แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ซิลิโคนบริสุทธิ์ที่โจทก์นำเข้ามาใช้ประโยชน์ทั้งสองทางพร้อมกันคือใช้ได้ทั้งเป็นวัตถุดิบและวัตถุสำเร็จรูป การพิจารณาว่าซิลิโคนที่นำเข้าใช้เป็นวัตถุดิบหรือไม่ให้ดู’ชนิด’ของซิลิโคนหาใช่ดูการใช้ซิลิโคนจำนวนนั้นจริงๆไม่เมื่อซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าเป็นได้ทั้งชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบตามพิกัดประเภทที่39.01ก.และวัตถุสำเร็จรูปอันเป็นชนิดอื่นๆตามพิกัดประเภทที่39.01ข.จึงเป็นกรณีของชนิดหนึ่งอาจจัดเข้าได้2ประเภทหรือมากกว่านั้นต้องอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามภาค1ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503บังคับกรณีนี้มิใช่ประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้ชัดแจ้งและอีกประเภทหนึ่งระบุไว้อย่างกว้างๆตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ก)ทั้งมิใช่กรณีของซึ่งผสมหรือประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ข)จึงต้องเข้าประเภทซึ่งมีอัตราอากรสูงที่สุดคือประเภทที่39.01ข.ตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ค).
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้ สั่ง ซื้อ และ นำ สารเคมี ซิลิโคน จากต่างประเทศ เข้า มา ใน ราชอาณาจักร จำนวน 15 เมตริกตัน เพื่อ ผสมและ ประกอบ ใน การ ผลิต สินค้า โดย โจทก์ ได้ แสดง รายการ สินค้า ในใบขนสินค้า ขาเข้า และ แบบแสดง รายการ การค้า ยื่น ชำระ ภาษี อากรต่อ พนักงาน ของ จำเลย ใน พิกัด ประเภท ที่ 39.01 ก. อัตรา ร้อยละ40 ภาษี การค้า ร้อยละ 1.5 ตาม บัญชี แนบ ท้าย พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ซึ่ง แก้ไข เพิ่มเติม แล้ว แต่ พนักงานของ จำเลย ไม่ ยอม โดย กำหนด ให้ โจทก์ แก้ไข และ ชำระ ภาษี อากรใน พิกัด ประเภท ที่ 39.01 ข. อัตรา ร้อยละ 60 ภาษี การค้า ร้อยละ7 ซึ่ง เป็น การ ไม่ ถูกต้อง และ ขัดต่อ หลักเกณฑ์ การ ตีความ พิกัดอัตราศุลกากร ใน ภาค 1 ข้อ 3(ก) ท้าย พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 โจทก์ ต้อง ปฏิบัติ ตาม ไป พลาง ก่อนโจทก์ ได้ ชำระ เงิน ค่า ภาษี อากร จาก โจทก์ เกินไป ของ ที่ โจทก์นำ เข้า เป็น สารเคมี ซิลิโคน บริสุทธิ์ เป็น วัตถุดิบ ที่ ใช้ ในการ ผลิต สินค้า จึง ต้อง เสีย ภาษี อากร ใน พิกัด ประเภท ที่ 39.01ก. ขอ ให้ ศาล พิพากษา ว่า สินค้า ที่ โจทก์ นำเข้า มา ตาม ฟ้อง จัดอยู่ ใน พิกัด ประเภท ที่ 39.01 ก. ตาม บัญชี แนบท้าย พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร และ ให้ จำเลย คืน เงิน ที่ เรียก เก็บไว้ เกินไปให้ แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า สินค้า ที่ โจทก์ นำ เข้า มา ใน ราชอาณาจักร ตามฟ้อง เป็น ซิลิโคนฟลูอิด หรือ ซิลิโคนออยล์ ซึ่ง สามารถ นำ ไป ใช้ประโยชน์ ได้ สอง ทาง พร้อมกัน คือ ใช้ ได้ ทั้ง เป็น วัตถุดิบ สำหรับนำ มา ผสม ให้ เป็น ของ สำเร็จรูป กับ เป็น วัตถุ หรือ เป็น ของสำเร็จรูป แล้ว ที่ สามารถ นำ ไป ใช้ ประโยชน์ ได้ ทันที จึง อาจ จัดเข้า ได้ ทั้ง ใน พิกัด ประเภท ที่ 39.01 ก. และ 39.01 ข. ของ ตอน ที่39 ท้าย พระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 การ คิดอัตราศุลกากร และ อัตรา ภาษี การค้า จึง ต้อง จัด เข้า ประเภทพิกัด ที่ 39.01 ข. ตาม หลักเกณฑ์ การ ตีความ พิกัดอัตราศุลกากร ในภาค 1 ข้อ 3 (ค) ท้าย พระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ที่ให้ จัด เข้า ใน ประเภท ซึ่ง มี อัตรา อากร สูงที่สุด ใน เมื่อ เห็นได้ ว่า ของ ชนิดใด อาจ จัด เข้า ได้ สอง ประเภท หรือ มากกว่า นั้นของ ที่ โจทก์ นำเข้า มิใช่ เป็น กรณี ที่ ประเภท หนึ่ง ระบุ ลักษณะของ ของ ไว้ โดย ชัดแจ้ง และ อีก ประเภท หนึ่ง ระบุ ไว้ อย่าง กว้างๆตาม ข้อ 3 (ก) แห่ง หลักเกณฑ์ การ ตีความ พิกัดอัตราศุลกากร แต่ อย่างใด จำเลย เรียก เก็บ ภาษี อากร จาก โจทก์ ถูกต้อง แล้ว ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ซิลิโคน บริสุทธิ์ ที่ โจทก์ นำเข้า มา ใช้ประโยชน์ ทั้ง สอง ทาง พร้อมกัน คือ ใช้ ได้ ทั้ง เป็น วัตถุดิบ และวัตถุ สำเร็จรูป ตาม บัญชี พิกัด อัตรา อากร ขาเข้า ตาม ภาค 2 ท้ายพระราชกำหนด พิกัดอัตราอากรศุลกากร พ.ศ. 2503 พิกัด ประเภท ที่ 39.01กำหนด ไว้ ความว่า ซิลิโคน ก. ชนิด ที่ ใช้ เป็น วัตถุดิบ สำหรับเอา มา หล่อหลอม อัด หรือ ผสม เป็น ของ สำเร็จรูปฯลฯ อัตรา อากร ร้อยละ40 ข. อื่นๆ อัตรา อากร ร้อยละ 60 การ พิจารณา ว่า ซิลิโคน ที่ นำเข้าใช้ เป็น วัตถุดิบ หรือไม่ ให้ ดู ‘ชนิด’ ของ ซิลิโคน หา ใช่ ดู การใช้ ซิลิโคน จำนวน นั้น จริงๆ ไม่ เมื่อ ซิลิโคน ที่ โจทก์ นำเข้าเป็น ได้ ทั้ง ชนิด ที่ ใช้ เป็น วัตถุดิบ ตาม พิกัด ประเภท ที่39.01 ก. และ วัตถุ สำเร็จรูป อัน เป็น ชนิด อื่นๆ ตาม พิกัด ประเภทที่ 39.01 ข. จึง เป็น กรณี ของ ชนิดหนึ่ง อาจ จัด เข้า ได้ 2 ประเภทหรือ มากกว่า นั้น ต้อง อาศัย หลักเกณฑ์ การ ตีความ พิกัดอัตราศุลกากรตาม ภาค 1 ท้าย พระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 บังคับ กรณีนี้ มิใช่ ประเภท หนึ่ง ระบุ ลักษณะ ของ ของ ไว้ ชัดแจ้ง และ อีกประเภท หนึ่ง ระบุ ไว้ อย่าง กว้างๆ ตาม หลักเกณฑ์ ข้อ 3 (ก) ทั้งมิใช่ กรณี ของ ซึ่ง ผสม หรือ ประกอบ ด้วย วัตถุ ต่าง ชนิด กัน ตามหลักเกณฑ์ ข้อ 3 (ข) จึง ต้อง จัดเข้า ประเภท ซึ่ง มี อัตรา อากรสูงที่สุด คือ ประเภท ที่ 39.01 ข. ตาม หลักเกณฑ์ ข้อ 3 (ค) จำเลยเรียกเก็บ อากร ใน อัตรา ร้อยละ 60 ถูกต้อง แล้ว
พิพากษายืน.