แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวเนื่องจากจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่มีการส่งคำบังคับให้จำเลยแต่โจทก์นำคำพิพากษาไปให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนสมรสเป็นการบังคับตามคำพิพากษาโดยวิธีอื่นแล้วจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด6เดือนนับแต่วันที่มีการบังคับตามคำพิพากษาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208 เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้พิจารณาใหม่แล้วคำพิพากษาโดยคู่ความขาดนัดของศาลชั้นต้นและวิธีการบังคับคดีที่ดำเนินไปแล้วนั้นถือว่าเป็นอันเพิกถอนไปในตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา209วรรคแรกการที่โจทก์ไปให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าตามคำพิพากษาในทะเบียนสมรสจึงถูกเพิกถอนไปด้วยสถานะบุคคลของโจทก์จำเลยยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากการเป็นสามีภริยากัน
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ จำเลย เป็น สามี ภริยา โดย จดทะเบียน กันจำเลย ไป อยู่ ต่างประเทศ ทิ้ง ให้ โจทก์ อยู่ ตาม ลำพัง กับ บุตร ทั้ง สามจน บัดนี้ เป็น เวลา 3 ปี แล้ว เป็น การ จงใจ ละทิ้งร้าง โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4) และ เป็น การ ประพฤติไม่ เหมาะสม ที่ จะ เป็น ผู้ปกครอง บุตร ทั้ง สาม ขอให้ บังคับ จำเลย หย่าขาดจาก โจทก์ หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทนการแสดง เจตนา และ ให้ โจทก์ เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ผู้เยาว์ทั้ง สาม ห้าม จำเลย มิให้ มา เกี่ยวข้อง
จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิจารณา คดี โจทก์ ฝ่ายเดียว แล้ว พิพากษา ให้ โจทก์และ จำเลย หย่าขาด จาก การ เป็น สามี ภริยา และ ให้ บุตร ผู้เยาว์ทั้ง สาม คน อยู่ ใน ความ ปกครอง ของ โจทก์ แต่ ผู้เดียว ค่าฤชาธรรมเนียมให้ เป็น พับ
ต่อมา จำเลย ยื่น คำร้องขอ ให้ พิจารณา ใหม่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่งว่า จำเลย ไม่ จงใจ ขาดนัดพิจารณา อนุญาต ให้ จำเลย ยื่นคำให้การภายใน กำหนด 8 วัน
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย ละทิ้งร้าง โจทก์ ไม่ได้ประพฤติ ตน ไม่ เหมาะสม ที่ จะ เป็น ผู้ปกครอง บุตร ทั้ง สาม ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง การ พิจารณา ใหม่ ของ ศาลชั้นต้น โจทก์ ยื่น คำแถลงต่อ ศาล ว่า โจทก์ ได้ นำ คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น ไป บันทึก ลง ใน ทะเบียนการ สมรส แล้ว ตาม สำเนา ภาพถ่าย ทะเบียน การ สมรส เอกสาร หมายจ. 1 ทั้ง โจทก์ ได้ จดทะเบียนสมรส ใหม่ แล้ว ตาม สำเนา ภาพถ่าย ใบ สำคัญการ สมรส เอกสาร หมาย จ. 2 ขอให้ จำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว เห็นว่า สถานะ บุคคล ของ โจทก์ และจำเลย ได้ เปลี่ยนแปลง ไป ตาม หลักฐาน การ จดทะเบียน หย่าและ การ จดทะเบียนสมรส อันเป็น ผล เนื่องมาจาก คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้นคดี พอ วินิจฉัย ได้ จึง ให้ งด การ พิจารณา และ พิพากษายก ฟ้องค่าฤชาธรรมเนียม ให้ เป็น พับ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้นดำเนิน กระบวนพิจารณา ต่อไป และ มี คำพิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดีค่าฤชาธรรมเนียม ทั้ง สอง ศาล ให้ ศาลชั้นต้น รวม สั่ง เมื่อ มี คำพิพากษา ใหม่
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ว่า ศาลชั้นต้นพิจารณา คดี โจทก์ ไป ฝ่ายเดียว เนื่องจาก จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การและ ขาดนัดพิจารณา และ มี คำพิพากษา ให้ โจทก์ และ จำเลย หย่าขาด จาก การเป็น สามี ภริยา กัน เมื่อ วันที่ 15 มิถุนายน 2533 โดย ไม่มี การ ส่งคำบังคับ ตาม คำพิพากษา ให้ จำเลย แต่ โจทก์ ได้ นำ คำพิพากษา ดังกล่าวไป ให้ นายทะเบียน เขต ธนบุรี บันทึก การ หย่า ไว้ ใน ทะเบียนสมรส เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 อันเป็น การ บังคับ ตาม คำพิพากษา โดย วิธี อื่นแล้ว จำเลย ยื่น คำขอ ให้ พิจารณา ใหม่ เมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม 2534ยัง ไม่ พ้น กำหนด 6 เดือน นับแต่ วันที่ มี การ บังคับ ตาม คำพิพากษาดังกล่าว อ้างว่า จำเลย มิได้ จงใจ ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณาหาก จำเลย ได้ ต่อสู้ คดี จำเลย มี ทาง ชนะคดี ได้ เห็นว่า จำเลย ยื่น คำร้องขอให้พิจารณา ใหม่ โดยชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 ต่อมา ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง อนุญาต ให้ พิจารณา คดี นี้ ใหม่ดังนั้น คำพิพากษา โดย คู่ความ ขาดนัด ของ ศาลชั้นต้น และ วิธีการ บังคับคดีที่ ดำเนิน ไป แล้ว นั้น ถือว่า เป็น อัน เพิกถอน ไป ใน ตัว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 วรรคแรก เมื่อ คำพิพากษาโดย คู่ความ ขาดนัด ถูก เพิกถอน แล้ว การ ที่ โจทก์ ไป ให้ นายทะเบียน บันทึกการ หย่า ตาม คำพิพากษา ดังกล่าว ใน ทะเบียนสมรส จึง ถูก เพิกถอน ไป ด้วยสถานะ ของ บุคคล ระหว่าง โจทก์ และ จำเลย ยัง คง ไม่ เปลี่ยนแปลงไป จาก การ เป็น สามี ภริยา กัน การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา จึง มี ความจำเป็นที่ จะ ต้อง กระทำ ต่อไป ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียม ชั้นฎีกา ใน ศาลชั้นต้น รวม สั่งเมื่อ มี คำพิพากษา หรือ คำสั่ง ใหม่