คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติไม่อาจจดทะเบียนโอนได้แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิสละการครอบครองให้แก่กันได้การที่จำเลยที่1โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วเช่าจากโจทก์ถือว่าจำเลยสละการครอบครองให้แก่โจทก์แล้วโจทก์และจำเลยที่1ได้บันทึกที่สถานีตำรวจยอมรับกันว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทให้จำเลยที่1เช่าจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ส่วนจำเลยที่2ที่3เข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยจำเลยที่1แบ่งให้ครอบครองเพราะเป็นบุตรซึ่งเป็นการอาศัยสิทธิของจำเลยที่1จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์เช่นกัน

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้ครอบครอง ที่ดินมือเปล่า ใน เขต ป่า สอง ข้างทาง สาย ชัยวิบูลย์ บ้านร้อยไร่ เนื้อที่ ประมาณ 300 ไร่ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4 ซึ่ง เป็น สามี ภริยา กันเช่า ที่ดิน ดังกล่าว ทำไร่ มี กำหนด 1 ปี จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4 แบ่ง ให้จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ซึ่ง เป็น บุตร ช่วย กัน ทำไร่ คน ละ 100 ไร่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกัน แจ้งความเท็จ ต่อ เจ้าหน้าที่ ป่าไม้ ว่าจำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกัน เป็น ผู้ครอบครอง ที่ดิน ดังกล่าวเพื่อ ขออนุญาต ให้ ทางราชการ ออก หนังสือ สิทธิ ทำกิน ให้ จน ทางราชการหลงเชื่อ ออก หนังสือ สิทธิ ทำกิน ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3มี เจตนา ให้ โจทก์ เสีย สิทธิ ครอบครอง และ เพื่อ ยึดถือ ครอบครอง ที่ดิน300 ไร่ เป็น ของ ตน เพื่อ ประโยชน์ ร่วม กับ จำเลย ที่ 4 โจทก์ บอกกล่าวให้ จำเลย ทั้ง สี่ คืน ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ยอม คืน ให้ โจทก์ แล้ว100 ไร่ โจทก์ ได้ เข้า ทำประโยชน์ แล้ว 85 ไร่ ที่ เหลือ อีก 215 ไร่ไม่ยอม คืน ให้ โดย อ้างว่า มีสิทธิ ครอบครอง ดีกว่า โจทก์ และ ฟ้องขับไล่โจทก์ ทำให้ โจทก์ ขาด ประโยชน์ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สี่ และ บริวารออกจาก ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ 215 ไร่ และ ห้าม จำเลย ทั้ง สี่ และ บริวารเข้า มา เกี่ยวข้อง ใน ที่ดิน ดังกล่าว ตลอด ไป ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกันชำระ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ปี ละ 75,250 บาท นับแต่ วัน ทำละเมิด เป็นต้น ไปจนกว่า จะ หยุด การกระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์
จำเลย ทั้ง สี่ ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 เป็นผู้ครอบครอง ทำกิน มาก ว่า 20 ปี จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4 ไม่เคย มีนิติสัมพันธ์ กับ โจทก์ สัญญาเช่า ท้ายฟ้อง เป็น เอกสารปลอม รายงานประจำวัน เกี่ยวกับ คดี ท้ายฟ้อง เจ้าพนักงาน บันทึก ไป โดย ผิด จาก ความจริงโดย การ ชักนำ หรือ ชักจูง ของ โจทก์ และ บังคับ ขู่เข็ญ ให้ จำเลย ที่ 1ต้อง ยอม ตาม ด้วย ความ ไม่รู้ เท่าทัน จึง เป็น เอกสาร เท็จ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ ขับไล่ จำเลย ทั้ง สี่ และ บริวาร ออก ไป จากที่ดินพิพาท ห้ามเข้า มา เกี่ยวข้อง อีก ต่อไป คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย ทั้ง สี่ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สี่ ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ในศาลชั้นต้น ได้รับ รอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สี่ ว่า จำเลย ทั้ง สี่ สละ การ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ และครอบครอง ที่ดินพิพาท แทน โจทก์ หรือไม่ พยานหลักฐาน ของ โจทก์มี น้ำหนัก ดีกว่า พยานหลักฐาน ของ จำเลย ทั้ง สี่ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่าจำเลย ที่ 1 ได้ โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ แล้ว เช่า ที่ดินพิพาทจาก โจทก์ ตั้งแต่ ปี 2526 และ เนื่องจาก ที่ดินพิพาท เป็น ที่ดิน อยู่ใน เขต ป่าสงวนแห่งชาติ ไม่อาจ จดทะเบียน ได้ แต่ ใน ระหว่าง ราษฎรด้วยกัน ย่อม มีสิทธิ สละ การ ครอบครอง ให้ แก่ กัน ได้ จึง ถือได้ว่า ฝ่ายจำเลย ทั้ง สี่ สละ การ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ แล้ว โจทก์ และจำเลย ที่ 1 ได้ ไป ทำ บันทึก ที่ สถานีตำรวจภูธร อำเภอ บึงสามพัน จังหวัด เพชรบูรณ์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 9 ยอมรับ กัน ว่า โจทก์ เป็นเจ้าของ ที่ดินพิพาท 300 ไร่ ให้ จำเลย ที่ 1 เช่า การ ครอบครองที่ดินพิพาท ของ จำเลย ที่ 1 จึง เป็น การ ครอบครองแทน โจทก์ ที่ จำเลย ที่ 2ที่ 3 อ้างว่า จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ได้รับ อนุญาต จาก ทางราชการ ให้ เข้าทำกิน ใน ที่ดินพิพาท การ สละ การ ครอบครอง ของ จำเลย ที่ 1 ไม่มี ผล ถึงที่ดิน ที่ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ครอบครอง นั้น เห็นว่า จำเลย ที่ 2 ที่ 3เข้า มา เกี่ยวข้อง กับ ที่ดินพิพาท โดย จำเลย ที่ 1 แบ่ง ให้ ครอบครอง เพราะจำเลย ที่ 2 ที่ 3 เป็น บุตร การ เข้า ครอบครอง ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 3จึง อาศัย สิทธิ ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง ครอบครองแทน โจทก์ ดังนั้น การครอบครอง ที่ดินพิพาท ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 จึง เป็น การ ครอบครองแทนโจทก์ เช่นเดียวกัน ส่วน ที่ จำเลย ที่ 4 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 4 เป็น ภริยาของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 ไม่มี สิทธิ เอา ที่ดินพิพาท ส่วน ของจำเลย ที่ 4 ไป สละ การ ครอบครอง ให้ แก่ โจทก์ ก็ ดี หรือ ที่ จำเลย ทั้ง สี่ฎีกา ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ที่ดิน อยู่ ใน เขต ป่าสงวนแห่งชาติ ไม่อาจ โอนกัน ได้ เพราะ พระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มี บทบัญญัติห้ามโอน การ โอน ดังกล่าว จึง เป็น การ ขัด ต่อ กฎหมาย โดยชัดแจ้ง เป็นโมฆะ ก็ ดี ข้ออ้าง ดังกล่าว นั้น ฝ่าย จำเลย ทั้ง สี่ มิได้ ต่อสู้ ไว้ ในคำให้การ ถือได้ว่า มิใช่ เป็น ข้อ ที่ ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ในศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย คำพิพากษา ของ ศาลล่างทั้ง สอง นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สี่ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share