แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
สภาพของคลองสาธารณะซึ่งติดกับที่ดินของโจทก์แม้จะเป็นคลองสาธารณะก็ถือไม่ได้ว่าเป็นทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349เพราะในฤดูฝนน้ำไหลเชี่ยวใช้เรือพายขึ้นไม่ได้เดินผ่านไม่ได้ฤดูแล้งน้ำก็ตื้นเขินใช้เรือไม่ได้ไม่มีประชาชนใช้สัญจรไปมาเป็นเวลาถึง20ปีแล้วที่ดินของโจทก์จึงตกอยู่ในที่ล้อมไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ย่อมมีสิทธิขอผ่านทางพิพาทในที่ดินของจำเลยซึ่งปิดล้อมและใกล้ทางสาธารณะที่สุดทางหนึ่งได้เนื่องจากเคยเป็นทางที่โจทก์เคยผ่านและเจ้าของที่ดินแปลงซึ่งปิดล้อมอื่นไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านต่อไปอีก การที่โจทก์มิได้เสนอค่าทดแทนในการใช้ทางพิพาทมาด้วยจำเลยมิได้ให้การโต้แย้งให้เป็นประเด็นขึ้นมาในศาลชั้นต้นทั้งไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยจำเลยชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก.(ที่มา-เนติฯ)
ย่อยาว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ พิพากษา กลับ เป็น ว่า ให้จำเลย รื้อถอน รั้ว และ สิ่งปิดกั้น กีดขวาง ออก ไป จาก ทาง พิพาท ตามแผนที่ พิพาท ห้าม จำเลย และ บริวาร ขัดขวาง การ ใช้ ทาง พิพาท ของโจทก์ และ บริวาร หาก จำเลย ฝ่าฝืน ไม่ รื้อ ให้ โจทก์ มี อำนาจรื้อถอน รั้ว สิ่ง ปิดกั้น กีดขวาง ใน ทาง พิพาท และ ห้าม จำเลย และบริวาร ขัดขวาง จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ‘ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ในแผนที่ กลาง และ ไม่ โต้เถียง กัน ใน ชั้นนี้ ฟัง ได้ ว่า ที่ดิน ของโจทก์ ตก อยู่ ใน ที่ ล้อม ไม่ มี ทาง ออก สู่ ทาง สาธารณะ ได้เว้นแต่ ทาง ด้าน ทิศตะวันตก กับ ที่ดิน อีก แปลง หนึ่ง ของ โจทก์และ ที่ดิน แปลงนี้ ติด กับ คลอง ท่าดี ซึ่ง เป็น คลอง สาธารณะ ส่วนที่ดิน จำเลย อยู่ ทาง เหนือ ของ ที่ดิน โจทก์ และ ติด กับ ทาง สาธารณะทาง พิพาท อยู่ ใน ที่ดิน ของ จำเลย ที่ อาจ ใช้ เป็น ทาง จาก ที่ดินของ โจทก์ ไป ออก สู่ ทาง สาธารณะ ได้ ใกล้ ที่สุด ทาง หนึ่ง ปัญหาวินิจฉัย ใน ชั้นนี้ คง มี เพียงว่า ทาง พิพาท เป็น ทาง จำเป็น หรือไม่เท่านั้น ส่วน ทาง นั้น จะ ตก อยู่ ใน ภาระ จำยอม ตาม ที่ โจทก์ แก้ฎีกา หรือไม่ โจทก์ มิได้ ฎีกา ขึ้น มา ศาลฎีกา ไม่ รับ วินิจฉัย ให้ใน ปัญหา ดังกล่าว โจทก์ นำสืบ ว่า คลอง ท่าดี มี ตลิ่ง สอง ข้าง สูงประมาณ 2 วา ต้นน้ำ มา จาก ภูเขา เป็น คลอง ที่ น้ำ ไหลลง ทางเดียวไม่ ไหล ขึ้น โจทก์ ใช้ น้ำ ใน คลอง ด้วยการ พังทลาย ดิน ริม ตลิ่งให้ ลาดต่ำ ไม่ มี ประชาชน ใช้ เรือ สัญจร ไป มา เพราะ น้ำ ตื้น เขินตั้งแต่ เดือน 3 ไป เป็น เวลา 7 เดือน ฤดูฝน ซึ่ง มี ประมาณ 5 เดือนน้ำ จะ ท่วม ไหลเชี่ยว มาก นับแต่ โจทก์ อยู่ ใน ที่ดิน ของ โจทก์ เป็นเวลา 33 ปี ไม่ เคย ใช้ เรือ ไป มา ใน คลอง ท่าดี เลย เคย ใช้ แต่ทาง พิพาท ไป ออก สู่ ทาง สาธารณะ โดย เป็น ทั้ง ทางเดิน และ ทางรถยนต์บรรทุก มะพร้าว ยางพารา ต่อมา ประมาณ พ.ศ. 2517 ทาง ราชการ ได้ สร้างบ่อน้ำ สาธารณะ บริเวณ ปากทาง เข้า ทาง พิพาท ทำ ให้ โจทก์ ไม่ สามารถนำ รถยนต์ ผ่าน ทาง พิพาท แต่ โจทก์ ยัง ได้ หาบ มะพร้าว ยางพาราผ่าน ทาง พิพาท ไป ขึ้น รถ ที่ ปากทาง เดิม ที่ดิน ซึ่ง เป็น ทาง พิพาทเป็น ของ นาย ลบ และ โจทก์ ใช้ มา ตั้งแต่ นาย ลบ มี ชีวิต อยู่จำเลย เพิ่ง ปิดกั้น เมื่อ พ.ศ. 2522 ภายหลัง โจทก์ มี เรื่อง กับนาย ลบ ซึ่ง โจทก์ ก็ จะ ฟ้อง จำเลย แต่ พอดี นาย วินัย ให้ อาศัยทางเดิน ไป ผ่าน ที่ดิน นาย พุ่ม ออก สู่ ทาง สาธารณะ เสียก่อน โจทก์จึง ไม่ ได้ ฟ้อง ต่อมา วันที่ 7 มิถุนายน 2525 นาย กำวน บุตร นาย พุ่มมี เรื่อง กับ บุตรสาว โจทก์ นาย กำวน ได้ ปิดทาง ดังกล่าว ทำให้โจทก์ ไม่ มี ทางออก สู่ ทาง สาธารณะ จึง ต้อง ฟ้อง คดีนี้ โดย ก่อนฟ้อง ได้ ร้องเรียน นายอำเภอ เพื่อ เรียก จำเลย ไป เปรียบเทียบ แล้วจำเลย ไม่ ยินยอม
จำเลย นำสืบ ว่า โจทก์ เข้า ออก สู่ ทาง สาธารณะ ได้ 5 ทาง คือทางแรก ทางทิศเหนือ ผ่าน บ้าน นาง พร้อม ทาง ที่ สอง ผ่าน บ้าน จำเลยออก ทาง บ้าน นาง พร้อม ทาง ที่ สาม ผ่าน บ้าน นาย อ้วน ทาง ที่ สี่ผ่าน บ้าน นาย วินัย และ นาย พุ่ม และ ทาง ที่ ห้า ทาง คลอง ท่าดีโจทก์ มี เรื่อง กับ นาย ลบ พ.ศ. 2516 นาย ลบ จึง ปิดทาง ที่ ผ่าน บ้านจำเลย โจทก์ ก็ ใช้ ทาง ผ่าน บ้าน นาย วินัย บ้าน นาง พร้อม และ บ้านนาย อ้วน ต่อมา พ.ศ. 2520 นาย ลบ ซื้อ ที่ดิน นาง พร้อม ให้ จำเลยโจทก์ จึง เลิก เดิน ผ่าน บ้าน นาง พร้อม คง เดิน ผ่าน บ้าน นาย วินัยทาง เดียว และ เพิ่ง เลิก เดิน เมื่อ พ.ศ. 2525 โจทก์ จึง มา ฟ้องคดีนี้ โจทก์ ยัง มี ทาง ออก สู่ ทาง สาธารณะ อีก คือ ทาง คลอง ท่าดี
ปัญหา วินิจฉัย ว่า ทาง พิพาท เป็น ทาง จำเป็น หรือไม่ พิเคราะห์แล้ว นอกจาก โจทก์ และ พยาน โจทก์ จะ เบิกความ สอดคล้อง ต้องกัน ว่าคลอง ท่าดี ฤดู ฝน น้ำ จะ ท่วม ฝั่ง ไหลเชี่ยว มาก ฤดูแล้ง ก็ แห้งติด กับ คลอง ไม่ มี ประชาชน ใช้ สัญจร ไป มา เป็น คลอง ที่ น้ำ ไหลลง ทาง เดียว โจทก์ ไม่ เคย ใช้ เรือ ไป มา ใน คลอง ท่าดี เลย แล้วแม้ จำเลย และ พยาน จำเลย ก็ ยอมรับ ว่า น้ำ ใน คลอง ดังกล่าว ไหลลง ทางเดียว ฤดูฝน พาย เรือ ขึ้น ไม่ ได้ พาย เรือ ลง ได้ ฤดูแล้งน้ำ แห้ง และ ที่ ลึก ที่สุด ตอน น้ำแห้ง สูง ประมาณ 1 ฟุต เดี๋ยวนี้ไม่ มี เรือ ใช้ ใน คลอง แล้ว โดย ไม่ ใช้ เรือ มา ประมาณ 20 ปี มีแต่เรือ บรรทุก ทราย จำเลย คง อ้าง แต่ เพียง ว่า โจทก์ ใช้ เรือ ในฤดูแล้ง ได้ เท่านั้น และ การ เดิน ใน ฤดูแล้ง ก็ ต้อง ข้าม ไป ขึ้นอีก ฝั่ง หนึ่ง แล้ว จึง เดิน ไป สู่ ทาง สาธารณะ จึง เห็น ว่า สภาพของ ท่าดี ซึ่ง ติดกับ ที่ดิน ของ โจทก์ แม้ จะ เป็น คลอง สาธารณะที่ มี ไว้ เพื่อ ใช้ ประโยชน์ ร่วมกัน และ โจทก์ ได้ ใช้ ประโยชน์จาก น้ำ ใน คลอง ดังกล่าว ก็ตาม ก็ ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น ทาง สาธารณะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 เพราะ ใน ฤดูฝน น้ำ ไหลเชี่ยว ใช้ เรือ พาย ขึ้น ไม่ ได้ เดิน ผ่าน ไม่ ได้ ฤดูแล้ง น้ำ ก็ตื้น เขิน ใช้ เรือ ไม่ ได้ จึง ไม่ มี ประชาชน ใช้ สัญจร ไป มา เป็นเวลา ถึง 20 ปี แล้ว รูปคดี ฟัง ได้ ชัด ว่า ที่ดิน ของ โจทก์ ตก อยู่ใน ที่ ล้อม ไม่ มี ทาง ออก ถึง ทาง สาธารณะ ได้ จึง ย่อม มี สิทธิขอ ผ่าน ทาง พิพาท ซึ่ง อยู่ ใน ที่ดิน ซึ่ง ปิดล้อม และ ใกล้ ทางสาธารณะ ที่สุด ทาง หนึ่ง ได้ เนื่องจาก เคย เป็น ทาง ที่ โจทก์ เคยผ่าน ทั้ง เจ้าของ ที่ดิน แปลง ซึ่ง ปิดล้อม อื่น ก็ ไม่ ยินยอม ให้โจทก์ ใช้ ทางผ่าน ต่อไป อีก ส่วน ปัญหา เรื่อง ค่า ทดแทน ใน การ ใช้ทาง พิพาท ซึ่ง จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ มิได้ เสนอ มา ด้วย จึง ไม่ มีสิทธิ ขอ ให้ ศาล บังคับ จำเลย เปิดทาง ให้ โจทก์ นั้น เห็นว่า จำเลยมิได้ ให้การ โต้แย้ง ให้ เป็น ประเด็น ขึ้น มา ใน ศาลชั้นต้น ทั้งไม่ ใช่ ปัญหา ข้อกฎหมาย เกี่ยวด้วย ความ สงบเรียบร้อย ของ ประชาชนศาลฎีกา จึง ไม่ รับ วินิจฉัย ให้ จำเลย ชอบ ที่ จะ ไป ว่า กล่าว เอาแก่ โจทก์ เป็น อีก คดีหนึ่ง ต่างหาก คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ จำเลยอ้างอิง มา นั้น ข้อเท็จจริง ไม่ ตรง กับ คดี นี้ ฎีกา จำเลย ฟัง ไม่ขึ้น’
พิพากษายืน ค่า ทนายความ ชั้นฎีกา ให้ เป็น พับ.