คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เดิมจำเลยที่1กับจำเลยที่3ต่างเคยยื่นฟ้องโจทก์ซึ่งคดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่1และที่3มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดพิพาทเนื้อที่เท่าใดส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมไปยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินโฉนดที่พิพาทออกเป็นส่วนสัดจำเลยที่1ที่2ให้การว่าไม่เคยขัดขวางการยื่นคำร้องขอแบ่งแยกของโจทก์ส่วนจำเลยที่3และที่6มิได้ให้การในข้อนี้และจำเลยที่4ที่5ขาดนัดยื่นคำให้การประเด็นข้อพิพาทมีว่าโจทก์มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งหกไปยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินเป็นส่วนสัดได้หรือไม่แม้โจทก์กับจำเลยที่1และที่3จะเป็นคู่ความรายเดียวกันและจำเลยที่2สืบสิทธิจากจำเลยที่3ทั้งที่ดินโฉนดที่พิพาทจะเป็นแปลงเดียวกันแต่โจทก์ในแต่ละคดีต่างฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินตามส่วนที่ตนครอบครองเป็นคนละส่วนกันซึ่งการที่ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์ในแต่ละคดีจะได้ส่วนแบ่งส่วนใดเนื้อที่เท่าใดนั้นจะต้องพิจารณาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์แต่ละคดีเป็นส่วนๆแยกกันไปหาใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำขอในคดีก่อนกับคดีนี้จึงต่างกันฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ จำเลย ทั้ง หก และ นาง เจียน เหมือนด้วง ถือ กรรมสิทธิ์ร่วม กัน ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 3645 ตำบล บางคูรัด อำเภอ บางบัวทอง จังหวัด นนทบุรี เนื้อที่ 63 ไร่ 20 ตารางวา เดิม นาง นวม จันคล้าย ถือ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน เฉพาะ ส่วน ของ ตน เนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 5 ตารางวา ต่อมา โจทก์ ได้รับ ที่ดิน มรดกของ นาง นวม ตาม พินัยกรรม 10 ไร่ และ รับ ใน ฐานะ ทายาทโดยธรรม อีก 1 งาน 5 ตารางวา โจทก์ ประสงค์ จะ จดทะเบียน แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ จึง แจ้ง ให้ จำเลย ทั้ง หก ไป ร่วม ยื่น คำร้องขอ รังวัด แบ่งแยกต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ แต่ จำเลย ทั้ง หก เพิกเฉย ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง หก ไป ยื่น คำร้องขอ รังวัด และ จดทะเบียน แบ่งแยก ที่ดินโฉนด ดังกล่าว โดย ให้ โจทก์ ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน เนื้อที่ 10 ไร่ 1 งาน5 ตารางวา เป็น ส่วนสัด แน่นอน หาก จำเลย ทั้ง หก ไม่ปฏิบัติ ตาม ก็ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ถ้า ไม่สามารถ แบ่ง ได้ก็ ให้ ขาย โดย ประมูล ราคา กันเอง หรือ ขายทอดตลาด แล้ว เอา เงินที่ ขาย ได้ มา แบ่ง กัน ตาม สัดส่วน ของ แต่ละ คน
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 6 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 เคยยื่นฟ้อง โจทก์ และ จำเลย ที่ 3 เป็น คดีแพ่ง และ ศาล ได้ มี คำพิพากษาให้ แบ่งแยก ที่ดิน โฉนด ที่พิพาท แล้ว การ ที่ โจทก์ ฟ้อง ขอ แบ่งแยกเป็น คดี นี้ อีก จึง เป็น ฟ้องซ้ำ โจทก์ และ จำเลย ทุกคน ได้ แบ่งแยก การครอบครอง ที่ดิน กัน เป็น ส่วนสัด นาน แล้ว ฝ่าย จำเลย ไม่เคย ขัดขวางการ รังวัด แบ่งแยก ที่ดิน และ ไม่ได้ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 4 และ ที่ 5 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 4 ที่ 5 และ ที่ 6 ไป ยื่น คำขอจดทะเบียน แบ่งแยก ที่ดิน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หาก ไม่ปฏิบัติ ตามให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ให้ยก ฟ้องโจทก์สำหรับ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3
โจทก์ จำเลย ที่ 4 และ ที่ 6 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2และ ที่ 3 ไป ยื่น คำขอ จดทะเบียน แบ่งแยก ที่ดิน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา นอกจาก ที่ แก้คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 6 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4และ ที่ 6 ฎีกา ข้อ แรก ว่า โจทก์ ฟ้องคดี นี้ ซ้ำ กับ คดีแพ่ง หมายเลขแดงที่ 323/2527 ของ ศาลชั้นต้น ซึ่ง จำเลย ที่ 3 เป็น โจทก์ ฟ้องโจทก์คดี นี้ เป็น จำเลย และ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 934/2531 ของ ศาลชั้นต้นซึ่ง จำเลย ที่ 1 เป็น โจทก์ ฟ้องโจทก์ และ จำเลย ที่ 3 ใน คดี นี้ เป็น จำเลยเห็นว่า ใน คดี ดังกล่าว คู่กรณี ได้ พิพาท กัน เกี่ยวกับ การ แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ ที่ดิน ใน โฉนด ที่พิพาท และ ตกลง ประนีประนอม ยอมความ กันโดย คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 323/2527 โจทก์ ยอมรับ ว่า จำเลย ที่ 3มี กรรมสิทธิ์ เฉพาะ ส่วน ใน โฉนด ที่พิพาท 12 ไร่ ทาง ด้าน ทิศตะวันตกติดกับ ที่ดิน ของ โจทก์ และ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 934/2531 โจทก์และ จำเลย ที่ 3 กับ จำเลย ที่ 1 ตกลง ยก กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ใน โฉนดที่พิพาท ให้ จำเลย ที่ 1 จำนวน 6 งาน จำเลย ที่ 3 จำนวน 4 ไร่คดี ทั้ง สอง สำนวน ดังกล่าว มี ประเด็น ข้อพิพาท ว่า จำเลย ที่ 1 และที่ 3 มี กรรมสิทธิ์รวม ใน ที่ดิน โฉนด ที่พิพาท เนื้อที่ เท่าใด ส่วน คดีนี้ โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน โฉนด ที่พิพาท โดย ครอบครองเป็น ส่วนสัด แน่นอน จำเลย ทั้ง หก ไม่ยอม ไป ยื่น คำร้องขอ ต่อ เจ้าพนักงานที่ดิน เพื่อ แบ่งแยก ที่ดิน ส่วน ที่ เป็น ของ โจทก์ ให้ โจทก์ ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง หก ใน ฐานะ ที่ เป็น เจ้าของรวม ไป ยื่น คำร้องขอ รังวัดแบ่งแยก ที่ดิน โฉนด ที่พิพาท ออก เป็น ส่วนสัด ของ โจทก์ เนื้อที่ 10 ไร่1 งาน 5 ตารางวา จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ให้การ ว่า ไม่เคย ขัดขวาง การ ยื่นคำร้องขอ แบ่งแยก ของ โจทก์ ส่วน จำเลย ที่ 3 และ ที่ 6 มิได้ ให้การ ในข้อ นี้ และ จำเลย ที่ 4 ที่ 5 ขาดนัด ยื่นคำให้การ ประเด็น ข้อพิพาทใน คดี นี้ จึง มี ว่า โจทก์ มีสิทธิ ขอให้ ศาล บังคับ ให้ จำเลย ทั้ง หก ไป ยื่นคำร้องขอ รังวัด แบ่งแยก ที่ดิน โฉนด ที่พิพาท เป็น ส่วนสัด ให้ โจทก์ ตามที่ ฟ้อง หรือไม่ แม้ โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 จะ เป็น คู่ความราย เดียว กัน และ จำเลย ที่ 2 สืบ สิทธิ จาก จำเลย ที่ 3 ทั้งที่ ดิน โฉนดที่พิพาท จะ เป็น แปลง เดียว กัน แต่ โจทก์ ใน แต่ละ คดี ต่าง ฟ้อง ขอ แบ่งแยกที่ดิน ตาม ส่วน ที่ ตน ครอบครอง เป็น คน ละ ส่วน กัน ซึ่ง การ ที่ ศาล จะวินิจฉัย ว่า โจทก์ ใน แต่ละ คดี จะ ได้ ส่วนแบ่ง ส่วน ใด เนื้อที่ เท่าใด นั้นจะ ต้อง พิจารณา ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา ของ โจทก์ แต่ละ คดีเป็น ส่วน ๆ แยก กัน ไป หาใช่ เป็น การ รื้อ ร้อง ฟ้อง กัน อีก โดย อาศัยเหตุ อย่างเดียว กัน ไม่ ประเด็น ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม คำขอ ใน คดี ก่อน กับคดี นี้ จึง ต่างกัน ฟ้องโจทก์ ไม่เป็น ฟ้องซ้ำ อัน จะ ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ฎีกา จำเลย ที่ 2 ที่ 3ที่ 4 และ ที่ 6 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share