แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
หนังสือรับสภาพหนี้มิใช่สัญญากู้ยืมเงินข้อตกลงที่ว่าหากจำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ20ต่อปีจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯถือว่าเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าให้คิดดอกเบี้ยเสมือนเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน ทั้งสิ้น135,811.62 บาท พร้อมเบี้ยปรับ ใน อัตรา ร้อยละ 20 ต่อ ปี จากต้นเงิน 89,917 บาท นับ ตั้งแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน แก่ โจทก์จำนวน 109,917 บาท
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ประเด็น ข้อ สุดท้าย เรื่อง โจทก์ เรียกดอกเบี้ย เกินกว่า อัตรา ที่ กฎหมาย กำหนด เป็น การ ฝ่าฝืน กฎหมาย ดอกเบี้ยตกเป็น โมฆะ หรือไม่ เห็นว่า หนังสือ รับสภาพหนี้ ตาม ฟ้อง ระหว่าง โจทก์กับ จำเลย ทั้ง สอง มิใช่ สัญญากู้ยืม เงิน ดังนั้น ข้อตกลง ระหว่างโจทก์ กับ จำเลย ทั้ง สอง ที่ ว่า หาก จำเลย ทั้ง สอง ผิดสัญญา ไม่ชำระ หนี้ยอม ให้ คิด ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 20 ต่อ ปี จึง ไม่อยู่ ใน บังคับแห่ง พระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 กรณีจึง หาใช่ ว่า โจทก์ มี เจตนา หลีกเลี่ยง ข้อห้าม ตาม กฎหมาย ดังกล่าวกรณี กลับ ถือได้ว่า เจตนา ของ โจทก์ กับ จำเลย ทั้ง สอง ใน การ ทำ สัญญาโดย บ่ง ข้อตกลง ดัง ว่า นั้น มี ลักษณะ เป็น การ ทำ สัญญา ด้วย ข้อตกลงกำหนด ค่าเสียหาย ไว้ ล่วงหน้า ให้ คิด ดอกเบี้ย เสมือน เป็น เบี้ยปรับประการ หนึ่ง ซึ่ง ศาล มีอำนาจ ใช้ ดุลพินิจ ลดลง เป็น จำนวน พอสมควร ได้ใน เมื่อ พิเคราะห์ ถึง ทาง ได้เสีย ของ โจทก์ ทุกอย่าง อัน ชอบ ด้วย กฎหมายหาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ชำระ หนี้ ให้ ถูกต้อง ตาม สมควร ดังนั้น ดอกเบี้ยจึง หา เป็น โมฆะ ไม่ โจทก์ ย่อม มีสิทธิ เรียก ได้ และ ที่ ศาลล่างกำหนด ให้ มา นั้น เหมาะสม แล้ว ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน ”
พิพากษายืน