คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การสละมรดกจะต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612โดยกฎกระทรวงกับพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2495มาตรา40กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจในกรณีแรกได้แก่ผู้อำนวยการเขตถ้าทำในกรุงเทพมหานครหรือนายอำเภอถ้าทำในต่างจังหวัดฉะนั้นการที่โจทก์กับ ศ. ทำหนังสือสละมรดกให้ไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจึงมิใช่หนังสือสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ไป จดทะเบียน เพิกถอน การ จดทะเบียนรับโอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 58 ซึ่ง ได้ จดทะเบียน ไว้ เมื่อ วันที่8 มีนาคม 2532 เสีย หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาลเป็น การแสดง เจตนา
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน การ จดทะเบียน นิติกรรม การ รับโอนที่ดิน โฉนด เลขที่ 58 ตำบล เกาะท่าพระ อำเภอบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร วันที่ 8 มีนาคม 2532
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์ โดย จำเลย ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดีอย่าง คนอนาถา
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ถึงแก่กรรม นาง อุดม อี่พานิช ทายาท ของ โจทก์ ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลอุทธรณ์ อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟัง ยุติ ว่า นาย ทศ นางหลิ่ว อี่พานิช เป็น บิดา และ มารดา ของ โจทก์ จำเลย และ นาย ศึกษา อี่พานิช นาย ทศ และนางหลิ่ว ถึงแก่กรรม แล้ว โดย นาย ทศ ถึงแก่กรรม ก่อน นาง หลิ่ว ระหว่าง ที่นาย ทศ มี ชีวิต อยู่ นาย ทศ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 58 ตำบล เกาะท่าพระ อำเภอ บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พร้อม บ้าน เลขที่ 192 ซึ่ง ปลูก อยู่ บน ที่ดิน ดังกล่าว คดี มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ว่า โจทก์ จะ ฟ้องขอให้ เพิกถอน การ จดทะเบียน โอน รับมรดก ของ จำเลย ได้ หรือไม่ ใน ประเด็นดังกล่าว เห็นสมควร วินิจฉัย ก่อน ว่า เมื่อ นาย ทศ ถึงแก่กรรม ทรัพย์มรดก ของ นาย ทศ ตก ได้ แก่ ใคร บ้าง โจทก์ นำสืบ ว่า ระหว่าง ที่นาย ทศ มี ชีวิต อยู่ นาย ทศ ได้ ทำ พินัยกรรม ตัด มิให้ จำเลย รับมรดก ปรากฏ ตาม พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ. 1 โดย โจทก์ มี พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ. 1มา แสดง นอกจาก นี้ โจทก์ ยัง มี นาย จรัส สาระนาค อดีต ผู้พิพากษา ซึ่ง เป็น ผู้พิมพ์ และ พยาน ใน พินัยกรรม ฉบับ ดังกล่าว เป็น พยานจาก คำเบิกความ ของ นาย จรัส ได้ความ ว่า นาย ทศ ได้ ทำ พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ. 1 ตัด จำเลย มิให้ รับมรดก จริง โดย พยาน เป็น ผู้พิมพ์พินัยกรรม ตาม คำ บอก ของ นาย ทศ พินัยกรรม ดังกล่าว พิมพ์ ขึ้น ใน คราว เดียว กัน 4 ฉบับ มี ข้อความ ตรง กัน นาย ทศ ให้ พยาน เก็บรักษา ไว้ 1 ฉบับ ส่วน อีก 3 ฉบับ ได้ มอบ ให้ นาง หลิ่ว นางผ่องศรี แสงสุวรรณ และ นาย รัฐชัย สำเภาทอง เก็บ ไว้ คน ละ ฉบับ สาเหตุ ที่นาย ทศ ทำ พินัยกรรม ตัด จำเลย มิให้ รับมรดก ได้ความ จาก นาย จรัส กับ โจทก์ ว่า เป็น เพราะ จำเลย มี ความประพฤติ ไม่ เหมาะสม ไม่อยู่ ใน โอวา ทของ บิดา มารดาซึ่ง ก็ เป็นเหตุ ผล ที่ มี น้ำหนัก พอ ที่ จะ ทำให้ นาย ทศ ทำ พินัยกรรม ตัด จำเลย มิให้ รับมรดก ได้ นาย จรัส เป็น ผู้ที่ ไม่มี ส่วนได้เสีย กับ โจทก์ และ จำเลย จึง เป็น คนกลาง และ เป็น ผู้ เคย เป็น ข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่ มา ก่อน คำเบิกความ ของ นาย จรัส จึง เชื่อ ได้ว่า เป็น ความจริง สำหรับ จำเลย นั้น อ้างว่า พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ. 1 เป็นพินัยกรรม ปลอม แต่ จำเลย ก็ กล่าวอ้าง ลอย ๆ ไม่มี น้ำหนัก หักล้างพยานหลักฐาน ของ โจทก์ ได้ พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ฟังได้ ว่า นาย ทศ ทำ พินัยกรรม ตัด จำเลย มิให้ รับมรดก จริง เมื่อ นาย ทศ ถึงแก่กรรม จำเลย จึง ไม่มี สิทธิ รับมรดก ของ นาย ทศ มรดก ของ นาย ทศ ตก ได้ แก่ โจทก์ นาย ศึกษา และนางหลิ่ว คน ละ หนึ่ง ใน สาม
ปัญหา ต่อไป มี ว่า โจทก์ กับ นาย ศึกษา ได้ สละ มรดก ของ นาย ทศ หรือไม่ โจทก์ เบิกความ ว่า โจทก์ ไม่เคย สละ มรดก หลังจาก นาย ทศ ถึงแก่กรรม แล้ว โจทก์ นาง หลิ่ว และ นาย ศึกษา ก็ อาศัย อยู่ ใน บ้าน และ ที่ดิน มรดก ของ นาย ทศ ตลอดมา ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 การ สละ มรดก จะ ต้อง แสดง เจตนา ชัดแจ้ง เป็น หนังสือ มอบ ไว้ แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือ ทำ เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ปัญหาใน คดี นี้ มี แต่เพียง ว่า หนังสือ เอกสาร หมาย ล. 1 กับ ล. 11 เป็นหนังสือ สละ มรดก ของ โจทก์ และ นาย ศึกษา หรือไม่ จาก คำเบิกความ ของ นาย นคร สุวรรณานนท์ ผู้อำนวยการ เขต บางกอกใหญ่ พยานโจทก์ ได้ความ ว่าการ สละ มรดก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถ้า ทำ ในกรุงเทพมหานคร จะ ต้อง ทำ ต่อหน้า ผู้อำนวยการ เขต ส่วน ใน ต่างจังหวัดจะ ต้อง ทำ ต่อหน้า นายอำเภอ เกี่ยวกับ การ สละ มรดก นี้ กระทรวงมหาดไทยได้ ออก เป็น กฎกระทรวง โดย อาศัย อำนาจ ตาม ความใน มาตรา 1672 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไว้ เมื่อ วันที่ 28 กรกฎาคม 2481ข้อ 14, 15 และ พระราชบัญญัติ ระเบียบ บริหาร ราชการ แผ่นดิน พ.ศ. 2495มาตรา 40 กำหนด อำนาจ หน้าที่ ของ เจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจ ไว้ อัน ได้ แก่ผู้อำนวยการ เขต หรือ นายอำเภอ ดัง ที่นาย นคร เบิกความ นั่นเอง แต่ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 และ ล. 11 โจทก์ กับ นาย ศึกษา ได้ ทำให้ ไว้ แก่ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ซึ่ง ถือ มิได้ ว่า เป็น พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 หนังสือ เอกสาร หมาย ล. 1และ ล. 11 จึง มิใช่ หนังสือ สละ มรดก ”
พิพากษายืน

Share