แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ขอแก้วันเกิดเหตุในฟ้องโดยอ้างว่าเนื่องจากวันเกิดเหตุในฟ้องยังผิดพลาดจากความจริงนั้นถือว่าไม่ได้แสดงเหตุอันควรที่จะอนุญาตให้แก้ฟ้อง
เมื่อโจทก์ฟ้องผิดวันแล้ว ศาลต้องยกฟ้อง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยจะหลงต่อสู้คดีหรือไม่.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสมคบกันลักทรัพย์เมื่อระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกของวันที่๑๔ ตุลาคม ๒๔๘๖ ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ จนถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นของวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๘๖ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำเดือน ๑๑
ระหว่างพิจารณาโจทก์นำเจ้าทรัพย์เบิกความว่าการลักทรัพย์เกิดเมื่อวันแรม ๒ ค่ำเดือน ๑๑ เวลากลางคืน
โจทก์ยื่นคำร้องแก้ฟ้องว่าวันเกิดเหตุในฟ้องยังผิดพลาดแก้เป็น “ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๘๖ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำเดือน ๑๑ จนถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นของวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๔๘๖ ตรงกับวันแรม ๓ ค่ำเดือน ๑๑ จำเลยคัดค้าน
ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้แก้พิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าตามคำร้องอ้างเหตุเพียงว่าเนื่องจากวันเกิตเหตุในฟ้องยังผิดพลาดจากความจริงอยู่เท่านี้ มิได้แสดงเหตุอันควรที่จะอนุญาตให้แก้อย่างใดไม่ดังนี้จึงไม่ต้องพิจารณาว่าจำเลยได้หลงต่อสู้ในข้อที่ผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๖๔ ประมวนวิธีพิจารนาความอาญา จึงพิพากษายืน