คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2503

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า กรณีเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้ทันที โดยไม่ต้องฟ้องลูกหนี้ก่อน และมีข้อความอีกตอนหนึ่งว่า ยังยินยอมให้ผ่อนเวลาชำระหนี้ได้ และผู้ค้ำประกันยังคงรับผิดชอบผู้เสมอ ดังนี้ถือว่า เป็นการตกลงพิเศษ ผู้ค้ำประกันหารรับผิดเพียงฐานะผู้ค้ำประกันตามกฎหมายเท่านั้นไม่
อนึ่ง การที่ผู้ค้ำประกันตกลงเป็นพิเศษยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้นั้น หาขัดกับความสงบเรียกร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ ตามประมวลกฎหมาแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 ข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ
ในกรณีลูกหนี้ตาย สัญญาค้ำประกันยังให้สิทธิเจ้าหน้าฟ้องผู้ค้ำประกันได้ เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องความมรดกโดยผู้ค้ำประกันยินยอมและไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในทางคดี เป็นข้อแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า เจ้าหนี้ไม่จำต้องฟ้องลูกหนี้หรือทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันอีกข้อหนึ่งว่า ถ้าผู้กู้ถึงแก่ความตาย ได้รับรับชำระหนึ่งจากกองมรดกครบจำนวน ผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้จนครบนั้น มิได้หมายความว่า จะต้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ด้วยตราบใด ยังไม่ได้รับชำระหนี้หรือกองมรดก ผู้ค้ำประกันได้ เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องความมรดกโดยผู้ค้ำประกันยินยอมและไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในทางคดี เป็นข้อแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า เจ้าหนี้ไม่จำต้องฟ้องลูกหนี้หรือทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันอีกข้อหนึ่งว่า ถ้าผู้กู้ถึงแก่ความตาย ไม่ได้รับชำระหนี้จากกองมรดกครบจำนวน ผู้ค้ำประกันยอมรับชำระหนี้จนครบ นั้น มิได้หมายความว่าจะต้องฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ด้วยตราบใดยังไม่ได้รับชำระหนี้หรือกองมรดก ผู้ค้ำประกันก็ยังต้องรับผิดชอบอยู่เสมอ การที่ผู้ค้ำประกันตกลงจะไม่ยกอายุความของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้นั้น ไม่ขัดต่อมาตรา 191 หรือ 192 เพราะไม่ใช่อายุความของผู้ค้ำประกัน และข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ

ย่อยาว

คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๑ ได้กู้เงินของโจทก์ไปจำเลยที่ ๒ – ๓ เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ ๒ – ๓ เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยผิดนัด โจทก์ทางถามแล้ว จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยทั้งสามชำระต้นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท ดอกเบี้ย ๑๑,๙๓๕ บาท
จำเลยให้การว่า โจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยที่ ๑ ถึง ๔ ครั้ง ๓ หน โดยไม่บอกกล่าวให้จำเลย ที่ ๒ – ๓ทราบสัญญาค้ำประกันไม่มีผลบังคับไม่จำเลยที่ ๑ ตายไปแล้วหลายปี โจทก์มิได้จัดการเรียกร้องจากกองมรดกภายในกำหนดปี สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นส่วนซึ่งเป็นประธานหมดไปแล้วสิทธิเรียกร้อง จากจำเลยที่ ๒ – ๓ ต้องถือว่าขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๙๐ สัญญาค้ำประกันข้อ ๔ ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ๆ ตกเป็นโมฆะ
ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยที่ ๑ ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ ๒ – ๓ ส่งเอกสารประกอบว่าจำเลยที่ ๑ ตายไปก่อนยื่นฟ้อง โจทก์ไม่คัดค้าน ฝ่ายจำเลยรับว่าสำเนาหนังสือค้ำประกันท้ายฟ้องหมายเลข ๓, ๔ ถูกต้องกับต้นฉบับ
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะตัวจำเลยที่ ๑ สืบพยานแล้วพิพากษา ยกฟ้อง จำเลยที่ ๒-๓
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ ๒ – ๓ ชำระเงินสองหมื่นบาทแก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
จำเลยที่ ๒ – ๓ ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า
สัญญาค้ำประกันมีข้อ ๒ และ ๖ กรณีเมื่อลูกหนี้ผิดนัด จำเลยที่ ๒ – ๓ ยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้ทันที โดยไม่ต้องฟ้องลูกหนี้เสียก่อนและตามข้อ ๓ ก็ยังยินยอมให้ผ่อนผันเวลาชำระหนี้ได้ และผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอยู่เสมอ เป็นการตกลงพิเศษ หารับผิดเพียงฐานผู้ค้ำประกันตามกฎหมายเท่านั้นไม่ การที่ผู้ค้ำประกันตกลงกันเป็นพิเศษย่อมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้นั้น หาขัดกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ ตามมาตรา ๑๑๔ ข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ ในกรณีลูกหนี้ตายตามสัญญาข้อ ๔ ตอนท้าย ยังให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกันได้ เมื่อพ้นกำหนดอายุ ความฟ้องกองมรดก โดยผู้ค้ำประกันยินยอมและให้ยกเอาอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในทางคดี ก็เป็นข้อแสดง ให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า โจทก์ไม่จำต้องฟ้องลูกหนี้หรือทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ ข้อความในตอนต้นของข้อที่ ๔ ทว่า ถ้าผู้กู้ถึงแก่กรรม ได้รับชำระหนี้จากกองมรดกครบจำนวน ผู้ค้ำประกันยอมรับชำระหนี้จนครบนั้น มิได้หมายความว่าจะต้องฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ด้วย ตราบใดที่ยังไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้หรือกองมรดก ผู้ค้ำประกันก็ยังต้องรับผิดชอบอยู่เสมอ
การที่ผู้ค้ำประกันตกลงในยกอายุความของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้นั้น ไม่ขัดต่อมาตรา ๑๙๑ หรือ ๑๙๒ เพราะไม่ใช่อายุความของจำเลยที่ ๒ – ๓เอง และจำเลยที่ ๒ – ๓ ก็ยอมตกลงยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้ ข้อตกลงนั้นไม่เป็นโมฆะ
พิพากษายืน

Share