่ กล่าว ถึง ข้างต้น ซึ่ง เป็นข้อตกลง จะ โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน แก่ โจทก์ เมื่อ ไม่ได้ จดทะเบียน ต่อเจ้าพนักงาน โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิเรียกร้อง เงิน ตาม ฟ้อง อัน ได้ มาจาก การขาย ที่ดิน ฟ้องคดี นี้ เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 876/2530ของ ศาลจังหวัด ลพบุรี ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัย และ มี คำพิพากษา ใหม่ ใน ประเด็น แห่ง คดี ต่อไป
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 31,500บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 31 พฤษภาคม2530 ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์ โดย ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถาและ ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น รับรอง ว่า มีเหตุอันควร ที่ จะ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถา และผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น รับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้จำเลย รับผิด เป็น เงิน จำนวน 31,500 บาท ตาม คำฟ้อง โจทก์ ทั้งที่ไม่มี ข้อตกลง ว่า หาก พันเอก ประเสริฐ ผิดนัด งวด ใด งวด หนึ่ง ถือว่า ผิดนัด ทั้งหมด เป็น การ ไม่ชอบ นั้น เห็นว่า จำเลย มิได้ ยก ข้อต่อสู้ ดังกล่าวไว้ ใน คำให้การ จึง เป็น ข้อ ที่ ไม่ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ในศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
ที่ จำเลย ฎีกา ว่า การ อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ของ ศาลชั้นต้นเป็น การ อ่าน ที่ ไม่ชอบ ครั้น เมื่อ จำเลย อุทธรณ์ ปัญหา ข้อ นี้ ศาลอุทธรณ์ไม่รับ วินิจฉัย เพราะ เห็นว่า เป็น อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า ผู้พิพากษา ที่ พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น ได้รับรอง ให้ จำเลย อุทธรณ์ ข้อเท็จจริง ได้ แล้ว เช่นนี้ จำเลย จึงมีสิทธิ อุทธรณ์ ปัญหา ข้อ นี้ ได้ แม้ จะ เป็น ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่รับ วินิจฉัย ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา เพื่อ มิต้อง ย้อนสำนวนไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ไป เสีย เลยได้ความ ตาม รายงาน กระบวนพิจารณา ของ ศาลชั้นต้น ฉบับ ลงวันที่27 ธันวาคม 2534 ว่า ศาลชั้นต้น นัดฟัง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ในวัน นี้ จำเลย ทราบ นัด แล้วแต่ จำเลย ไม่มา ดังนี้ จึง ถือว่า จำเลยได้ ฟัง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ แล้ว แต่ เนื่องจาก ศาลอุทธรณ์ มี คำพิพากษาให้ยก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้น พิจารณา พิพากษา ใหม่ศาลชั้นต้น จึง ได้ นัดฟัง คำพิพากษา ใหม่ โดย บันทึก ไว้ ใน รายงาน กระบวนพิจารณา ฉบับ ดังกล่าว ว่า นัดฟัง คำพิพากษา วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2535เวลา 9 นาฬิกา หมาย แจ้ง วันนัด ให้ คู่ความ ทราบ ดังนั้น ที่ จำเลย ฎีกาว่า ที่ ศาลชั้นต้น แจ้ง วันนัด ฟัง คำพิพากษา วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2535ไม่ ชัดแจ้ง ทำให้ จำเลย เข้าใจ โดยสุจริต ว่า วันนัด ฟัง คำพิพากษาดังกล่าว เป็น วันนัด ฟัง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง ให้เลื่อน ไป นั้น จึง ฟังไม่ขึ้น ศาลชั้นต้น ดำเนิน กระบวนพิจารณา ชอบแล้วฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
สำหรับ ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ ฟ้อง ให้ จำเลย ชำระหนี้ ตาม หนังสือรับสภาพหนี้ โดย กล่าวอ้าง ว่า พันเอก ประเสริฐ กู้เงิน โจทก์ แล้ว ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ไว้ จำเลย ให้การ ปฏิเสธ ว่า พันเอก ประเสริฐ ไม่ได้ กู้ยืม เงิน โจทก์ โจทก์ จึง มี หน้าที่ ต้อง นำสืบ ให้ สม ฟ้อง ว่าพันเอก ประเสริฐ กู้ยืม เงิน โจทก์ ไป จริง ดัง ที่ โจทก์ อ้าง แต่ โจทก์ นำสืบ ฟัง ไม่ได้ ว่า พันเอก ประเสริฐ ได้ กู้ยืม เงิน โจทก์ ดังนี้ จึง เป็น การ นำสืบ ไม่ได้ สม ฟ้อง การ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ให้ จำเลยรับผิด ชำระหนี้ แก่ โจทก์ ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้ ทั้งที่ หนี้ ตามหนังสือ รับสภาพหนี้ มิได้ เป็น มูลหนี้ มาจาก การกู้ยืมเงิน ตาม ฟ้องจึง เป็น การ วินิจฉัย นอกฟ้อง นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้องให้ จำเลย รับผิด ชำระหนี้ ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้ ที่ พันเอก ประเสริฐ ทำ ไว้ กับ โจทก์ แม้ มูลหนี้ ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้ จะ มิได้ เกิดจาก การกู้ยืม ดัง ที่ โจทก์ กล่าวอ้าง แต่ เกิดจาก การ ขาย ที่ดิน ดัง ที่ จำเลยให้การ ก็ ตาม หนี้ ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้ ก็ เป็น มูลหนี้ ที่ชอบ มีผลบังคับ กัน ได้ ตาม กฎหมาย ส่วน มูลหนี้ จะ เกิดจาก การ กู้ยืม หรือเกิดจาก การ ขาย ที่ดิน หาใช่ ข้อสำคัญ ไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์ ให้ จำเลยรับผิด ชำระหนี้ ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้ จึง เป็น การ วินิจฉัย ชอบแล้วหาใช่ เป็น การ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง นอกฟ้อง ดัง ที่ จำเลย ฎีกา ไม่ฎีกา จำเลยข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
สำหรับ ฎีกา จำเลย ที่ ว่า ศาลอุทธรณ์ ไม่รับ วินิจฉัย ข้อต่อสู้ ของจำเลย ใน ประเด็น ข้อตกลง ที่ พันเอก ประเสริฐ จะ โอน ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ แต่ มิได้ มี การ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ข้อตกลง ดังกล่าวจึง เป็น โมฆะ โดย ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า จำเลย ไม่ได้ ขอ เพิ่ม ประเด็นข้อ นี้ นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า จำเลย ได้ ยก ปัญหา ข้อ นี้ ขึ้น ต่อสู้ ไว้ ในคำให้การ แล้ว จึง มี ประเด็น ข้อ นี้ ใน คดี แต่ ใน การ ชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นไม่ได้ กำหนด ประเด็น ข้อ นี้ ไว้ ซึ่ง จำเลย ก็ ได้ แถลง โต้แย้ง ขอ เพิ่มประเด็น ข้อ นี้ ไว้ แล้ว ดัง มี รายละเอียด ตาม คำแถลง ฉบับ ลงวันที่19 กันยายน 2531 ดังนี้ ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่รับ วินิจฉัย ประเด็น ข้อ นี้โดย ฟัง ว่า จำเลย ไม่ได้ ขอ เพิ่ม ประเด็น ข้อ นี้ ไว้ ไม่ต้อง ด้วย ความเห็นของ ศาลฎีกา เพื่อ มิต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ปัญหา ประเด็น ข้อ นี้ ไป เสีย เลย เห็นว่าข้อตกลง ที่ พันเอก ประเสริฐ จะ โอน ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ตาม หนังสือ สัญญา หย่า ข้อ 3 ใน เอกสาร หมาย ล. 1 นั้น ไม่ใช่ เป็น การ จะ ให้ ที่ดินแก่ โจทก์ โดยตรง แต่ เป็น การ จะ ให้ ที่ เกิดจาก ข้อตกลง ตาม สัญญาแบ่ง ทรัพย์สิน ใน การ หย่าขาด จาก การ เป็น สามี ภริยา กัน ระหว่างพันเอก ประเสริฐ กับ โจทก์ ดังนี้ ข้อตกลง จะ ให้ ที่ดิน กัน ดังกล่าว ย่อม สมบูรณ์ มีผล ผูกพัน กัน ได้ โดย ไม่ต้อง จดทะเบียน ต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
สำหรับ ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ฟ้องโจทก์ คดี นี้ เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 876/2530 ของ ศาลจังหวัด ลพบุรี เพราะ เรื่อง ที่โจทก์ ฟ้อง ใน คดี นี้ กับ เรื่อง ใน คดี ดังกล่าว เป็น เรื่อง ที่ เกิดจากข้อตกลง ตาม หนังสือ สัญญา หย่า ที่ พันเอก ประเสริฐ ทำ ไว้ กับ โจทก์ หาใช่ เป็น คน ละ เรื่อง กัน ดัง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ไม่ ฟ้องโจทก์ คดี นี้จึง เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดี ดังกล่าว เห็นว่า โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เป็น เรื่องที่ โจทก์ ขอให้ จำเลย ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ พันเอก ประเสริฐ รับผิด ชำระหนี้ ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้ ที่ พันเอก ประเสริฐ ทำ ไว้ กับ โจทก์ ส่วน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 876/2530 ของ ศาลจังหวัด ลพบุรีเป็น เรื่อง ที่ โจทก์ ฟ้อง พันเอก ประเสริฐ เป็น จำเลย ให้ ปฏิบัติ ตาม หนังสือ สัญญา หย่า ที่ พันเอก ประเสริฐ ทำ ไว้ กับ โจทก์ แล้ว พันเอก ประเสริฐ ประพฤติ ผิดสัญญา ดังนี้ จำเลย ใน คดี นี้ กับ จำเลย ใน คดี ดังกล่าว จึง เป็น คน ละ คน กัน ข้อพิพาท ก็ เป็น เรื่อง คน ละ ประเด็น กันฟ้องโจทก์ คดี นี้ จึง ไม่เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่876/2530 ของ ศาลจังหวัด ลพบุรี ดัง ที่ จำเลย ฎีกา ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ ขึ้น
ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ข้อ สุดท้าย ว่า จำเลย ได้รับ อนุญาต ให้ ต่อสู้ คดีอย่าง คนอนาถา ใน ชั้นอุทธรณ์ ทั้ง โจทก์ ก็ ไม่ได้ แก้ อุทธรณ์ การ ที่ศาลอุทธรณ์ ให้ จำเลย ใช้ ค่า ทนายความ ชั้นอุทธรณ์ แทน โจทก์ จึง เป็น การไม่ชอบ นั้น เห็นว่า แม้ จำเลย จะ ได้รับ อนุญาต ให้ ต่อสู้ คดี อย่าง คนอนาถาใน ชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ก็ สั่ง ให้ จำเลย ซึ่ง เป็น ฝ่าย แพ้ คดี ใช้ค่า ทนายความ แทน โจทก์ ได้ ประกอบ กับ โจทก์ ได้ แก้ อุทธรณ์ไม่ใช่ ไม่ได้ แก้ อุทธรณ์ ดัง ที่ จำเลย ฎีกา ดังนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ สั่ง ให้จำเลย ใช้ ค่า ทนายความ ชั้นอุทธรณ์ แทน โจทก์ จึง ชอบแล้ว ฎีกา จำเลยข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน