คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทรายการที่1ถึงที่4จึงมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยได้ ทรัพย์พิพาทรายการที่5ไม่ใช่ทรัพย์ของโจทก์แต่เป็นทรัพย์ของผู้อื่นที่โจทก์ขอยืมมาแล้วให้ ท.ยืมไปอีกต่อหนึ่งดังนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงสิทธิครอบครองในทรัพย์พิพาทรายการนี้เมื่อทรัพย์พิพาทรายการนี้ไปตกอยู่กับจำเลยโดยจำเลยไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในทรัพย์รายการนี้ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ส่งมอบ ทรัพย์ 5 รายการ แก่ โจทก์ถ้า ไม่ได้ ให้ ใช้ ราคา เป็น เงิน 2,910,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ยร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า ทรัพย์พิพาท ตาม ฟ้อง เป็นของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาณุภาศ แต่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาณุมาศ ได้ ละทิ้ง มา ตั้งแต่ ปี 2522 ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ ได้รับ ทรัพย์พิพาทมาจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาณุมาศ โจทก์ จึง ไม่ใช่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย คืน ทรัพย์ ตาม ฟ้อง รายการ ที่ 1ถึง ที่ 4 แก่ โจทก์ หาก คืน ไม่ได้ ให้ ใช้ ราคา เป็น เงิน 1,105,000 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าจะ คืน หรือ ใช้ ราคา เสร็จ
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ และ จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ได้ใน เบื้องต้น ว่า ทรัพย์ 5 รายการ ตาม ฟ้อง อยู่ ใน ความ ครอบครอง ของจำเลย โดย ทรัพย์ รายการ ที่ 5 คือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็น ทรัพย์ของ บุคคลอื่น ที่ โจทก์ ขอ ยืม มา คดี มี ข้อ วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ว่าโจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ทรัพย์พิพาท รายการ ที่ 1 ถึง ที่ 4หรือไม่ พยานโจทก์ คือ นาย เชิดชาย ภานุมาศมณฑล ซึ่ง เป็น กรรมการ ผู้จัดการ ของ โจทก์ เบิกความ ว่า ทรัพย์พิพาท รายการ ที่ 1 ถึง ที่ 4โจทก์ ซื้อ มาจาก บริษัท เมอร์คอน จำกัด ใน ขณะที่ โจทก์ ยัง มี ฐานะ เป็น หุ้นส่วน จำกัด ตาม สัญญาซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 3 ครั้น เมื่อโจทก์ จดทะเบียน เลิก ห้างหุ้นส่วน และ มา จดทะเบียน เปลี่ยน ฐานะ มา เป็นบริษัท จำกัด แล้ว จึง ได้ จดทะเบียน โอน ทรัพย์พิพาท รายการ ที่ 1 ถึงที่ 4 มา เป็น ของ บริษัท โจทก์ ตาม สำเนา เอกสาร แนบท้าย หนังสือ รับรองเอกสาร หมาย จ. 2 ข้อ 3(1) โดย โจทก์ มี นาย สมพล สุคนธ์พงเผ่า มา เบิกความ สนับสนุน ความ ข้อ นี้ ได้ความ ต้อง กัน และ ยัง ได้ความ จากคำเบิกความ ของ นาย เชิดชาย ต่อไป อีก ว่า ต่อมา ประมาณ ปี 2528นาย ทองเจือ บุญยัง ซึ่ง เคย เป็น ลูกจ้าง ของ โจทก์ ได้ มา ขอ ยืม ทรัพย์ พิพาท ทั้ง ห้า รายการ ตาม ฟ้อง ไป ใช้ ใน การ สร้าง ถนน ภายใน สนามบิน และถนน ของ เทศบาล ที่ จังหวัด พิษณุโลก แล้ว ไม่ส่ง คืน โจทก์ ได้ ไป แจ้งความกล่าวหา ว่า นาย ทองเจือ กระทำ ความผิด ฐาน ยักยอก ทรัพย์พิพาท ทั้ง ห้า รายการ ดังกล่าว และ สืบทราบ ใน ภายหลัง ว่า ทรัพย์พิพาท อยู่ ใน ความครอบครอง ของ จำเลย ที่ อำเภอ จอมทอง จังหวัด เชียงใหม่ โดย โจทก์ มี นาวาโท สำเร็จ สังขศิลา ผู้ ไป แจ้งความ และ ร้อยตำรวจโท เจตนา คุ้มวงศ์ ผู้ ไป ตาม ยึดทรัพย์ พิพาท มา เบิกความ สนับสนุน ความ ข้อ นี้ ได้ความ สอดคล้อง ต้อง กัน ส่วน ฝ่าย จำเลย ได้ความ จาก คำเบิกความ ของจำเลย ว่า ทรัพย์พิพาท เป็น ของ นาย ทองเจือ ที่ ได้ กรรมสิทธิ์ มา โดย การ ครอบครอง แล้ว นำ มา ขาย ให้ แก่ นาย ถนอม เนียมศิริ แล้ว นาย ถนอม นำ มา ขาย ให้ แก่ จำเลย อีก ต่อ หนึ่ง จำเลย คง มี แต่ นาย ถนอมและนายสุธี อุบลเจริญ เท่านั้น มา เบิกความ สนับสนุน แต่ ก็ ได้ความ จาก คำเบิกความ ของ พยาน จำเลย ทั้ง สอง ปาก นี้ เพียง ว่า นาย ถนอม ซื้อ ทรัพย์พิพาท มาจาก นาย ทองเจือ เท่านั้น ส่วน นาย ทองเจือ จะ ได้ ทรัพย์พิพาท มา ใน ลักษณะ อย่างไร ไม่ได้ ความ ชัดเจน เพราะ จำเลย ไม่สามารถ นำนาย ทองเจือ มา เป็น พยาน เบิกความ ดังนี้ พยานหลักฐาน โจทก์ มี น้ำหนัก น่าเชื่อ ถือ ดีกว่า พยานหลักฐาน จำเลย กรณี ฟัง ไม่ได้ ว่า นาย ทองเจือ ได้ กรรมสิทธิ์ ทรัพย์พิพาท โดย การ ครอบครอง ดัง ที่ จำเลย นำสืบ แต่ฟังได้ ว่า นาย ทองเจือ ขอ ยืม ทรัพย์พิพาท ทั้ง 5 รายการ ไป แล้ว ไม่ส่ง คืน โจทก์ ดัง ที่ โจทก์ นำสืบ เมื่อ นาย ทองเจือ ไม่ใช่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ จึง ไม่มี สิทธิ เอา ทรัพย์พิพาท ทั้ง 5 รายการ ไป ขาย ให้ แก่นาย ถนอม จำเลย ซื้อ ทรัพย์พิพาท ดังกล่าว มาจาก นาย ถนอม อีก ต่อ หนึ่ง ย่อม ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์พิพาท เช่นกัน เพราะ ผู้รับโอน ย่อม ไม่มี สิทธิ ดีกว่า ผู้โอน เมื่อ กรณี ฟังได้ ดังนี้ ปัญหา ที่ ว่า จำเลยซื้อ ทรัพย์พิพาท ทั้ง 5 รายการ ไว้ โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทน หรือไม่จึง ไม่จำเป็น ต้อง วินิจฉัย เพราะ ถึง จะ วินิจฉัย ก็ ไม่ทำ ให้ ผล แห่ง คดีที่ ฟัง ไม่ได้ ว่า จำเลย เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ทรัพย์พิพาท ทั้ง 5 รายการเปลี่ยนแปลง ไป คดี ฟังได้ ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ทรัพย์พิพาท รายการ ที่ 1 ถึง ที่ 4 โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ทรัพย์ดังกล่าว นี้ จึง มีสิทธิ ติดตาม เอาคืน จาก จำเลย ได้ ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น
คดี มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ว่า โจทก์ มีสิทธิ ติดตาม เอาคืนทรัพย์พิพาท รายการ ที่ 5 จาก จำเลย ได้ หรือไม่ เห็นว่า เมื่อ ข้อเท็จจริงฟัง ยุติ ว่า ทรัพย์พิพาท รายการ ที่ 5 ไม่ใช่ ทรัพย์ ของ โจทก์ แต่ เป็นทรัพย์ ของ ผู้อื่น ที่ โจทก์ ขอ ยืม มา แล้ว ให้ นาย ทองเจือ ยืม ไป อีก ต่อ หนึ่ง ดังนี้ ถือได้ว่า โจทก์ เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ใน ทรัพย์พิพาท รายการ นี้ เมื่อ ทรัพย์พิพาท รายการ นี้ ไป ตก อยู่ กับ จำเลย โดยจำเลย ไม่มี สิทธิ เป็น เจ้าของ ดัง ได้ วินิจฉัย แล้ว ข้างต้น โจทก์ ในฐานะ เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ใน ทรัพย์ รายการ นี้ ย่อม มีสิทธิ ติดตามเอาคืน จาก จำเลย ผู้ ไม่มี สิทธิ ยึดถือ ไว้ ได้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัยว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ ฟ้อง เรียกคืน จาก จำเลย ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของศาลฎีกา ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย คืน ทรัพย์ ตาม ฟ้อง รายการ ที่ 5คือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ยี่ห้อ สโกด้า แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2

Share