แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ผู้ประกันตนถูกรถยนต์ชนได้รับบาดเจ็บอันมิใช่เนื่องจากการทำงานย่อมมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533มาตรา54และมี สิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายจากบุคคลอื่นฐานทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420โจทก์เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลของจำเลยที่2โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่โจทก์กับมารดาได้ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ไม่ใช้สิทธิประกันสังคมกับโรงพยาบาลโดยสมัครใจจะใช้สิทธิให้ผู้ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นผู้ออกค่ารักษาพยาบาลซึ่งจะได้รับการรักษาที่มีมาตรฐานสูงกว่าไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนมีผลผูกพันโจทก์
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ผู้ประกัน ตน ที่ จ่ายเงิน สมทบครบ เงื่อนเวลา แล้ว เมื่อ วันที่ 28 มีนาคม 2536 โจทก์ ประสบ อุบัติเหตุถูก รถยนต์ ชน ได้รับ บาดเจ็บ และ ได้ เข้า รับ การ รักษา ที่ โรงพยาบาล กรุงเทพ ของ จำเลย ที่ 2 ต่อมา โจทก์ ได้ จ่าย ค่ารักษาพยาบาล จำนวน 109,402 บาท แก่ จำเลย ที่ 2 แล้ว โจทก์ ยื่น คำขอ รับ ประโยชน์ ทดแทนต่อ สำนักงาน ประกัน สังคม จังหวัด สมุทรปราการ แต่ สำนักงาน ดังกล่าวปฏิเสธ การ จ่ายเงิน โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง ดังกล่าว ต่อ คณะกรรมการ อุทธรณ์คณะกรรมการ ดังกล่าว มี คำวินิจฉัย ยกอุทธรณ์ โจทก์ ขอให้ เพิกถอนคำสั่ง สำนักงาน ประกัน สังคม จังหวัด สมุทรปราการ และ คำวินิจฉัย ของคณะกรรมการ อุทธรณ์ ที่ 566/2537 และ ให้ จำเลย ที่ 2 จ่าย ค่ารักษาพยาบาลที่ โจทก์ จ่าย ไป จำนวน 109,402 บาท หรือ ให้ จำเลย ที่ 1 สั่ง ให้จำเลย ที่ 2 คืนเงิน จำนวน ดังกล่าว ให้ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า ผู้ทำละเมิด ต่อ โจทก์ได้ จ่าย ค่ารักษาพยาบาล แทน โจทก์ แล้ว กับ โจทก์ ได้ ทำ หนังสือ ไม่ ใช้สิทธิ ประกัน สังคม ซึ่ง เป็น สิทธิ ของ โจทก์ ที่ จะ เลือก ได้ คำสั่ง ของสำนักงาน ประกัน สังคม จังหวัด สมุทรปราการ และ คำวินิจฉัย ของคณะกรรมการ อุทธรณ์ ชอบ ด้วย กฎหมาย
ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า คำสั่ง ของ สำนักงานประกัน สังคม จังหวัด สมุทรปราการ และ คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ อุทธรณ์ชอบแล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่าโจทก์ ผู้ประกัน ตน ประสบ อันตราย ถูก รถยนต์ ชน ได้รับ บาดเจ็บ อัน มิใช่เนื่องจาก การ ทำงาน แต่ เกิดขึ้น เพราะ ความประมาท เลินเล่อ ของ บุคคลอื่นโจทก์ ย่อม มีสิทธิ ได้รับ ประโยชน์ ทดแทน จาก กองทุน ตาม พระราชบัญญัติประกัน สังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 54 และ ยัง มีสิทธิ เรียกร้อง ค่าเสียหายจาก บุคคลอื่น ฐาน ทำละเมิด ต่อ โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 อีก ด้วย กรณี คดี นี้ เป็น การ ฉุกเฉิน โจทก์ ได้รับ บริการทางการ แพทย์ ที่ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ ซึ่ง มิใช่ สถานพยาบาล ที่ ผู้ประกัน ตน มีสิทธิ ได้รับ บริการ ทางการ แพทย์ โจทก์ ย่อม มีสิทธิที่ จะ ได้ ชดใช้ ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับ การ บริการ ทางการ แพทย์ และ การ รักษาพยาบาล ที่ โจทก์ ทดรองจ่าย ไป ก่อน ต่อมา มี การ ส่งตัว โจทก์ ไป รับ การ รักษาที่ โรงพยาบาล กรุงเทพ ของ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง สำนักงาน ประกัน สังคม ทำ ความ ตกลง ไว้ โจทก์ ไม่ต้อง เสีย ค่าใช้จ่าย ใด ๆ โรงพยาบาล กรุงเทพ จะ เรียกเก็บเงิน จาก สำนักงาน ประกัน สังคม โดยตรง แต่ โจทก์ กับนาง หนูเพียร วิเศษวงค์ษา มารดา โจทก์ ได้ ทำ หนังสือ แจ้งความ ประสงค์ ไม่ ใช้ สิทธิ ประกัน สังคม กับ โรงพยาบาล กรุงเทพ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1มี ปัญหา ว่า การ ที่ โจทก์ ทำ หนังสือ ไม่ ใช้ สิทธิ ประกัน สังคม ยกเว้น การ ใช้สิทธิ ตาม กฎหมาย ดังกล่าว ขัด ต่อ ความสงบ เรียบร้อย และ ศีลธรรม อัน ดีของ ประชาชน หรือไม่ เห็นว่า ถ้า โจทก์ ใช้ สิทธิ ตาม บัตร ประกัน สังคมตาม มาตรฐาน ของ สำนักงาน ประกัน สังคม ที่ จำเลย ที่ 1 ตกลง ไว้ กับ โรงพยาบาลกล่าว คือ โรงพยาบาล จะ ดูแล รักษา เหมือนกับ คน ไข้ ธรรมดา ทั่วไปก็ จะ ไม่ต้อง เสีย ค่าใช้จ่าย ใน การ รักษา พยาบาล แต่ ถ้า ไม่ ใช้ สิทธิประกัน สังคม เพราะ มี บุคคลอื่น เสีย ค่าใช้จ่าย ใน การ รักษา พยาบาลสูง กว่า สิทธิ ที่ จะ ได้รับ ตาม กฎหมาย ประกัน สังคม การ รักษา พยาบาลก็ มี มาตรฐาน ดีกว่า ของ ประกัน สังคม เมื่อ โจทก์ และ มารดา โจทก์ สมัครใจที่ จะ ใช้ สิทธิ ให้ ผู้ทำละเมิด ต่อ โจทก์ เป็น ผู้ ออก ค่ารักษาพยาบาลซึ่ง จะ ได้รับ การ รักษา พยาบาล ที่ มี มาตรฐาน สูง กว่า สิทธิ ที่ จะ ได้รับการ ใช้ สิทธิ ของ โจทก์ ผู้ประกัน ตน โดย เลือก ให้ ผู้ทำละเมิด เป็น ผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาล ข้อตกลง ดังกล่าว ก่อ ผล ผูกพัน กัน ได้ ตาม ความสมัครใจจะ ได้เปรียบ เสียเปรียบ อย่างไร ก็ เป็น การ รับรอง เจตนา ของ โจทก์ ดังนี้เมื่อ โจทก์ สมัครใจ สละ สิทธิ การ ใช้ สิทธิ ของ ตน ที่ มี อยู่ ตาม กฎหมายย่อม กระทำ ได้ หา ขัด ต่อ ความสงบ เรียบร้อย และ ศีลธรรม อัน ดี ของ ประชาชนแต่ ประการใด ไม่ ข้อตกลง ดังกล่าว จึง มีผล ผูกพัน โจทก์ เมื่อ โจทก์ได้รับ เงิน จำนวน 140,000 บาท จาก ผู้ทำละเมิด ต่อ โจทก์ แล้ว นำ ไป ชำระค่ารักษาพยาบาล ให้ จำเลย ที่ 2 เสีย บางส่วน โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิได้รับ เงิน ประโยชน์ ทดแทน ค่าบริการ ทางการ แพทย์ ซ้ำ อีก ศาลแรงงานกลางพิพากษา ชอบแล้ว อุทธรณ์ ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน