คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ป.เป็นผู้จัดการมรดกของฉ.ตามคำสั่งศาลจึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนผู้รับพินัยกรรมป.ตายขณะที่ยังไม่ได้แบ่งทรัพย์มรดกจำเลยเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของป.ตามคำสั่งศาลโดยระบุรายการทรัพย์สินต่างๆของป.ไว้เป็นอย่างเดียวกับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของฉ.จึงถือว่าจำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของฉ.สืบต่อจากป.และตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวด้วยมิใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของป.แต่ประการเดียวดังนี้เมื่อโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิตามพินัยกรรมของฉ.ด้วยผู้หนึ่งได้ทวงถามจำเลยให้แบ่งปันทรัพย์มรดกแล้วจำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์จึงถูกโต้แย้งโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย พินัยกรรมข้อ4ระบุว่าป.ผู้เดียวมีสิทธิในทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรมแต่ให้บุตรคนอื่นๆถือประโยชน์ได้บ้างและเมื่อป.ถึงแก่กรรมลงให้จัดการแบ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้เว้นแต่ข้อ4.10ให้จัดการทันทีและความในข้อต่อๆไปกล่าวถึงการยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นๆแต่ละคนไว้อย่างละเอียดรวมทั้งการยกให้แก่ป.ด้วยและความในข้อ4.10กล่าวถึงการแบ่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลต่างๆไว้ยกเว้นป.ดังนี้หากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ป.แต่ผู้เดียวก็ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความดังกล่าวซ้ำอีกพินัยกรรมดังกล่าวตีความได้ว่าเมื่อป.ถึงแก่กรรมลงจึงให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาททั้งหลายระหว่างที่ป.ยังมีชีวิตอยู่ให้ทรัพย์มรดกยังคงรวมกันอยู่เท่านั้นหาใช่มีความหมายเลยไปถึงขนาดที่ว่าให้ทรัพย์มรดกทั้งหมดตกได้แก่ป.แต่ผู้เดียวไม่ โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม2รายการแต่ทรัพย์2รายการนี้ไม่ปรากฏในบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องขอจัดการมรดกของจำเลยและจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าไม่ใช่เป็นของผู้ทำพินัยกรรมดังนี้ปัญหาว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นมรดกโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ. ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มิใช่ตัวเงินความรับผิดของจำเลยมีเพียงหนี้ที่จะต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่มิใช่หนี้เงินจำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า ศาล มี คำสั่ง ตั้ง นาง ประยงค์ เป็น ผู้จัดการมรดกของ นาย ฉลาด หลังจาก ศาล มี คำสั่ง ดังกล่าว แล้ว นาง ประยงค์ ได้ถึงแก่ ความตาย ขณะ ที่ ยัง จัดการ มรดก ไม่ เสร็จ ต่อมา ศาล มี คำสั่งตั้ง จำเลย เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาง ประยงค์ จำเลย ใน ฐานะผู้จัดการมรดก ของ นาง ประยงค์ ซึ่ง รับ โอน สิทธิ และ สวม สิทธิการ จัดการ มรดก จาก นาง ประยงค์ ผู้จัดการ มรดก คน เดิม และ ใน ฐานะส่วนตัว ก็ มิได้ จัดการ มรดก ตาม หน้าที่ เพราะ ตาม พินัยกรรม ของนาย ฉลาด โจทก์ ได้ รับ ทรัพย์สิน ต่างๆ รวม เป็น เงิน ราว 2,000,000บาท โจทก์ ขอให้ จำเลย แบ่งปัน มรดก แล้ว จำเลย เพิกเฉย ขอให้ จำเลยแบ่งปัน มรดก พร้อมด้วย ดอกเบี้ย นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระเสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย มี ฐานะ เพียง ผู้จัดการมรดก ของ นาง ประยงค์มิได้ รับ โอน สิทธิ หรือ สวม สิทธิ การ จัดการ มรดก จาก นาง ประยงค์โจทก์ มิใช่ ทายาท ของ นาง ประยงค์ จึง ไม่ มี ส่วน ใน ทรัพย์มรดก ของนาง ประยงค์ ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง ทรัพย์สิน ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน พินัยกรรมมี แต่ ชื่อ นาง ประยงค์ เป็น ผู้ ถือ กรรมสิทธิ์ ทั้ง สินสมรส ระหว่างนาย ฉลาด และ นาง ประยงค์ ก็ ยัง มิได้ แบ่งแยก จาก กัน พินัยกรรม ที่ระบุ ว่า ยก ทรัพย์สิน ให้ โจทก์ ไม่ มี ผล บังคับ และ ตาม พินัยกรรมข้อ 4 ระบุ ว่า นาง ประยงค์ ผู้เดียว มี สิทธิ ใน ทรัพย์สิน ของผู้ ทำ พินัยกรรม จึง ตัด ทายาท อื่น ทั้งหมด มิให้ รับ มรดก ขอ ให้ยกฟ้อง โจทก์
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย แบ่ง ทรัพย์มรดก ตาม พินัยกรรม จำนวน2,000,000 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ นาง ประยงค์ ร้องขอ จัดการมรดก ของ นาย ฉลาดได้ ระบุ บัญชี ทรัพย์ ของ นาย ฉลาด ท้าย คำร้อง เกือบ ทั้งหมด ตรงกับทรัพย์สิน ที่ นาย ฉลาด ระบุ ไว้ ใน พินัยกรรม อัน มี ทรัพย์สิน ตามรายการ ที่ โจทก์ ฟ้อง ขอ แบ่ง รวม อยู่ ด้วย ครั้น เมื่อ จำเลย ร้องขอจัดการ มรดก ของ นาง ประยงค์ ใน บัญชี ท้าย คำร้อง ก็ คง ระบุ ทรัพย์สินของ นาง ประยงค์ ไว้ ตรงกัน กับ บัญชี ทรัพย์ ที่ นาง ประยงค์ ยื่น ไว้ชั้น ขอ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย ฉลาด เป็น ส่วนใหญ่ และ จำเลยมิได้ ต่อสู้ เลย ว่า ทรัพย์สิน ดังกล่าว มิได้ มี อยู่ เมื่อนาง ประยงค์ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย ฉลาด จึง เป็น ผู้ ครอบครองทรัพย์มรดก ไว้ แทน ผู้รับ พินัยกรรม ต่อมา นาง ประยงค์ ตาย ขณะ ที่ยัง ไม่ ได้ แบ่ง ทรัพย์มรดก ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน พินัยกรรม ดังกล่าวและ จำเลย เข้า เป็น ผู้จัดการมรดก นาง ประยงค์ โดย ระบุ รายการทรัพย์สิน ต่างๆ ของ นาง ประยงค์ ไว้ อย่างเดียว กับ ทรัพย์มรดก ตามพินัยกรรม ของ นาย ฉลาด และ ศาล ได้ ตั้ง ให้ จำเลย เป็น ผู้จัดการมรดกของ นาง ประยงค์ แล้ว จึง ถือ ว่า จำเลย ครอบครอง ทรัพย์มรดก ของนาย ฉลาด สืบต่อ จาก นาง ประยงค์ เมื่อ ปรากฏ ข้อความ ตาม พินัยกรรมดังกล่าว ถึง โจทก์ ว่า เป็น ทายาท มี สิทธิ ตาม พินัยกรรม ของ นาย ฉลาดด้วย ผู้หนึ่ง และ ตาม คำฟ้อง แสดงว่า โจทก์ ฟ้อง จำเลย ใน ฐานะ ส่วนตัวด้วย มิใช่ ฟ้อง ใน ฐานะ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาง ประยงค์ แต่ประการเดียว โจทก์ ได้ ทวงถาม จำเลย ซึ่ง เป็น ผู้ ครอบครอง ทรัพย์มรดกของ นาย ฉลาด ให้ แบ่งปัน มรดก ตาม สิทธิ ของ โจทก์ จำเลย ปฏิเสธสิทธิ ของ โจทก์ ถูก โต้แย้ง แล้ว โจทก์ จึง มี อำนาจ ฟ้อง จำเลย
ที่ ข้อ 4 แห่ง พินัยกรรม ระบุ ว่า ‘นาง ประยงค์ ผู้เดียว มี สิทธิใน ทรัพย์สิน ของ ข้าพเจ้า ถึงแก่กรรม แล้ว แต่ ให้ บุตร คนอื่นๆถือ ประโยชน์ ได้ บ้าง และ เมื่อ นาง ประยงค์ ถึงแก่กรรม ลง ให้ จัดแบ่งทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ ข้อ 4.10 ให้ จัดการ ทันที’ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ว่า นาง ประยงค์ หิรัญศิริ ผู้เดียว เป็น ผู้รับ พินัยกรรมและ กรณี ต้อง ด้วย บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1707 นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า ผู้ทำ พินัยกรรม เขียน วกวน สับสน ไป บ้างแต่ ไม่ ถึง ขนาด ที่ ศาลอุทธรณ์ เข้าใจ เพราะ ข้อความ ตอนท้าย ระบุว่า ‘เมื่อ นาง ประยงค์ ถึงแก่กรรม ลง ให้ จัด แบ่ง ทรัพย์สินดังต่อไปนี้………’ มี ความหมาย ว่า ให้ แบ่ง ทรัพย์สิน เมื่อนาง ประยงค์ ตาย แล้ว มิใช่ ให้ นาย ประยงค์ แบ่ง ทรัพย์สิน ที่ ยกให้โดย พินัยกรรม ให้ แก่ บุคคล อื่น ขณะ ตน มี ชีวิต เนื่องจาก เป็นการ พ้น วิสัย ที่ นาง ประยงค์ จะ เป็น ผู้ แบ่ง ทรัพย์สิน เอง เมื่อตน ตาย ไป แล้ว ได้ และ ความ ใน ข้อ ต่อๆ ไป แห่ง พินัยกรรม กล่าวถึงการ ยก ทรัพย์สิน ให้ บุคคล อื่นๆ แต่ ละ คน ไว้ อย่าง ละเอียด รวมทั้งการ ยกให้ แก่ นาง ประยงค์ หิรัญศิริ ด้วย เช่น ข้อ 4.6, 4.8, 4.16ระบุ ชัด ว่า ให้ ทรัพย์สิน ใน ข้อ ต่างๆ เหล่านั้น แก่ นาง ประยงค์หิรัญศิริ หาก ผู้ ทำ พินัยกรรม ประสงค์ จะ ยก ทรัพย์สิน ให้นาง ประยงค์ หิรัญศิริ ผู้เดียว ก็ ไม่ จำเป็น ต้อง ระบุ ยืนยันข้อความ ดังกล่าว ซ้ำ อีก โดยเฉพาะ ข้อความ ท้ายสุด ของ ข้อ 4 ที่ว่า’ให้ จัดแบ่ง ทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ ข้อ 4.10 ให้ จัดการ ทันที’ ซึ่ง ความ ใน ข้อ 4.10 นี้ ก็ กล่าวถึง การ แบ่ง ทรัพย์สิน ให้ แก่บุคคล ต่างๆ ไว้ ยกเว้น นาง ประยงค์ หิรัญศิริ หาก ผู้ ทำ พินัยกรรมประสงค์ จะ ยก ทรัพย์สิน ให้ แก่ นาง ประยงค์ หิรัญศิริ ผู้เดียวก็ ไม่ จำเป็น ต้อง ระบุ ข้อความ ดังกล่าว ไว้ ข้อความ ตาม ข้อ 4.10กลับ สนับสนุน ข้อความ ใน ข้อ 4 ที่ว่า เมื่อ นาง ประยงค์ หิรัญศิริถึงแก่กรรม ลง จึง ให้ มี การ แบ่ง ทรัพย์มรดก ระหว่าง ทายาท ทั้งหลายระหว่าง ที่ นาย ประยงค์ หิรัญศิริ ยัง มี ชีวิต อยู่ ให้ ทรัพย์มรดกยัง คง รวมกัน อยู่ เท่านั้น หา ใช่ มี ความหมาย เลย ไป ถึง ขนาด ที่ว่า ให้ ทรัพย์มรดก ทั้งหมด ตก ได้ แก่ นาง ประยงค์ หิรัญศิริ ผู้เดียวและ นาง ประยงค์ หิรัญศิริ จะ เป็น ผู้แบ่ง ให้ แก่ ทายาท ดังที่ ศาลอุทธรณ์ เข้าใจ ไม่ พินัยกรรม รายนี้ จึง มี ผล ใช้ บังคับ ได้ตาม กฎหมาย
สำหรับ เงินสด ใน ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (ตาม พินัยกรรม ข้อ 4.23)และ เงิน ที่ ขาย ม้าแข่ง กับ อุปกรณ์ (ตาม พินัยกรรม ข้อ 4.24) ซึ่งระบุ ให้ โจทก์ มี สิทธิ ได้ รับ เงิน ส่วนแบ่ง ด้วยนั้น ทั้ง สองรายการ นี้ ไม่ ปรากฏ ตาม บัญชี ทรัพย์ ท้าย คำร้อง ขอ จัดการ มรดก ของนาง ประยงค์ หิรัญศิริ และ ของ จำเลย จำเลย ให้การ ต่อสู้ มา แต่แรกว่า ทรัพย์สิน ตาม พินัยกรรม ไม่ ใช่ เป็น กรรมสิทธิ์ ของ ผู้ทำพินัยกรรม เท่ากับ โต้แย้ง กรรมสิทธิ์ ตาม พินัยกรรม ข้อ 4.23 และ ข้อ 4.24 แล้ว ปัญหา ว่า ทรัพย์สิน ดังกล่าว เป็น ทรัพย์มรดก หรือไม่เมื่อ โจทก์ อ้างว่า เป็น ทรัพย์มรดก โจทก์ ย่อม มี หน้าที่ นำสืบ ให้สม ตาม คำฟ้อง
ที่ โจทก์ ขอ ดอกเบี้ย สำหรับ จำนวน เงิน ที่ ประมาณ ราคา ทรัพย์มรดกที่ ตน มี สิทธิ ได้ รับ มา ด้วยนั้น เห็นว่า คดีนี้ โจทก์ ฟ้อง ขอแบ่ง มรดก ศาล พิพากษา ให้ จำเลย แบ่ง ให้ แก่ โจทก์ อัน มรดก เหล่านั้นเป็น อสังหาริมทรัพย์ และ สังหาริมทรัพย์ ประเภท มิใช่ ตัวเงินความ รับผิด ของ จำเลย มี เพียง หนี้ ที่ จะ ต้อง แบ่ง ทรัพย์มรดกที่ มิใช่ หนี้เงิน จำเลย จึง ไม่ ต้อง รับผิด เสีย ดอกเบี้ย ให้ แก่โจทก์
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย แบ่ง บ้าน และ ที่ดิน โฉนด ตาม ฟ้องบางส่วน แก่ โจทก์

Share