คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทแม้ผู้ที่แก้ไขรายการเช็คพิพาทช่องจำนวนเงินให้ตรงกับยอดจำนวนเงินที่ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรไม่ใช่จำเลยก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดเพราะแม้ไม่มีการแก้ไขดังกล่าวจำเลยก็ต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา12อยู่แล้วการแก้ไขนั้นจึงไม่ใช่การแก้ไขที่เป็นสาระสำคัญที่ทำให้เช็คพิพาทเสียไปตามมาตรา1007วรรคหนึ่ง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย เช็ค ธนาคาร สหธนาคาร จำกัด สาขา เทเวศร์ 1 ฉบับ ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2533 จำนวนเงิน 220,000 บาท ต่อมา นาย ดิสพงษ์ วรปาณิ นำ เช็ค ดังกล่าว มา ขาย ลด ให้ โจทก์ เมื่อ เช็ค ถึง กำหนด โจทก์ ได้ นำ ไป เข้าบัญชี โจทก์ ที่ ธนาคาร นครหลวงไทย จำกัด สาขา วงเวียนใหญ่ เพื่อ เรียกเก็บเงิน ปรากฏว่า ธนาคาร ตามเช็ค ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน แก่ โจทก์จำนวน 236,319.18 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีใน ต้นเงิน 220,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า มี การ แก้ไข ใน ช่อง ตัวเลข จำนวนเงิน และ ปลอมลายมือชื่อ ของ จำเลย ลง กำกับ ไว้ เช็ค ดังกล่าว เป็น เอกสารปลอมจำเลย ไม่จำต้อง รับผิด ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 236,319.18 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 220,000 บาท นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ตาม ฎีกา จำเลย ข้อ ต่อไป ที่ ว่าลายมือชื่อ ที่ ลง กำกับ การ แก้ไข จำนวนเงิน ใน เช็คพิพาท เป็น ลายมือชื่อปลอม หรือไม่ นั้น เห็นว่า การ แก้ไข รายการ เช็คพิพาท ช่อง จำนวนเงินให้ ตรง กับ ยอด จำนวนเงิน ที่ ระบุ ไว้ เป็น ลายลักษณ์อักษร นั้น แม้ จะ ฟังว่า ผู้ แก้ไข จะ ไม่ใช่ จำเลย ลายมือชื่อ ที่ ลง กำกับ การ แก้ไข ไม่ใช่ลายมือชื่อ จำเลย ดัง จำเลย ฎีกา เรียกร้อง จะ ขอ พิสูจน์ ข้อเท็จจริง ก็ ตามก็ ไม่ทำ ให้ จำเลย พ้น ความรับผิด ตามเช็ค พิพาท ได้ เพราะ จำเลย เป็นผู้ลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย เช็คพิพาท จำเลย ต้อง รับผิด ตาม เนื้อความ ในเช็คพิพาท นั้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 ส่วน ข้อความที่ แก้ไข แม้ ไม่มี การ แก้ไข จำเลย ก็ ต้อง รับผิด ตาม จำนวนเงิน ที่ ลง ไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร เพราะ ไม่สามารถ ทราบ เจตนา ที่ แท้จริง ว่า จำเลยต้องการ สั่งจ่าย เช็คพิพาท จำนวน เท่าใด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 12 อยู่ แล้ว การ แก้ไข จำนวนเงิน ใน เช็คพิพาท ให้ ตรง กับ จำนวนเงินที่ ระบุ ไว้ เป็น ลายลักษณ์อักษร จึง ไม่ใช่ การ แก้ไข ที่ เป็น สาระสำคัญที่ ทำให้ เช็คพิพาท เสีย ไป ตาม ความหมาย ของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง เช็คพิพาท มีผล สมบูรณ์ บังคับ ได้ ตาม กฎหมายจำเลย เป็น ผู้ลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย เช็คพิพาท จำเลย ต้อง รับผิดตาม เนื้อความ ใน เช็ค คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน

Share