คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่1อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายและผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรของผู้ตายซึ่งเกิดจากผู้คัดค้านที่1ขอให้ยกคำร้องขอและตั้งผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกนั้นแม้ต่อมาผู้คัดค้านทั้งสองจะขอถอนคำคัดค้านก็เพียงทำให้ข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านระงับไปหาทำให้คำคัดค้านทั้งหมดรวมตลอดถึงเอกสารที่แนบมาไม่มีผลต่อคดีไม่เพราะผู้คัดค้านไม่ได้ยอมรับด้วยว่าคำคัดค้านพร้อมเอกสารที่เสนอต่อศาลไม่ถูกต้องทั้งเอกสารหลักฐานต่างๆที่ผู้คัดค้านทั้งสองเสนอต่อศาลภายหลังยื่นคำคัดค้านก็ไม่ได้มีการเพิกถอนจึงรับฟังประกอบการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องได้ แม้ผู้คัดค้านที่2จะเพิ่งคลอดและศาลมีคำสั่งภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ8เดือนว่าผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตามผู้คัดค้านที่2ก็มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1558วรรคแรกและเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่1ผู้ร้องเป็นเพียงน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกเพราะผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้นขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้

ย่อยาว

ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ว่า ผู้ร้อง เป็น น้อง ร่วม บิดา มารดา เดียว กันกับ นาย สุวรรณ บุญมา ผู้ตาย ผู้ตาย ไม่มี ภริยา และ บุตร ส่วน บิดา มารดา ของ ผู้ตาย ได้ ถึงแก่กรรม ไป แล้ว ผู้ตาย มี ทรัพย์มรดก คือ เงินฝาก ธนาคารจำนวน 40,582.25 บาท และ สิทธิ ใน การ รับ เงิน จาก ทางราชการ ประมาณ70,000 บาท เนื่องจาก มีเหตุ ขัดข้อง ใน การ จัดการ ทรัพย์มรดก ดังกล่าวจึง ขอให้ มี คำสั่ง ตั้ง ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย
ผู้คัดค้าน ที่ 1 ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1 อยู่กินฉัน สามี ภริยา กับ ผู้ตาย และ เป็น หุ้นส่วน ประกอบ กิจการ ซ่อม รถยนต์ ร่วมกันจึง เป็น ผู้มีส่วนได้เสีย ใน ทรัพย์มรดก ของ ผู้ตาย ผู้ร้อง ไม่ เหมาะสม ที่จะ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย เพราะ มี พฤติการณ์ ปกปิด เบียดบัง หรือยักย้าย ทรัพย์มรดก ขอให้ ยกคำร้อง ขอ และ มี คำสั่ง ตั้ง ผู้คัดค้าน ที่ 1เป็น ผู้จัดการมรดก ราย นี้
ผู้คัดค้าน ที่ 2 ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 2 เป็น บุตร ของผู้ตาย ซึ่ง เกิดจาก ผู้คัดค้าน ที่ 1 ผู้ร้อง เป็น เพียง น้อง ร่วม บิดามารดา เดียว กัน กับ ผู้ตาย หาใช่ เป็น ผู้มีส่วนได้เสีย ใน ทรัพย์มรดก ของผู้ตาย ไม่ จึง ไม่มี สิทธิ ยื่น คำร้องขอ ให้ ตั้ง เป็น ผู้จัดการมรดก ของผู้ตาย ขอให้ ยกคำร้อง ขอ และ ตั้ง ผู้คัดค้าน ที่ 2 เป็น ผู้จัดการมรดกของ ผู้ตาย
ผู้ร้อง ยื่น คำ แก้ คำคัดค้าน ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1 ไม่ใช่ ภริยา และไม่ได้ มี ส่วนได้เสีย ใน ทรัพย์มรดก ของ ผู้ตาย ส่วน ผู้คัดค้าน ที่ 2ไม่ใช่ บุตร อันเป็น ทายาทโดยธรรม ของ ผู้ตาย โดยเฉพาะ ผู้คัดค้าน ที่ 2มี อายุ เพียง 13 วัน จึง ต้องห้าม ไม่ให้ เป็น ผู้จัดการมรดก ขอให้ยก คำคัดค้าน
ระหว่าง พิจารณา คู่ความ ทั้ง สอง ฝ่าย แถลง ร่วมกัน ว่า ตกลง ปรองดองกัน ได้ ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ที่ ยื่น ต่อ ศาล ผู้คัดค้าน ขอ ถอนคำคัดค้าน ศาล มี คำสั่ง อนุญาต
ศาลชั้นต้น ไต่สวน แล้ว มี คำสั่ง ยกคำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ได้ความ ตาม ทาง ไต่สวน ของ ผู้ร้อง ว่า ผู้ร้องเป็น บุตร ของ นาย ผ่องกับนางแล้ บุญมา มี พี่น้อง ร่วม บิดา มารดา 7 คน รวมทั้ง นาย สุพจน์ บุญมา ด้วย ตาม บัญชี เครือญาติ และ สำเนา ทะเบียนบ้าน เอกสาร หมาย ร.2 และ ร.3 เมื่อ วันที่ 20 เมษายน 2534นาย สุวรรณ ถึงแก่กรรม เนื่องจาก ประสบ อุบัติเหตุ ตาม มรณบัตร เอกสาร หมาย ร.4 โดย ไม่ได้ ทำ พินัยกรรม หรือ ตั้ง ผู้จัดการมรดก ไว้ ผู้ตายมี ทรัพย์มรดก คือ เงินฝาก ใน ธนาคาร กรุงไทย จำกัด สาขา กาญจนบุรี ประมาณ 40,000 บาท สิทธิ ใน การ รับ เงิน จาก ทางราชการ ประมาณ70,000 บาท และ ที่ดิน จำนวน 5 แปลง ตาม โฉนด ที่ดิน เอกสาร หมายร.5 ถึง ร.9 ผู้ร้อง ได้ ไป ติดต่อ ขอ ถอนเงิน และ รับ เงิน จาก ทางราชการ แล้วแต่ มีเหตุ ขัดข้อง ผู้ตาย ไม่มี บุตร และ ภริยา ส่วน บิดา มารดา ของ ผู้ตายถึงแก่กรรม ไป ก่อน ผู้ร้อง ไม่เป็น บุคคล ต้องห้าม ตาม กฎหมาย
คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ ผู้ร้อง ว่า ผู้ร้อง มีสิทธิร้องขอ ให้ ตั้ง เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย หรือไม่ ปัญหา นี้ข้อเท็จจริง ได้ความ ตาม คำร้องขอ และ คำคัดค้าน ว่า ผู้ร้อง เป็น น้อง ร่วมบิดา มารดา เดียว กัน กับ ผู้ตาย ผู้คัดค้าน ที่ 1 อยู่กิน ฉัน สามี ภริยา กับผู้ตาย และ ประกอบ กิจการ อู่ซ่อมรถยนต์ ร่วมกัน ผู้คัดค้าน ที่ 2 เป็นบุตร ของ ผู้ตาย ซึ่ง เกิดจาก ผู้คัดค้าน ที่ 1 นอกจาก นี้ ข้อเท็จจริง ยังได้ความ ตาม คำร้องขอ ให้ วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้น ของ ผู้คัดค้าน ที่ 2ลงวันที่ 21 มกราคม 2534 และ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ระหว่างนาง สุพิศ (ที่ ถูก น่า จะ เป็น นาย สุพจน์) หลงมา ผู้คัดค้าน กับ นาง กฤษณา บุญหนุน หรือ บุญมา ผู้ร้อง ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 838/2534 ของ ศาลชั้นต้น เรื่อง ให้ รับรอง บุตร ลงวันที่ 6 พฤษภาคม2535 ซึ่ง คู่กรณี เสนอ ต่อ ศาลชั้นต้น ตาม รายงาน กระบวนพิจารณาลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รวมทั้ง คำแก้อุทธรณ์ ของ ผู้คัดค้าน ทั้ง สองลงวันที่ 3 สิงหาคม 2535 ว่า ศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่ง ใน คดีแพ่ง หมายเลขดังกล่าว เมื่อ วันที่ 9 ธันวาคม 2534 ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 2 เป็น บุตรโดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ ผู้ตาย ถึง แม้ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลชั้นต้นผู้คัดค้าน ทั้ง สอง จะ ขอ ถอน คำคัดค้าน โดย อ้างว่า ทั้ง สอง ฝ่าย ตกลงประนีประนอม ยอมความ กัน ได้ และ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง อนุญาต แต่ ผล การถอน คำคัดค้าน ก็ เพียง ทำให้ ข้อพิพาท ระหว่าง ผู้ร้อง กับ ผู้คัดค้าน ระงับไป เท่านั้น หา ถึง กับ ทำให้ คำคัดค้าน ทั้งหมด รวม ตลอด ถึง เอกสาร ที่ แนบ มาไม่มี ผล ต่อ คดี ดัง ที่ ผู้ร้อง กล่าวอ้าง มา ใน ฎีกา ไม่ ทั้งนี้ เพราะผู้คัดค้าน ทั้ง สอง เพียงแต่ ถอน คำคัดค้าน ไม่ได้ ยอมรับ ด้วย ว่าคำคัดค้าน พร้อม เอกสาร ที่ เสนอ ต่อ ศาล ไม่ถูกต้อง อีก ทั้ง เอกสาร หลักฐานต่าง ๆ ที่ ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง เสนอ ต่อ ศาล ภายหลัง ยื่น คำคัดค้าน ก็ ไม่ได้มี การ เพิกถอน แต่อย่างใด ฉะนั้น จึง รับฟัง ประกอบการ พิจารณา คำร้องขอ ของผู้ร้อง ได้ สำหรับ ข้ออ้าง ของ ผู้ร้อง ที่ ว่า ขณะ ยื่น คำร้อง ผู้ร้อง ยังเป็น ทายาท ของ ผู้ตาย อยู่ ทั้งนี้ เพราะ ขณะ นั้น ผู้คัดค้าน ที่ 2ยัง ไม่คลอด จาก ครรภ์ ของ ผู้คัดค้าน ที่ 1 เพิ่ง คลอด ใน ภายหลัง การ ที่ศาล มี คำสั่ง ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 2 เป็น บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ ผู้ตายคำสั่ง ดังกล่าว มีผล นับ ตั้งแต่ วัน ถึงที่สุด ไม่มีผลย้อนหลังผู้คัดค้าน ที่ 2 ไม่มี สิทธิ รับมรดก ของ ผู้ตาย ผู้ร้อง จึง ยัง คง มีสิทธิรับมรดก ของ ผู้ตาย และ ร้องขอ เป็น ผู้จัดการมรดก ราย นี้ ได้ นั้นศาลฎีกา เห็นว่า ถึง แม้ ผู้คัดค้าน ที่ 2 จะ เพิ่ง คลอด หลังจาก เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แต่ การ ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ตาม คำร้องขอ งผู้คัดค้านที่ 2 เมื่อ วันที่ 9 ธันวาคม 2534 ภายหลัง ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย ประมาณ8 เดือน ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 2 เป็น บุตร ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ ผู้ตาย ซึ่งกรณี ถือได้ว่า เป็น การ ยื่น คำร้อง ภายใน กำหนด อายุความ มรดก ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อม มีสิทธิ รับมรดก ของ ผู้ตาย ใน ฐานะ ทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1558 วรรคแรก สิทธิ ดังกล่าวนี้ มีผล ย้อนหลัง ไป ถึง วันที่ เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้าน ที่ 2จึง เป็น ทายาทโดยธรรม ลำดับ ที่ 1 ผู้ร้อง ซึ่ง เป็น น้อง ร่วม บิดา มารดากับ ผู้ตาย ทายาทโดยธรรม ลำดับ ที่ 3 อันเป็น ลำดับ ถัด ลง ไป ไม่มี สิทธิใน ทรัพย์มรดก ของ ผู้ตาย ทั้งนี้ ตาม บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ดังกล่าวมาตรา 1629 และ 1630 ส่วน ที่ ผู้ร้อง อ้างว่า เป็น ผู้มีส่วนได้เสียใน ทรัพย์มรดก ของ ผู้ตาย ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ท้ายรายงาน กระบวนพิจารณา ของ ศาลชั้นต้น ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535จึง มีสิทธิ ร้องขอ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย ศาลฎีกา เห็นว่า คำ ว่าผู้มีส่วนได้เสีย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713หมายถึง ผู้ได้รับ ประโยชน์ จาก ทรัพย์มรดก โดยตรง มา ตั้งแต่ ต้น คือขณะ เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย หาใช่ เกิดขึ้น ใน ภายหลัง ตามสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ซึ่ง มี วัตถุประสงค์ เพื่อ ระงับ ข้อพิพาทระหว่าง คู่กรณี ดัง เช่น ใน คดี นี้ ไม่ เมื่อ ผู้ร้อง ไม่มี สิทธิ รับมรดก ของผู้ตาย และ ไม่มี ส่วนได้เสีย ใน กอง มรดก ดังกล่าว จึง ไม่มี สิทธิ ที่ จะ ร้องต่อ ศาล ขอให้ ตั้ง ผู้จัดการมรดก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ให้ยก คำร้องขอ ของ ผู้ร้อง นั้นชอบแล้ว ฎีกา ของ ผู้ร้อง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share