แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดจำเลยที่3นำเงินจำนวนสองล้านบาทไปวางไว้กับโจทก์เป็นประกันการจำนองที่ดินเพื่อไถ่จำนองเอาโฉนดคืนไปและตกลงว่าถ้าจำเลยที่3แพ้คดีก็ยอมให้โจทก์นำเงินสองล้านบาทหักชำระหนี้ได้การวางเงินดังกล่าวจำเลยที่3มีความประสงค์เพียงขอเปลี่ยนหลักทรัพย์โฉนดที่ดินที่วางเป็นประกันหนี้โดยใช้เงินทดแทนมิใช่การวางเงินโดยยอมรับผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา136วรรคแรกและถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้ล่วงหน้าต่อมามีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสี่แพ้คดีจำเลยที่3จึงต้องร่วมรับผิดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จการที่จำเลยที่3คำนวณดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันวางเงินจึงไม่ถูกต้องแม้โจทก์จะได้รับประโยชน์จากเงินจำนวนสองล้านบาทดังกล่าวก็เป็นข้ออ้างที่จำเลยที่3คิดว่าเสียเปรียบจะนำมาหักล้างการชำระหนี้ตามกฎหมายไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ย่อยาว
คดีนี้ สืบเนื่อง มาจาก ‘…ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1ใช้ เงิน โจทก์ จำนวน 13,149,765.56 บาท พร้อมกับ ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี ของ ต้นเงิน ดังกล่าว นับจาก วัน ฟ้อง ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ สำหรับ จำเลย ที่ 3 เป็น หนี้ จำนอง ที่ บังคับได้ จึง ให้ ร่วม รับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน ให้ โจทก์ จำนวนสองล้านบาท พร้อมกับ ดอกเบี้ย ใน อัตรา และ ของ ต้นเงิน ดังกล่าวนับ จาก วันฟ้อง ไป จนกว่า จำเลย ที่ 3 จะ ชำระ เสร็จ หาก จำเลย ที่3 ไม่ ชำระ ให้ บังคับ จำนอง เอา ทรัพย์ ออก ขาย ทอดตลาด ชำระ หนี้ให้ โจทก์ ถ้า ไม่ พอ ให้ บังคับคดี เอา กับ ทรัพย์ อื่น ของ จำเลยที่ 3 จน ครบ และ หาก ได้ มี การ ไถ่ จำนอง แล้ว ก็ ให้ โจทก์ บังคับเอา กับ เงิน จำนวน สองล้านบาท ที่ ฝาก ไว้ กับ ธนาคาร โจทก์ ได้….และ ให้ จำเลย ทั้ง สี่ คน ร่วมกัน ใช้ ค่า ฤชาธรรมเนียม (ค่า ขึ้นศาลคิด เท่า ที่ จำเลย แต่ ละ คน ต้อง รับผิด โดย กำหนด ค่า ทนายความ40,000 บาท แทน โจทก์)….’
ศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา พิพากษายืน
จำเลย ที่ 3 ยื่น คำร้อง ว่า ‘…จำเลย ได้ นำ เงิน สองล้านบาท ชำระให้ แก่ โจทก์ ไว้ เป็น การ ชำระ หนี้ ล่วงหน้า แล้ว ตั้งแต่ วันที่31 ตุลาคม 2518 เมื่อ นับจาก วันฟ้อง ถึง วัน ชำระหนี้ เป็น เวลา4 ปี 16 วัน อัตรา ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี ของ ต้นเงินสองล้านบาท เป็น ดอกเบี้ย 606,575.34 บาท จำเลย ได้ ติดต่อ ขอ ชำระดอกเบี้ย จำนวน 606,575.34 บาท แต่ โจทก์ ไม่ ยอม โดย อ้าง ว่า จะต้อง คิด ดอกเบี้ย จาก วัน ฟ้อง ถึง วัน อ่าน คำพิพากษา ศาลฎีกาคือ วันที่ 11 มิถุนายน 2523 รวม เวลา 3,159 วัน เป็น ดอกเบี้ย1,298,219.18 บาท จำเลย ที่ 3 เห็น ว่า ไม่ ถูกต้อง เพราะ ตามคำพิพากษา ระบุ ไว้ ชัด ว่า ให้ จำเลย ที่ 3 ร่วม รับผิด กับ จำเลย ที่1 ชำระ เงิน ให้ โจทก์ จำนวน สองล้านบาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี ใน อัตรา และ ของ ต้นเงิน ดังกล่าว นับ จากวัน ฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ จำเลย ที่ 3 จึง นำ เงิน 606,575.34 บาท ซึ่ง เป็น ดอกเบี้ย วาง ไว้ ต่อ ศาล เพื่อ ชำระ ให้ โจทก์ ตามคำพิพากษา ขอ ให้ ศาลชั้นต้น รับ เงิน จำนวน ดังกล่าว ไว้ เพื่อชำระ ให้ โจทก์ สำหรับ ต้น เงิน สอง ล้าน บาท นั้น จำเลย ที่ 3 ได้ชำระ ให้ โจทก์ ไป แล้ว…’โจทก์ ยื่น คำร้อง คัดค้าน ว่า ‘…ที่ จำเลย ที่ 3 นำ เงิน จำนวน606,575.34 บาท ชำระ หนี้ ตาม คำพิพากษา ให้ แก่ โจทก์ เป็น การไม่ ถูกต้อง เพราะ จำเลย ที่ 3 ได้ นำ เงิน จำนวน สองล้านบาท ไป วางไว้ กับ โจทก์ เป็น ประกัน การ จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 3593,3594 ตำบล โรงเลี้ยงเด็ก อำเภอ ป้อมปราบ กรุงเทพมหานคร เพื่อ ไถ่ถอนจำนอง เอา โฉนด คืน ไป และ ถ้า จำเลย ที่ 3 แพ้ คดี ก็ ยอม ให้ โจทก์นำ เงิน สองล้านบาท ชำระ หนี้ ได้ ทันที รวมทั้ง ค่า ฤชาธรรมเนียม และค่า ทนายความ แทน โจทก์ ด้วย ซึ่ง โจทก์ ยอมรับ ตาม ข้อเสนอ นี้ ตามรายงาน กระบวน พิจารณา ลง วันที่ 28 กรกฎาคม 2518 แล้ว จำเลย ได้ นำเงิน สองล้านบาท มอบให้ แก่ โจทก์ เมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2518 และได้ ดำเนินคดี ตลอด มา ใน ที่สุด ศาลชั้นต้น ได้ อ่าน คำพิพากษาศาลฎีกา เมื่อ วันที่ 11 มิถุนายน 2523 เมื่อ คำนวณ หนี้ ตาม คำพิพากษาแล้ว ปรากฏ ว่า ต้นเงิน สองล้านบาท ดอกเบี้ย ใน ต้นเงิน สองล้านบาทจาก วันฟ้อง ถึง วัน อ่าน คำพิพากษา ศาลฎีกา รวม 3,159 วัน เป็น เงินดอกเบี้ย 1,298,219.18 บาท รวม ต้นเงิน และ ดอกเบี้ย 3,298,219.18บาท จำเลย ที่ 3 จะ ต้อง นำเงิน สองล้านบาท ที่ วาง ไว้ กับ โจทก์ชำระ ดอกเบี้ย ที่ ค้าง ชำระ เสียก่อน เหลือ เท่าใด จึง ชำระ เงินต้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 เมื่อ นำ เงิน สองล้านบาทไป ชำระ ดอกเบี้ย 1,298,219.18 บาท แล้ว คง เหลือเงิน 701,780.82บาท นำ เงิน ที่ เหลือ จำนวน ดังกล่าว ชำระ เงินต้น สองล้านบาทจำเลย ที่ 3 จึง ยัง ค้าง ชำระ เงินต้น เป็น เงิน 1,298,219.18 บาทคิด ดอกเบี้ย จาก เงินต้น ที่ ค้าง ชำระ จำนวน ดังกล่าว นับแต่วัน อ่าน คำพิพากษา ศาลฎีกา ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2525 เป็น เวลา148 วัน เป็น ดอกเบี้ย ทั้งสิ้น 199,534.51 บาท รวม เป็น ยอดหนี้ทั้ง เงินต้น และ ดอกเบี้ย ที่ จำเลย ที่ 3 ค้าง ชำระ เป็น เงิน1,497,753.69 บาท และ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี ของเงินต้น 1,298,219.18 บาท นับ จาก วันที่ 30 มิถุนายน 2525 เป็นต้น ไปจนกว่า จำเลย ที่ 3 จะ ชำระ เสร็จ อีก จำนวน หนึ่ง ด้วย การ ที่ จำเลยที่ 3 นำเงน วาง ศาล เพื่อ ชำระ หนี้ ให้ แก่ โจทก์ เพียง 606,575.34บาท จึง เป็น การ เข้าใจผิด ของ จำเลย เอง ขอ ให้ ศาลชั้นต้น มี คำสั่งให้ จำเลย ที่ 3 ชำระหนี้ ให้ แก่ โจทก์ ให้ ครบถ้วน ตาม คำร้อง คัดคัดค้าน ของ โจทก์..’
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า ‘….ให้ จำเลย ที่ 3 ชำระ หนี้ จำนวนสองล้านบาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ เมื่อ คิด ดอกเบี้ย จาก วันฟ้อง ถึง วันที่ 11มิถุนายน 2523 ที่ ศาลชั้นต้น อ่าน คำพิพากษา ศาลฎีกา แล้ว ได้ดอกเบี้ย เท่าใด ให้ นำ ไป รวม กับ เงินต้น ใน วันที่ 11 มิถุนายน2523 ที่ โจทก์ นำ เงิน สองล้านบาท ชำระหนี้ ตาม คำพิพากษา เมื่อหัก ดอกเบี้ย ออกจาก เงิน จำนวน สองล้านบาท แล้ว เหลือ เท่าใด จึงหัก ชำระ ต้นเงิน ที่ ค้าง ชำระ เหลือ ต้นเงิน ค้าง ชำระ เท่าใด คิดดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันที่ 12 มิถุนายน 2523 จน ถึง วันที่ 2 กรกฎาคม2525 ซึ่ง เป็น วัน ที่ จำเลย ที่ 3 นำ เงิน มา วาง ศาล ได้ ดอกเบี้ยเท่าใด ให้ นำ ไป รวม กับ เงินต้น ที่ ค้าง ชำระ แล้ว นำ เงิน ที่จำเลย ที่ 3 วาง ศาล ชำระ ดอกเบี้ย แล้ว ชำระ ต้นเงิน เหลือ หนี้เงินต้น อีก เท่าใด ให้ จำเลย ที่ 3 รับผิด ต่อ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่ วันที่ 3 กรกฎาคม 2525เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระเสร็จ ให้ แก่ โจทก์…’
จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘….ตาม รายงาน กระบวน พิจารณา ของ ศาลชั้นต้นลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2518 นั้น มี ข้อความ ที่ จำเลย ที่ 3 รับ ว่าจะ นำ เงิน จำนวน สองล้านบาท ไป วาง ไว้ กับ โจทก์ เป็น ประกัน การจำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 3593 และ 3594 ตำบล โรงเลี้ยงเด็ก อำเภอป้อมปราบ กรุงเทพมหานคร เพื่อ เป็น การ ไถ่ จำนอง เอา โฉนด คืนไปและ ถ้า จำเลย ที่ 3 แพ้ คดี ก็ ยอม ให้ โจทก์ นำ เงิน สองล้านบาทชำระ หนี้ ได้ รวมทั้ง ค่า ฤชาธรรมเนียม และ ค่า ทนายความ แทน โจทก์ด้วย ดังนั้น เงิน จำนวน สองล้านบาท ที่ จำเลย ที่ 3 วางไว้ ให้โจทก์ จึง มิใช่ เป็น การ ชำระหนี้ เพื่อ ปลด จำนอง เพราะ ขณะนั้น คดียัง ไม่ ถึง ที่สุด การ วางเงิน ดังกล่าว จำเลย ที่ 3 มี ความ ประสงค์เพียง ขอ เปลี่ยน หลักทรัพย์ โฉนด ที่ดิน ที่ วาง เป็น ประกัน หนี้โดย ใช้ เงินสด แทน มิใช่ จำเลย ที่ 3 วาง เงิน โดย ยอมรับ ผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 136 วรรคแรก และ การ วาง เงินสองล้านบาท เพื่อ เปลี่ยน หลักทรัพย์ ดังกล่าว จึง ถือ ไม่ ได้ ว่าเป็น การ ชำระหนี้ ล่วงหน้า ที่ ไม่ ต้อง คิด ดอกเบี้ย เมื่อ คดีนี้ศาลฎีกา พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 3 ร่วม รับผิด กับ จำเลย ที่ 1ชำระ เงิน ให้ โจทก์ สองล้านบาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และ เมื่อ ศาลชั้นต้น อ่านคำพิพากษา ศาลฎีกา วันที่ 11 มิถุนายน 2523 จำเลย ที่ 3 จึง ต้อง ชำระดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี ใน ต้นเงิน สองล้านบาท นับแต่วันฟ้อง ที่ 15 ตุลาคม 2514 จน ถึง วันที่ 11 มิถุนายน 2523 แล้วนำ ดอกเบี้ย นี้ มา รวมกับ ต้นเงิน สองล้านบาท รวมเป็น ยอดเงิน ที่จำเลย ที่ 3 จะ ต้อง ชำระ ให้ โจทก์ ใน วันที่ 11 มิถุนายน 2523 ต่อจากนั้น จึง นำ เงิน สองล้านบาท ที่ จำเลย ที่ 3 มา วาง ไว้ หัก ชำระดอกเบี้ย เสียก่อน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ถ้า ยังมี เงิน เหลือ ก็ นำ เงิน เหลือ ไป หัก ชำระ เงินต้น เมื่อ หัก แล้วยัง ไม่ พอ ชำระ เงินต้น จำเลย ที่ 3 ก็ จะ ต้อง เสีย ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่ วันที่ 12 มิถุนายน 2523 ต่อไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ที่ จำเลย ที่ 3 ว่า จำเลย ที่ 3 ได้ นำ เงินดอกเบี้ย 606,575.34 บาท โดย คิด ดอกเบี้ย นับแต่ วันฟ้อง จน ถึงวัน นำ เงิน สองล้านบาท วาง โจทก์ และ ถือ ว่า ได้ ชำระ หนี้ โจทก์เสร็จสิ้น ครบถ้วน แล้ว นั้น จึง เป็น การ คิด ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ไม่ ถูกต้อง ตาม ที่ โจทก์ คัดค้าน สำหรับ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 3 ที่ว่า เงิน สองล้านบาท ที่ จำเลย ที่ 3 วาง ไว้ กับ โจทก์ โจทก์ เป็นธนาคาร ย่อม นำ เงิน ดังกล่าว ไป หา ประโยชน์ ตาม ธุรกิจ ของ โจทก์จะ ได้ ดอกเบี้ย ไม่ ต่ำกว่า อัตรา ร้อยละ 15 ต่อปี หาก จะ ให้ โจทก์คิด ดอกเบี้ย จาก จำเลย ที่ 3 ได้ อีก ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่งโจทก์ จะ ได้ ดอกเบี้ย สอง ทาง รวมกัน ไม่ น้อยกว่า ร้อยละ 22 ครึ่งต่อไป จึง ไม่ ควร เรียกร้อง ดอกเบี้ย จาก จำเลย ที่ 3 อีก นั้นก็ เห็น ว่า ถ้า จะ คิด อย่าง จำเลย ที่ 3 ฎีกา โจทก์ จะ ได้ ประโยชน์สอง ทาง จริง แต่ เนื่องจาก จำเลย ที่ 3 ต้องการ เอา โฉนด คืน จากโจทก์ โดย เอา เงิน สองล้านบาท เป็น ประกัน แทน อัน เป็น ความ ประสงค์ของ จำเลย ที่ 3 โดย ไม่ ได้ ตกลง กัน ไว้ ว่า ระหว่าง วาง เงิน นี้ไม่ ให้ คิด ดอกเบี้ย กัน ดังนั้น จำเลย ที่ 3 จะ นำ ข้ออ้าง ที่จำเลย ที่ 3 จะ นำ ข้ออ้าง ที่ จำเลย ที่ 3 คิดว่า เสียเปรียบ มาหักล้าง การ ชำระ หนี้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังกล่าว แล้วหา ได้ ไม่ ที่ ศาลล่าง ทั้งสอง พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 3 ชำระ เงินแก่ โจทก์ ที่ จำเลย ที่ 3 ยัง ชำระ ไม่ ครบ จึง ชอบ แล้ว….’
พิพากษายืน ให้ จำเลย ที่ 3 ใช้ ค่า ทนายความ ชั้นฎีกา 3,000 บาทแทน โจทก์