คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจังหวัดที่ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แม้การเพิกถอนคำสั่งมีผลทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินนั้นและที่ดินดังกล่าวมีราคาไม่เกิน200,000บาทต้องถือว่าคำขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเป็นคำขอหลักส่วนที่โจทก์จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินเป็นผลที่ได้ตามมาจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ดินแปลงใดเป็นที่สาธารณะหรือไม่ต้องพิจารณาตามสภาพของที่ดินและการใช้ว่าเข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304หรือไม่หากโดยสภาพของที่ดินเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์แม้ทางราชการมิได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นที่หวงห้ามและมิได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ไว้ก็หาทำให้กลับไม่เป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ไปได้ไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ศาล พิพากษา หรือ มี คำสั่ง เพิกถอน คำสั่ง จังหวัดสกลนคร ที่ 2106/2523 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2523 ให้ ถือว่า หนังสือรับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) ทะเบียน เลขที่ 4480 เลขที่ ดิน 102ตำบล สว่าง (ปัจจุบัน ตำบลเชิงชุม) อำเภอ พรรณานิคม จังหวัด สกลนคร ออก โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ให้ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 7 รื้อ รั้ว และ ต้น ไม้ ที่ปลูก ขึ้น ใหม่ ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ ห้าม มิให้ เกี่ยวข้อง กับ ที่ดิน อีกต่อไป หาก ไม่ รื้อ รั้ว และ ต้น ไม้ ออก ไป ให้ โจทก์ มีอำนาจ ทำได้ โดย ให้จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 7 เป็น ผู้ ออก ค่าใช้จ่าย ให้ จำเลย ทั้ง เจ็ด ใช้ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ เป็น รายปี ปี ละ 9,000 บาท นับ ตั้งแต่ ปี 2532เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 7 จะ ได้ รื้อ รั้ว และ ต้น ไม้ ออก ไป จากที่ดิน ของ โจทก์
จำเลย ทั้ง เจ็ด ให้การ ใน ทำนอง เดียว กัน ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ เพิกถอน คำสั่ง จังหวัด สกลนครที่ 2106/2523 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2523 ให้ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 7รื้อ รั้ว และ ต้น ไม้ ที่ ปลูก ขึ้น ใหม่ ออกจาก ที่ดิน โจทก์ ห้าม มิให้เกี่ยวข้อง ใน ที่ดิน โจทก์ อีก ต่อไป คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย ทั้ง เจ็ด ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้เพิกถอน คำสั่ง จังหวัด สกลนคร ที่ 2106/2523 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2523ที่ ให้ เพิกถอน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) ของ โจทก์จึง เป็น คำขอ ให้ ปลดเปลื้อง ทุกข์ อัน ไม่อาจ คำนวณ เป็น ราคา เงินได้ แม้ ว่าถ้า มี การ เพิกถอน คำสั่ง ดังกล่าว แล้ว จะ มีผล ทำให้ โจทก์ ได้ สิทธิครอบครอง ใน ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. )ซึ่ง เป็น คำขอ ให้ ปลดเปลื้อง ทุกข์ อัน อาจ คำนวณ เป็น ราคา เงินได้และ ที่ดิน ดังกล่าว มี ราคา ไม่เกิน 200,000 บาท ก็ ตาม แต่ ต้อง ถือว่าคำขอ ให้ เพิกถอน คำสั่ง จังหวัด สกลนคร เป็น คำขอ หลัก ส่วน ที่ โจทก์จะ ได้ สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดิน เป็น ผล ที่ ได้ ตาม มา จึง ไม่ต้องห้ามที่ โจทก์ จำเลย ทั้ง เจ็ด ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ที่ จำเลย ทั้ง เจ็ด ฎีกา ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ที่ดิน สาธารณประโยชน์นั้น โจทก์ กล่าวอ้าง ใน คำฟ้อง ว่า โจทก์ ได้รับ ที่ดินพิพาท มา โดย การตกทอด ทาง มรดก ใน ชั้นพิจารณา โจทก์ เบิกความ ว่า ได้รับ ที่ดินพิพาทจาก มารดา มี หลักฐาน แบบ แจ้ง การ ครอบครอง ที่ดิน (ส.ค.1 ) เป็น หลักฐานตาม เอกสาร หมาย จ. 1 แต่ โจทก์ ตอบ ทนายจำเลย ทั้ง เจ็ด ถาม ค้าน ว่าที่ดิน ตาม แบบ แจ้ง การ ครอบครอง ที่ดิน (ส.ค.1 ) เอกสาร หมาย จ. 1ตั้ง อยู่ หมู่ ที่ 11 ตำบล สว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัด สกลนคร ดังนั้น ที่ดิน ซึ่ง ออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. )ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 จึง ไม่ใช่ ที่ดิน ซึ่ง แยก มาจาก ที่ดิน ตาม แบบแจ้ง การ ครอบครอง ที่ดิน (ส.ค.1 ) เอกสาร หมาย จ. 1 นอกจาก นี้ยัง ปรากฎ ตาม แบบ บันทึก การ สอบสวน สิทธิ และ พิสูจน์ การ ทำประโยชน์เพื่อ ออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) โดย ใช้ รูปถ่าย ทางอากาศเพื่อ ออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก) ที่ดินพิพาท ให้ แก่โจทก์ เอกสาร หมาย จ. 3 มี ข้อความ ใน ข้อ 3 “หลักฐาน สำหรับ ที่ดิน “มี ช่อง ให้ ขีด เครื่องหมาย ถูก รวม 5 ช่อง ปรากฎ ว่า มี การ ขีด เครื่องหมายถูก ใน ช่อง “ไม่มี หลักฐาน ” และ ตาม บันทึก ถ้อยคำ ที่ โจทก์ ให้ ถ้อยคำต่อ นายอำเภอ พรรณานิคม เมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม 2520 เอกสาร หมาย ล. 2 มี ข้อความ ตอนหนึ่ง ว่า โจทก์ เข้า ครอบครอง ทำประโยชน์ใน ที่ดินพิพาท ตั้งแต่ ประมาณ ปี 2510 ไม่มี หลักฐาน แจ้ง การ ครอบครองที่ดิน (ส.ค.1 ) หรือ หลักฐาน ใด ทั้งสิ้น และ ไม่เคย เสีย ภาษีบำรุงท้องที่ดังนั้น ที่ โจทก์ อ้างว่า ได้รับ ที่ดินพิพาท โดย ตกทอด ทาง มรดก จาก มารดาตาม หลักฐาน แบบ แจ้ง การ ครอบครอง ที่ดิน (ส.ค. 1) เอกสาร หมาย จ. 1จึง เชื่อ ไม่ได้ ฝ่าย จำเลย มี จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 7 นาย แสน จิตอาคะ นาย สอ จิตอาคะ และ นาย สนั่น จิตอาคะ ต่าง เบิกความ ใน ทำนอง เดียว กัน ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน ที่ เป็น ทุ่งทำเลเลี้ยงสัตว์ ของ หมู่บ้าน ซึ่ง ประชาชน ใน หมู่บ้าน ใช้ เป็น ที่ เลี้ยง โค และกระบือ มา ตั้งแต่ ประมาณ ปี 2485 สภาตำบล สว่าง เคย ประชุม พิจารณาเรื่อง ที่ดินพิพาท และ ลงมติ ว่า เป็น ที่ดิน สาธารณะ ตาม บันทึก การประชุม เอกสาร หมาย ล. 9 นาย แสวง จิตอาคะ พยานโจทก์ ซึ่ง เป็น น้า ของ โจทก์ และ เป็น ผู้ใหญ่บ้าน สาย ร่องข่า ใน ขณะที่ โจทก์ ขอ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เอกสาร หมาย จ. 3 และ ได้รับ แต่งตั้ง จาก นายอำเภอ พรรณานิคม ให้ เป็น ผู้นำ การ เดิน สำรวจ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เมื่อ ปี 2517 เบิกความตอบ ทนายจำเลย ทั้ง เจ็ด ถาม ค้าน ว่า ได้ สอบถาม ทาง อำเภอ และ กำนัน แล้วไม่ ปรากฎ ว่า มี หลักฐาน ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ที่สาธารณะ พยาน จึง ลงลายมือชื่อ ใน หนังสือ สำรวจ รังวัด ที่ดินพิพาท แต่ พยาน ปาก นี้ กลับ ให้ถ้อยคำ ต่อ คณะกรรมการ ที่นาย อำเภอ พรรณานิคม ตั้ง ขึ้น เพื่อ ตรวจสอบที่ดินพิพาท ตาม เอกสาร หมาย ล. 10 ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ที่ สงวน ไว้ ใช้ประโยชน์ ร่วมกัน ตัว โจทก์ เอง ก็ ตอบ ทนายจำเลย ทั้ง เจ็ด ถาม ค้าน ว่าใน ปี 2516 คณะกรรมการ หมู่บ้าน ได้ ประชุม กัน และ เรียก โจทก์ไป พบ กล่าวหา ว่า โจทก์ บุกรุก ทุ่งทำเล เลี้ยงสัตว์ และ ให้ โจทก์ ออกจากที่ดิน ปรากฎ ตาม รายงาน การ ประชุม เอกสาร หมาย ล. 1 ศาลฎีกา เห็นว่าโจทก์ กล่าวอ้าง ว่า ที่ดินพิพาท โจทก์ ได้รับ มา โดย ทาง มรดก ส่วน ฝ่ายจำเลย อ้างว่า ที่ดินพิพาท เป็น ที่ดิน สาธารณประโยชน์ แต่ ข้ออ้างของ โจทก์ ไม่อาจ รับฟัง ได้ ดัง ที่ วินิจฉัย ข้างต้น และ พยานหลักฐานของ จำเลย ทั้ง เจ็ด มี น้ำหนัก เชื่อถือ ได้ จึง ฟังได้ ว่า ที่ดินพิพาท เป็นส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน ที่ ประชาชน ใน หมู่บ้าน สงวน ไว้ เพื่อ ประโยชน์ร่วมกัน ใน การ ใช้ เลี้ยงสัตว์ ย่อม เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1วินิจฉัย ว่า ที่ดินพิพาท มิได้ มี พระราชกฤษฎีกา กำหนด ให้ เป็น ที่หวงห้ามตาม มาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติ ว่าด้วย การ หวงห้าม ที่ดิน รกร้างว่างเปล่า อันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 และ ไม่ ปรากฎหลักฐาน ใด ๆ ของ ทางราชการ ว่า ได้ สงวน หวงห้าม ที่ดิน แปลง นี้ไว้ เป็น ที่สาธารณะ ที่ดินพิพาท จึง ไม่ใช่ ที่ดิน สาธารณประโยชน์นั้น เห็นว่า การ ที่ จะ พิจารณา ว่า ที่ดิน แปลง ใด เป็น ที่สาธารณะ หรือไม่ต้อง พิจารณา ตาม สภาพ ของ ที่ดิน และ การ ใช้ ที่ดิน แปลง นั้น ว่าเข้า หลักเกณฑ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 หรือไม่หาก โดยสภาพ ของ ที่ดิน เป็น ที่ดิน สาธารณประโยชน์ แม้ ทางราชการ จะ มิได้ออก พระราชกฤษฎีกา กำหนด ให้ เป็น ที่หวงห้าม ตาม พระราชบัญญัติ ดังกล่าวซึ่ง ถูก ยกเลิก โดย มาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติ ให้ ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 ตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2497 แล้ว และ แม้ ทางราชการจะ มิได้ ขึ้น ทะเบียน เป็น ที่สาธารณประโยชน์ ไว้ ก็ หา ทำให้ ที่ดิน ซึ่งเป็น ที่ดิน สาธารณประโยชน์ อยู่ แล้ว กลับ ไม่เป็น ที่ดิน สาธารณประโยชน์ไป ได้ไม่ เมื่อ ฟัง ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ที่ดิน สาธารณประโยชน์ โจทก์ ย่อมไม่มี สิทธิ ขอ ออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) การ ที่จำเลย ที่ 1 มี คำสั่ง ที่ 2106/2523 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2523ให้ เพิกถอน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) สำหรับ ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ เอกสาร หมาย จ. 2 จึง เป็น คำสั่ง ที่ชอบ ด้วย กฎหมายโจทก์ จะ ขอให้ เพิกถอน คำสั่ง ดังกล่าว หาได้ไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1พิพากษา ให้ เพิกถอน คำสั่ง ดังกล่าว และ ให้ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 7รื้อ รั้ว และ ต้น ไม้ ที่ ปลูก ขึ้น ใหม่ ออกจาก ที่ดินพิพาท กับ ห้าม มิให้เกี่ยวข้อง ใน ที่ดินพิพาท อีก ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกาจำเลย ทั้ง เจ็ด ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์

Share