คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

คำร้องซึ่งอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลชั้นต้นที่ได้รับแต่ตั้งให้บังคับคดีแทนดำเนินการบังคับคดีโดยไม่ชอบนั้นผู้ร้องมีสิทธิยื่นต่อศาลที่ชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นได้. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่1/2529)

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มา จาก โจทก์ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 3 ทำ สัญญาประนีประนอม ยอมความ กัน ต่อหน้า ศาลแพ่ง ว่า จำเลย ยอม ชำระ เงิน จำนวน 5,381,142.37 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ ภายใน 3 เดือน หากผิดนัด ยอม ให้ โจทก์ ยึด ทรัพย์ จำนอง และ ทรัพย์สิน อื่น ของ จำเลยออก ขาย ทอดตลาด เอา เงิน ชำระ หนี้ แก่ โจทก์ ศาลแพ่ง พิพากษา คดีไป ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ นั้น ต่อมา จำเลย ผิด นัด โจทก์มี คำขอ ต่อ ศาล และ ศาลแพ่ง ออก หมาย บังคับ คดี ตั้ง เจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี จัดการ ยึด ทรัพย์ จำนอง และ ทรัพย์สิน อื่นของ จำเลย ผู้แทน โจทก์ ขอ นำ ยึด ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 3 ซึ่ง อยู่ใน เขต อำนาจ ของ ศาล จังหวัด สมุทรปราการ ศาลแพ่ง จึง มอบ ให้ศาลจังหวัด สมุทรปราการ บังคับคดี แทน เจ้าพนักงาน บังคับคดี ของศาลจังหวัด สมุทรปราการ ได้ ยึด ที่ดิน ดังกล่าว และ จัดการ ขายทอดตลาด ได้ ใน ราคา 6,100,000 บาท
จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 3 ยื่น คำร้อง ว่า ศาลจังหวัด สมุทรปราการมิได้ แจ้ง ให้ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 3 ทราบ วัน ขาย ทอดตลาดเป็น การ ขัด ต่อ บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ราคา ที่ ขาย ได้ ต่ำกว่า ความเป็น จริง ขอ ให้ พิจารณา ใหม่
ศาลแพ่ง สั่ง ว่า การ ร้อง ขอ ให้ เพิกถอน การ ขาย ทอดตลาด โดย อ้างเหตุ ว่า เป็น การ ไม่ชอบ นั้น ผู้ร้อง ชอบ ที่ จะ ไป ยื่น ต่อศาลจังหวัด สมุทรปราการ ซึ่ง เป็น ศาล ที่ ดำเนินการ ขาย ทอดตลาด แทนให้ ยก คำร้อง
จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ว่า คำร้อง ซึ่ง อ้าง ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดี ของ ศาลชั้นต้น ที่ ได้ รับ แต่งตั้ง ให้ บังคับ คดี แทนดำเนินการ บังคับ คดี โดย ไม่ ชอบ นั้น ผู้ร้อง มี สิทธิ ยื่น ต่อ ศาลที่ ชี้ขาด ตัดสิน คดี ใน ชั้นต้น ได้ หรือไม่ ปัญหา ดังกล่าว ศาลฎีกาได้ วินิจฉัย โดย มติ ที่ประชุมใหญ่ แล้ว เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 บัญญัติ ว่า ‘บทบัญญัติ ในสี่ มาตรา ก่อน นั้น ต้อง อยู่ ภายใน ข้อบังคับ ต่อไป นี้
(2) บรรดา คำฟ้อง และ คำขอ ที่ เสนอ เกี่ยวเนื่อง กับ การ บังคับ คดีตาม คำพิพากษา หรือ คำสั่ง ของ ศาล ซึ่ง บรรดา คำฟ้อง หรือ คำขอ นั้นจำต้อง มี คำวินิจฉัย ของ ศาล ก่อน ที่ การ บังคับคดี จะ ได้ ดำเนินไป ได้ โดย ครบถ้วน และ ถูกต้อง นั้น ให้ เสนอ ต่อ ศาล ที่ ระบุ ไว้ใน มาตรา 302’
มาตรา 302 วรรคแรก บัญญัติ ว่า ‘ศาล ที่ มี อำนาจ ออก หมาย บังคับคดีหรือ หมาย จับ ลูกหนี้ ตาม คำพิพากษา หรือ มี อำนาจ ทำ คำวินิจฉัยชี้ขาด ใน เรื่องใดๆ อัน เกี่ยว ด้วย การ บังคับ คดี ตาม คำพิพากษาหรือ คำสั่ง ซึ่ง ได้ เสนอ ต่อ ศาล ตาม บทบัญญัติ แห่ง ลักษณะ นี้คือ ศาล ที่ ได้ พิจารณา และ ชี้ขาด ตัดสิน คดี ใน ชั้นต้น’
คดี นี้ แม้ ศาล ที่ ได้ พิจารณา และ ชี้ขาด ตัดสิน ใน ชั้นต้น คือศาลแพ่ง ได้ ออกหมาย บังคับคดี ส่ง ไป ให้ ศาลจังหวัด สมุทรปราการบังคับคดี แทน แล้ว และ ศาลจังหวัด สมุทรปราการ ยัง ไม่ ได้ ส่ง ทรัพย์ที่ ยึด ได้ หรือ เงิน ที่ ได้ จาก การ ขาย ทรัพย์ นั้น ไป ให้ ศาลแพ่งผู้ร้อง จึง อาจ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาล จังหวัด สมุทรปราการ ซึ่ง เป็นศาลชั้นต้น ที่ ได้ รับ แต่งตั้ง ให้ บังคับ คดี แทน ก็ ได้ ตาม นัยคำพิพากษาฎีกา ที่ 1990/2515 ระหว่าง นาง สมจิตต์ ทองมังกรฯ โจทก์นาง ปี้ฉิ้ว ทองมังกร จำเลย นาย ดำรง โลหกุล ผู้สู้ ราคา สูงสุดแต่ ผู้ร้อง ก็ ยัง มี สิทธิ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาลแพ่ง ซึ่ง เป็น ศาลที่ ได้ พิจารณา และ ชี้ขาด ตัดสินคดี ใน ชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7(2) และ มาตรา 302 วรรคแรกเหตุนี้ ศาล แพ่ง มี คำสั่ง และ ศาลอุทธรณ์ มี คำพิพากษา ให้ ยก คำร้องของ ผู้ร้อง ที่ ยื่น ต่อ ศาลแพ่ง โดย ให้ ผู้ร้อง ไป ยื่น คำร้อง ต่อศาล จังหวัด สมุทรปราการ นั้น ศาลฎีกา โดย มติ ที่ประชุมใหญ่ จึงไม่ เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 3 ฟัง ขึ้น
พิพากษา ยก คำสั่ง ของ ศาลแพ่ง และ คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ ให้ศาลแพ่ง รับ คำร้อง ของ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 3 ไว้ พิจารณาแล้ว สั่ง เพื่อ ดำเนินการ พิจารณา ต่อไป ค่า ฤชาธรรมเนียม ใน ชั้น นี้ทั้ง สาม ศาล ให้ รวม สั่ง เมื่อ มี คำสั่ง ใหม่

Share