แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
แม้โจทก์จะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถที่เช่าซื้อเพราะได้ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยครบถ้วนแล้วก็ตามแต่เมื่อสัญญาเช่าซื้อกำหนดให้จำเลยจัดการโอนทะเบียนรถให้แก่โจทก์ด้วยการที่จำเลยไม่ได้ดำเนินการดังกล่าวจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้ เช่าซื้อ รถยนต์ จาก จำเลย โจทก์ ได้ ชำระเงิน ให้ จำเลย ครบถ้วน แล้ว แต่ จำเลย ไม่ โอน ทะเบียน ให้ ทำ ให้โจทก์ เสียหาย ขอ ให้ บังคับ จำเลย โอน ทะเบียน รถ แก่ โจทก์ หาก ไม่สามารถ ทำ ได้ ให้ จำเลย ใช้ ราคา ให้ โจทก์ เป็น เงิน 120,000 บาทและ รับ รถยนต์ คืน ไป จาก โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย โอน ทะเบียน ให้ โจทก์ ไม่ ได้ เนื่องจาก มีผู้ อายัด เพราะ มี ชื่อ ผู้อื่น ใน ทะเบียน ฉบับ ของ เจ้าพนักงาน 3ชื่อ จึง ไม่ ใช่ ความผิด ของ จำเลย
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย จัดการ โอน ทะเบียน รถ ให้ โจทก์ หากจัดการ โอน ไม่ ได้ ให้ จำเลย ใช้ เงิน 80,000 บาท แก่ โจทก์ และ ให้จำเลย รับ รถยนต์ คืน จาก โจทก์ จำเลย อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ฎีกา ใจความ ว่า จำเลย ไม่ เคย โอนรถ พิพาท ให้ แก่ ผู้ใด และ รถ พิพาท ตก เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ แล้ว การ ที่ จำเลย ไม่ สามารถ โอน ทะเบียน รถ พิพาท ให้ แก่ โจทก์ ได้ นั้นไม่ ได้ ทำ ให้ โจทก์ ไม่ ได้ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ รถ พิพาท เมื่อโจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ รถ พิพาท แล้ว โจทก์ จึง มี สิทธิ ที่จะ เรียกร้อง เอา ทรัพย์สิน คืน หรือ เพิกถอน การ อายัด ของ บุคคลภายนอก ได้ จำเลย จึง ไม่ ใช่ เป็น ผู้ ผิด สัญญา นั้น เห็นว่า ตามสัญญา เช่าซื้อ ข้อ 8 ได้ กำหนด ให้ จำเลย จัดการ โอน ทะเบียน รถ พิพาทให้ แก่ โจทก์ เมื่อ โจทก์ ชำระ ค่าเช่าซื้อ ครบถ้วน แล้ว ดังนั้นเหตุผล ตาม ฎีกา ของ จำเลย จึง ไม่ อาจ เปลี่ยนแปลง ข้อกำหนด ใน สัญญาดังกล่าว ให้ เป็น อื่น ได้ เมื่อ จำเลย ไม่ ได้ โอน ทะเบียน รถ พิพาทให้ แก่ โจทก์ จำเลย จึง เป็น ฝ่าย ผิด สัญญา
พิพากษา ยืน