คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันที่จะไล่เบี้ยเอาจากจำเลยย่อมจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยแล้วตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา693แต่การชำระหนี้โดยวิธีการที่โจทก์ยอมผูกพันตนเข้าเป็นลูกหนี้ของ ธ.เพื่อชำระหนี้ของจำเลยอีกคนหนึ่งหาใช่เป็นการที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ ธ. เสร็จสิ้นแล้วไม่ทั้งไม่ทำให้หนี้ระหว่าง ธ.กับจำเลยที่มีอยู่เดิมระงับสิ้นไปเพราะมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ธ. ยังคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวได้เช่นเดิมเมื่อตามคำฟ้องไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยให้แก่ ธ. ไปแล้วหรือไม่เป็นจำนวนเท่าใดโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ได้ เข้า ค้ำประกัน หนี้ ค่าภาษี ของ จำเลย ต่อ กรมสรรพากร ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของคณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ และ โจทก์ เป็น ผู้ค้ำประกัน หนี้ ต่าง ๆของ จำเลย รวมทั้ง หนี้ ค่าภาษี ดังกล่าว ต่อ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ต่อมา ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ชำระหนี้ ให้ กรมสรรพากร แทน จำเลย จำนวน 1,198,620.58 บาท และ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ได้ชำระหนี้ จำนวน ดังกล่าว ให้ แก่ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด แทน จำเลย ไป เมื่อ วันที่ 19 มกราคม 2533 โดย วิธี โจทก์ ยอม ผูกพัน ตน เข้า เป็นลูกหนี้ ของ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ใน จำนวนเงิน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 19 มกราคม 2533ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน1,198,620.58 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า นาย มานะ สุขบาง เป็น ผู้ทำสัญญา ขาย หุ้น ของ จำเลย ให้ แก่ นาย ชวลิต ทั่งสัมพันธ์ กับพวก หนี้ ค่าภาษี ดังกล่าว เป็น หนี้ ที่ เกิดขึ้น ก่อน นาย ชวลิต กับพวก เข้า มา ดำเนินงาน บริษัท จำเลย และ โจทก์ ทราบ ดี ว่า หนี้ ดังกล่าว นาย มานะ จะ ต้อง รับผิด ชดใช้ ให้ โจทก์ ตาม บันทึก ข้อตกลง การ โอนหุ้น จำเลย จึง ไม่ต้องรับผิด ต่อ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ แล้ว จึง ให้ งดสืบพยาน โจทก์และ พยาน จำเลย แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 1,198,620.58บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย อุทธรณ์ คำสั่ง และ คำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ใน การ ฟ้องคดี เพื่อ ใช้ สิทธิ ไล่เบี้ย ใน ฐานะผู้ค้ำประกัน ของ โจทก์ นั้น ปรากฏ ข้อเท็จจริง ตาม คำฟ้อง ว่า โจทก์ซึ่ง เป็น ผู้ค้ำประกัน การ ชำระหนี้ ของ จำเลย ที่ มี ต่อ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ได้ ชำระหนี้ ให้ แก่ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด แทน จำเลย ด้วย วิธี ที่ โจทก์ ยอม ผูกพัน ตน เข้า เป็น ลูกหนี้ ของ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด เป็น จำนวน 1,198,620.58 บาท เท่ากับ จำนวน ที่ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ชำระหนี้ ให้ แก่ กรมสรรพากร แทน จำเลย ไป โดย โจทก์ ยอม เสียดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน จำนวน ดังกล่าว นับแต่วันที่ 19 มกราคม 2533 เป็นต้น ไป จนกว่า โจทก์ จะ ชำระหนี้ ให้ แก่ธนาคาร ทหารไทย จำกัด แล้ว เสร็จ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า สิทธิ ของ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ที่ จะ ไล่เบี้ย เอา จาก จำเลย นั้น ย่อม จะ เกิดมี ขึ้น ต่อเมื่อ โจทก์ ได้ ชำระหนี้ ให้ แก่ เจ้าหนี้ แทน จำเลย แล้ว ดัง ที่บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693 วรรคหนึ่งแต่ การ ชำระหนี้ โดย วิธีการ ที่ โจทก์ อ้าง นั้น เป็น เพียง การ ที่ โจทก์ ยอมผูกพัน ตน เข้า เป็น ลูกหนี้ ของ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด เพื่อ ชำระ หนี้ ของ จำเลย อีก คนหนึ่ง เท่านั้น หาใช่ เป็น การ ที่ โจทก์ ชำระหนี้ให้ แก่ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด เสร็จสิ้น แล้วแต่ ประการใด ไม่ ทั้ง ไม่ทำ ให้ หนี้ ระหว่าง ธนาคาร ทหารไทย จำกัด กับ จำเลย ที่ มี อยู่ เดิม ระงับ สิ้นไป เพราะ มิใช่ เป็น การ แปลงหนี้ใหม่ โดย การ เปลี่ยน ตัวลูกหนี้ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ยัง คง มีสิทธิ เรียกร้อง ให้ จำเลย ชำระหนี้ ดังกล่าว ได้ เช่น เดิม เมื่อ ตาม คำฟ้อง ไม่ ปรากฎ ข้อเท็จจริงว่า โจทก์ ได้ ชำระหนี้ แทน จำเลย ให้ แก่ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ไป แล้ว หรือไม่ เป็น จำนวน เท่าใด ดังนั้น โจทก์ จึง ยัง ไม่มี สิทธิ ฟ้องไล่เบี้ย เอา จาก จำเลย ได้ ซึ่ง เมื่อ ได้ วินิจฉัย ดังกล่าว แล้ว ประเด็นข้อ อื่น ตาม ฎีกา ของ จำเลย จึง ไม่จำต้อง วินิจฉัย
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์

Share