คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่โจทก์รับเงินที่จำเลยที่1วางเป็นค่าเสียหายที่ต้องชดใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นการดำเนินการชั้นบังคับคดีเมื่อจำเลยที่1ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์นั้นหาใช่เป็นการยอมรับว่าจำเลยทั้งสองมิได้ฉ้อฉลโจทก์ดังที่โจทก์ฟ้องและไม่ประสงค์ดำเนินคดีต่อไปไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ไป จัดการ เพิกถอน สัญญาซื้อขายระหว่าง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้ จำเลย ที่ 1 จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ที่ดิน และ บ้าน ดังกล่าว แก่ โจทก์ หาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทนการแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สอง หาก ไม่สามารถ บังคับ ได้ ให้ จำเลยที่ 1 คืนเงิน ค่าที่ดิน และ บ้าน พร้อม ดอกเบี้ย เป็น เงิน 161,250 บาทกับ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 150,000 บาทนับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และ ให้ จำเลย ทั้ง สองร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 150,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ เงิน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า สัญญาจะซื้อจะขาย ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลยที่ 1 เป็น นิติกรรม อำพราง การ ที่ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 1 ยืมเงิน 70,000บาท จำเลย ที่ 1 เพียงแต่ ให้ โจทก์ พัก อาศัย อยู่ ใน บ้าน พิพาท ต่อมาโจทก์ อยาก ได้ เงิน ยืม คืน และ ได้ ให้ จำเลย ที่ 1 ขาย ที่ดิน และ บ้านแก่ จำเลย ที่ 2 ไป โดยสุจริต โจทก์ ไม่ได้ เสียหาย ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ และ ฟ้องแย้ง ขอให้ ยกฟ้อง โจทก์ และ บังคับโจทก์ และ บริวาร ออกจาก ที่ดิน และ บ้าน พิพาท กับ ห้าม โจทก์ และ บริวารเกี่ยวข้อง กับ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท และ ให้ โจทก์ แจ้ง เพิกถอน การ อายัดที่ดิน ของ จำเลย ที่ 2 ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน หาก โจทก์ ไม่แจ้ง การเพิกถอน ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ให้ โจทก์ ใช้ค่าเสียหาย 10,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันฟ้อง แย้ง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ กับ ใช้ ค่าเสียหาย อีก เดือน ละ5,000 บาท ทุกเดือน ตั้งแต่ วันฟ้อง แย้ง พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ เงิน ที่ ต้อง ชำระ ทุกเดือน จนกว่า โจทก์ จะ ขนย้ายทรัพย์สิน และ บริวาร ออก ไป จาก ที่ดิน และ บ้าน พิพาท
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า โจทก์ มีสิทธิ อยู่ ใน ที่ดิน และ บ้านพิพาท ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย และ จำเลย ทั้ง สอง สมคบ กัน ฉ้อฉล โจทก์จึง ไม่ได้ กระทำ ละเมิด ต่อ จำเลย ที่ 2 ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 คืนเงิน ค่าที่ดิน และ บ้านให้ แก่ โจทก์ จำนวน 150,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง (วันที่ 13 ธันวาคม 2532) เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ ให้ โจทก์ ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวาร ออกจาก บ้าน เลขที่50/390 ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 159898 แขวง บางนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร และ ส่งมอบ ที่ดิน ดังกล่าว แก่ จำเลย ที่ 2 ทั้ง ห้ามโจทก์ กับ บริวาร เกี่ยวข้อง กับ บ้าน และ ที่ดิน ดังกล่าว ตลอด ไป และ ให้โจทก์ ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ จำเลย ที่ 2 เดือน ละ 3,000 บาท นับ ตั้งแต่วันฟ้อง แย้ง (วันที่ 9 มกราคม 2533) เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ขนย้ายทรัพย์สิน บริวาร ออกจาก บ้าน และ ที่ดิน ดังกล่าว และ ส่งมอบ ให้ แก่ จำเลยที่ 2 แล้ว ให้ โจทก์ แจ้ง เพิกถอน การ อายัด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 159898ที่ แจ้ง อายัด ไว้ ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน หาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษาแทน การแสดง เจตนา ของ โจทก์ คำขอ ตาม ฟ้อง และ คำฟ้อง แย้ง นอกจาก นี้ให้ยก เสีย
โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ เพิกถอน สัญญา ขาย ที่ดิน โฉนดเลขที่ 159898 แขวง บางนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อม บ้าน เลขที่ 50/390 ระหว่าง จำเลย ทั้ง สอง แล้ว ให้ จำเลย ที่ 1 จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน และ บ้าน ดังกล่าว แก่ โจทก์ หาก จำเลย ทั้ง สองไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สองหาก ไม่สามารถ เพิกถอน สัญญา ระหว่าง จำเลย ทั้ง สอง ดังกล่าว ได้ ให้จำเลย ที่ 1 คืนเงิน 150,000 บาท แก่ โจทก์ และ ให้ จำเลย ทั้ง สองร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย 50,000 บาท แก่ โจทก์ ให้ยก ฟ้องแย้ง ของจำเลย ที่ 2
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายตาม ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า การ ที่ โจทก์ ไป รับ เงิน ที่ จำเลย ที่ 1มา วาง ไว้ ใน คดี นี้ แสดง ให้ เห็นว่า โจทก์ ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดย ยอมรับ ว่า จำเลย ทั้ง สอง มิได้ คบคิด ฉ้อฉล โจทก์ จึง ยอมรับ เงิน ที่ ตน มีสิทธิ ได้รับ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ไป แทน คดี ต้องถือว่า ถึงที่สุด ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น แล้ว นั้น เห็นว่า คดี นี้เมื่อ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 แพ้ คดี โดย ให้ คืนเงิน ค่าที่ดินและ บ้าน พิพาท ให้ แก่ โจทก์ จำนวน 150,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จจำเลย ที่ 1 ได้ ยื่น อุทธรณ์ และ ยื่น คำร้องขอ ทุเลาการบังคับคดี ในระหว่าง อุทธรณ์ ต่อ ศาลอุทธรณ์ ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ได้ มี คำสั่ง ให้ จำเลยที่ 1 หา ประกัน สำหรับ จำนวนเงิน ที่ ต้อง ชำระ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้นพร้อม ดอกเบี้ย ที่ ต้อง ชำระ ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไปจน ถึง วัน ทราบ คำสั่ง และ ต่อไป อีก 2 ปี มา ให้ เป็น ที่ พอใจ ศาลชั้นต้นและ ภายใน เวลา ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ก็ อนุญาต ให้ ทุเลาการบังคับ ในระหว่าง อุทธรณ์ มิฉะนั้น ให้ยก คำร้อง เมื่อ จำเลย ที่ 1 ทราบ คำสั่งของ ศาลอุทธรณ์ แล้ว แต่ ไม่ปฏิบัติ ตาม ศาลชั้นต้น จึง ให้ยก คำร้องของ จำเลย ที่ 1 ตาม คำสั่ง ของ ศาลอุทธรณ์ โจทก์ จึง ได้ ขอ หมาย บังคับคดีเพื่อ ยึดทรัพย์ ของ จำเลย ที่ 1 และ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ทำการ ยึดทรัพย์ ของ จำเลย ที่ 1 ตาม กฎหมาย ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ต่อมา จำเลย ที่ 1 จึง วางเงิน ค่าเสียหาย ที่ ต้อง ชดใช้ แก่ โจทก์ ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น การ ที่ โจทก์ รับ เงิน ดังกล่าว ไป เป็น การ ดำเนินการชั้น บังคับคดี ใน เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ตาม คำสั่ง ของศาลอุทธรณ์ เกี่ยวกับ การ ขอทุเลาการบังคับ ใน ระหว่าง อุทธรณ์ หาก โจทก์แพ้ คดี ใน ชั้นอุทธรณ์ ก็ ต้อง คืนเงิน ดังกล่าว ให้ จำเลย ที่ 1 จึง หาใช่ยอมรับ ว่า จำเลย ทั้ง สอง มิได้ ฉ้อฉล โจทก์ และ ไม่ประสงค์ ดำเนินคดีต่อไป คดี จึง ยัง ไม่ถึงที่สุด ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น แต่อย่างใด ไม่ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share