คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายกระทิง2ตัวยืนซ้อนเหลื่อมกันอยู่โดยต่างหันหน้าไปทางเดียวกันทางซ้ายมือและมีอักษรไทยคำว่ากระทิงคู่อยู่ใต้รูปดังกล่าวโดยรูปกระทิงและอักษรไทยทั้งหมดอยู่ภายในกรอบรูปคล้ายโล่ซึ่งมีพื้นทึบส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แบ่งออกได้3แบบคือแบบที่1เป็นรูปกระทิงตัวเดียวหันหน้าไปทางขวามืออยู่ในลักษณะก้มหัวงอขาหน้าทำท่าขวิดแบบที่2เป็นกระทิง2ตัวหันหน้าเข้าหากันโดยต่างอยู่ในลักษณะก้มหัวงดขาหน้าทำท่าขวิดต่อสู้กันและแบบที่3เป็นรูปกระทิงสีแดง2ตัวหันหน้าเข้าหากันโดยต่างอยู่ในลักษณะก้มหัวงอขาหน้าทำท่าขวิดต่อสู้กันเช่นเดียวกับแบบที่2แต่มีวงกลมสีแดงล้อมรอบกลางลำตัวของกระทิงทั้งสองและมีอักษรไทยสีแดงดำว่ากระทิงแดงอยู่ใต้รูปกระทิงทั้งสองด้วยลักษณะของรูปกระทิงของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์จึงแตกต่างกันอย่างชัดแจ้งดังนั้นแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์ต่างมีรูปกระทิงเป็นสาระสำคัญก็ตามเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า รูปกระทิง คู่ กำลัง ต่อสู้ กัน และ รูป กระทิง ตัว เดียว สำหรับ สินค้า ใน จำพวก 3,42, 43, 44, 45 และ 48 โดย จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ไว้ แล้วจำเลย เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า ตรา วัว กระทิง มี อักษร ไทยคำ ว่า กระทิง คู่ อยู่ ใน รูป คล้าย โล่ ไม่จำกัด สี จำเลย ได้ ยื่น คำขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว สำหรับ สินค้า ใน จำพวก 17รายการ สินค้า ปูนซีเมนต์ โจทก์ เห็นว่า เครื่องหมายการค้า ของ จำเลยดังกล่าว เหมือน หรือ เกือบ เหมือน หรือ คล้าย หรือ ใกล้เคียง กับเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ดังกล่าว ประชาชน รู้ จัก เครื่องหมายการค้าของ โจทก์ ดี ว่า สินค้า ต่าง ๆ ของ โจทก์ มี เครื่องหมายการค้าเป็น รูป วัว กระทิง โจทก์ จึง ยื่น คำคัดค้าน การ ขอ จดทะเบียนเครื่องหมาย ของ จำเลย ดังกล่าว ต่อมา นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า วินิจฉัย ยก คำคัดค้าน ของ โจทก์ โดย เห็นว่าเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ และ ของ จำเลย มี ลักษณะ แตกต่าง กันหลาย ประการ โจทก์ อุทธรณ์ คำวินิจฉัย ของ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า ต่อ คณะกรรมการ เครื่องหมายการค้า คณะกรรมการ ดังกล่าวมี มติ ยืน ตาม คำวินิจฉัย ของ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้านายทะเบียน เครื่องหมายการค้า จึง รับ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าของ จำเลย ดังกล่าว โจทก์ ยัง เห็นว่า เครื่องหมายการค้า ของจำเลย เหมือน หรือ เกือบ เหมือน หรือ คล้าย หรือ ใกล้เคียง กับเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ดังกล่าว ข้างต้น โดย จำเลย จงใจ เลียนแบบหรือ นำ มาจาก แบบ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ อันเป็น การลวง สาธารณชน หรือ ทำให้ สาธารณชน สับสน หรือ หลงผิด ใน ความเป็น เจ้าของ ของ สินค้า หรือ แหล่ง กำหนด ของ สินค้า เพื่อ ให้ ผู้ซื้อหรือ ผู้บริโภค สินค้า เข้าใจผิด ว่า สินค้า ของ จำเลย เป็น สินค้าที่ ผลิต ขึ้น โดย โจทก์ หรือ บริษัท ใน กลุ่ม หรือ ใน เครือ ของ โจทก์ เพราะจำเลย ทราบ ดี ว่า สินค้า ของ โจทก์ ที่ มี เครื่องหมายการค้า ต่าง ๆ ของ โจทก์ดังกล่าว เป็น ที่ นิยม แพร่หลาย ใน ท้องตลาด เป็น การ แสวงหา ประโยชน์โดย อาศัย แอบ อิง เอา เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ และ ชื่อเสียงใน การค้า ของ โจทก์ หรือ กลุ่ม หรือ เครือ ของ โจทก์ มา ใช้ กับ สินค้าของ จำเลย โดย เจตนา ไม่สุจริต เป็น การ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริตทำให้ โจทก์ เสียหาย ขอให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ที่ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของจำเลย และ เพิกถอน คำสั่ง ของ คณะกรรมการ เครื่องหมายการค้า ที่ ให้ รับจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ให้ จำเลย เพิกถอน การจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ต่อ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนาของ จำเลย ให้ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า เพิกถอน เครื่องหมายการค้าของ จำเลย ให้ จำเลย เลิก ผลิต สินค้า โดย ใช้ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ของจำเลย และ เก็บ สินค้า จาก ร้านค้า ที่ จำหน่าย สินค้า ของ จำเลย ทั้งหมดกับ ห้าม มิให้ จำเลย ใช้ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย กำกับ สินค้า ของจำเลย อีก ต่อไป
จำเลย ให้การ ว่า เครื่องหมายการค้า รูป กระทิง คู่ กำลัง ต่อสู้ กันไม่จำกัด สี สำหรับ สินค้า ใน จำพวก 3 ตาม คำขอ เลขที่ 80516ทะเบียน เลขที่ 50648 ได้ ถูก นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า เพิกถอนแล้ว เมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม 2536 ส่วน เครื่องหมายการค้า รูป กระทิง คู่กำลัง ต่อสู้ กัน ไม่จำกัด สี สำหรับ สินค้า ใน จำพวก 43 เป็น ของบริษัท ที.ซี. ไวเนอรี่ จำกัด โจทก์ ไม่อาจ นำ เครื่องหมายการค้า ทั้ง สอง ดังกล่าว มา ฟ้อง จำเลย ได้ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลยซึ่ง มี รูป วัว กระทิง 2 ตัว อยู่ ใน ลักษณะ ยืน คู่ กัน และ มี อักษร ไทย คำ ว่า “กระทิงคู่” มี รูป ลักษณะ แตกต่าง จาก เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ มาก โดย รูป กระทิง 2 ตัว ของ จำเลย มี ลักษณะ ยืน คู่ ซ้อน บัง กัน อยู่ แต่ รูปกระทิง 2 ตัว ของ โจทก์ มี ลักษณะ กำลัง วิ่ง เข้า ต่อสู้ กัน ทั้ง กระทิงของ จำเลย และ ของ โจทก์ มี รูปร่าง ลักษณะ ไม่ เหมือนกัน โดย สิ้นเชิงเมื่อ สาธารณชน พบ เห็น สามารถ แยก ความ แตกต่าง ได้ โดย ง่ายและ รู้ ได้ ทันที ว่า เป็น รูป เครื่องหมายการค้า ที่ ไม่ เหมือนกัน ไม่ทำ ให้เกิด ความ สับสน หรือ หลงผิด ใน เครื่องหมายการค้า แต่อย่างใดนอกจาก นี้ อักษร ไทย คำ ว่า กระทิง คู่ ของ จำเลย ยัง แตกต่าง อย่าง ชัดเจนจาก อักษร ไทย คำ ว่า กระทิง แดง ของ โจทก์ อีก ด้วย จำเลย มี ความ ประสงค์ให้ เรียกขาน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ว่า กระทิง คู่ เท่านั้นส่วน โจทก์ มี เจตนา ให้ เรียกขาน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ว่ากระทิง แดง เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ใช้ กับ สินค้า คน ละ จำพวก และต่าง ชนิด กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ไม่ ก่อ ให้ เกิด ความ สับสนหรือ หลงผิด ใน ตัว สินค้า หรือ แหล่ง กำหนด แต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าของ จำเลย ไม่ เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์สาธารณชน ย่อม แยกแยะ ความ แตกต่าง ได้ อย่าง ชัดเจน ไม่ ก่อ ให้ เกิดความ สับสน หรือ หลงผิด ใน ตัว สินค้า หรือ แหล่ง กำหนด นอกจาก นี้ แล้วจำเลย ยื่น ขอ จดทะเบียน เครื่องหมาย ของ จำเลย เมื่อ วันที่ 6 สิงหาคม2534 โจทก์ คัดค้าน การ ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลยเมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม 2534 ก่อน วันที่ พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ใช้ บังคับ จึง เป็น เรื่อง ที่ ต้อง อยู่ ภายในบังคับ ของ พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ต่อไปจนกว่า จะ ถึงที่สุด ตาม พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534มาตรา 119(2) และ 121 ดังนั้น เมื่อ โจทก์ อุทธรณ์ คำวินิจฉัย ของนายทะเบียน เครื่องหมายการค้า ต่อ คณะกรรมการ เครื่องหมายการค้าและ คณะกรรมการ เครื่องหมายการค้า วินิจฉัย ยืน ตาม คำวินิจฉัย ของนายทะเบียน เครื่องหมายการค้า จึง เป็น ที่สุด ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 19 เบญจ วรรคสาม โจทก์ จึงไม่มี อำนาจ นำ คดี มา ฟ้อง ต่อ ศาล ได้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติ ว่า โจทก์ เป็นเจ้าของ และ ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า รูป กระทิง คู่ กำลังต่อสู้ กัน และ รูป กระทิง ตัว เดียว สำหรับ สินค้า ใน จำพวก ต่าง ๆ ต่อมานายทะเบียน เครื่องหมายการค้า เพิกถอน การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้ารูป กระทิง คู่ กำลัง ต่อสู้ กัน ตาม คำขอ เลขที่ 80516 ทะเบียน เลขที่ 50648เมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม 2536 เนื่องจาก โจทก์ ไม่ยื่น ขอ ต่อ อายุเครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ภายใน กำหนด เวลา จำเลย ยื่น คำขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า รูป กระทิง คู่ มี อักษร ไทย คำ ว่า กระทิง คู่อยู่ ใน รูป คล้าย โล่ สำหรับ สินค้า ใน จำพวก 17 รายการ ปูนซีเมนต์โจทก์ ยื่น คำคัดค้าน นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า วินิจฉัย ยก คำคัดค้านของ โจทก์ โจทก์ อุทธรณ์ คำวินิจฉัย ของ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้าต่อ คณะกรรมการ เครื่องหมายการค้า คณะกรรมการ เครื่องหมายการค้ามี มติ ยืน ตาม คำวินิจฉัย ของ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า และ ให้จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ให้ แก่ จำเลย หลังจาก นั้นนายทะเบียน เครื่องหมายการค้า ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าให้ แก่ จำเลย คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์จน ถึง นับ ได้ว่า เป็น การ ลวง สาธารณชน หรือไม่ ใน ปัญหา นี้ ศาลฎีกาได้ พิเคราะห์ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลยเปรียบเทียบ กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ แล้ว ปรากฏว่า เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เป็น รูป ประดิษฐ์ คล้าย กระทิง 2 ตัว ยืน ซ้อน เหลื่อม กันอยู่ โดย ต่าง หัน หน้า ไป ทาง เดียว กัน ทาง ซ้าย มือ และ มี อักษร ไทย คำ ว่ากระทิง คู่ อยู่ ใต้ รูป ดังกล่าว โดย รูป กระทิง และ อักษร ไทย ทั้งหมด อยู่ภายใน กรอบรูป คล้าย โล่ ซึ่ง มี พื้น ทึบ ส่วน เครื่องหมายการค้าของ โจทก์ นั้น แบ่ง ออก ได้ เป็น 3 แบบ คือ แบบ ที่ 1 เป็น รูป กระทิงตัว เดียว หัน หน้า ไป ทาง ขวา มือ อยู่ ใน ลักษณะ ก้ม หัว งอ ขา หน้าทำ ท่า ขวิด แบบ ที่ 2 เป็น กระทิง 2 ตัว หัน หน้า เข้า หา กัน โดย ต่าง อยู่ใน ลักษณะ ก้ม หัว งอ ขา หน้า ทำ ท่า ขวิด ต่อสู้ กัน และ แบบ ที่ 3 เป็น รูปกระทิง สีแดง 2 ตัว หัน หน้า เข้า หา กัน โดย ต่าง อยู่ ใน ลักษณะ ก้ม หัวงอ ขา หน้า ทำ ท่า ขวิด ต่อสู้ กัน เช่นเดียว กับ แบบ ที่ 2 แต่ มี วงกลม สีแดงล้อมรอบ กลาง ลำตัว ของ กระทิง ทั้ง สอง และ มี อักษร ไทย สีแดง คำ ว่ากระทิง แดง อยู่ ใต้ รูป กระทิง ทั้ง สอง ด้วย ซึ่ง เห็น ได้ว่า ลักษณะ ของรูป กระทิง ของ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย และ ของ โจทก์ ดังกล่าวแตกต่าง กัน อย่าง ชัดแจ้ง ดังนั้น แม้ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย และเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ต่าง มี รูป กระทิง เป็น สาระสำคัญ ก็ ตามแต่เมื่อ รูป กระทิง ของ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย และ ของ โจทก์แตกต่าง กัน อย่าง ชัดแจ้ง เช่นนี้ แล้ว เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย จึงไม่ เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ จน ถึง นับ ได้ว่าเป็น การ ลวง สาธารณชน แต่อย่างใด และ เมื่อ ได้ วินิจฉัย เช่นนี้ แล้วก็ ไม่จำต้อง วินิจฉัย ประเด็น อื่น ตาม คำ แก้ ฎีกา ของ จำเลย อีก ต่อไป
พิพากษายืน

Share