คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2482

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

บัญญัติเหตุความรับผิดไว้เป็น 3 กรณี แต่ละกรณีก็ทำให้เจ้าของยานพาหนะและผู้ควบคุมฯ ต้องรับผิดใช้ค่าธรรมเนียมเข้าเมืองแทนคนประ+ยานพาหนะนั้น ๆ เป็นทวีคูณ คนประจำยานพาหนะหลบหนีเข้าเมืองแม้ภายหลังเจ้าพนักงานจะจับได้เองและฟ้องศาลพิพากษาลงโทษตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง และได้ส่งส่งตัวออกนอกประเทศไทยแล้ว เจ้าของยานพาหนะและผู้ควบคุมฯ ก็ยังต้องรับผิดใช้ค่าธรรมเนียมเข้าเมืองแทนผู้หลบหนีนั้นเป็นทวีคูณตาม ม.38

ย่อยาว

จำเลยเป็นผู้แทนเจ้าของยานพาหนะเรือกลไฟซึ่งคนต่างด้าวเป็นคนประจำเรือมาด้วย เมื่อเรือมาถึงประเทศไทยแล้วเรือนี้ได้ออกไป แต่คนประจำเรือซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นได้หลบหนีเข้าเมืองเสียที่เกาะสีชัง(ประเทศไทย) แต่ต่อมาเจ้าพนักงานจับคนเรือที่หนีนั้นได้ และได้ฟ้องศาล ๆ ลงโทษไปแล้วตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองทั้งเจ้าพนกังานได้สั่งให้จำเลยส่งคนประจำเรือเหล่านี้ไปประเทศจีนแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเสียค่าธรรมเนียมคนเข้าเมืองทวีคูณแทนคนเรือที่หนีเข้าเมืองนั้นตามพ.ร.บ.คนเข้าเมือง ๒๔๘๐ ม.๓๘
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยต้องเสียเงินตามฟ้อง
ศาลฎีกาเห็นว่า ที่จำเลยต่อสู้ว่า ม.๓๘ ใช้บังคับฉะเพาะกรณีที่ไม่ได้ตัวคนเรือมาจัดการตาม ม.๑๐ เสียเลย แต่เมื่อคนเรือนั้นเจ้าพนักงานจับตัวได้จนฟ้องศาล ๆ ศาลลงโทษไปแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตาม ม.๓๘ นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ม.๓๘ นี้ได้บัญญัติแยกไว้ถึง ๓ กรณี คือคนเรือไม่กลับออกไปโดยหลบหนี หรือหลีกเลี่ยง พ.ร.บ.หรือไม่ได้ตัวมาจัดการตาม ม.๑๐ หาได้บัญญัติไว้ฉะเพาะเรื่องไม่ได้ตัวมาจัดการตาม ม.๑๐ อย่างเดียวเท่านั้นไม่ คนเรือเหล่านี้เจ้าพนักงานจับได้เอง หาใช่เป็นโดยเจ้าของยานพาหนะหรือผู้ควบคุมฯ หรือผู้แทนนำความไปแจ้งหรือมอบตัวบุคคลเหล่านั้นต่อเจ้าพนักงานไม่ ที่จำเลยว่าเมื่อเจ้าพนักงานไม่ยอมให้คนเรืออยู่ในแระเทศไทยโดยส่งออกไปประเทศจีนแล้ว คนเรือนี้ก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้แทนตาม ม.๓๘ นั้น เห็นว่าความรับผิดใช้แทนตาม ม.๓๘ นั้น เห็นว่าความรับผิดของคนเรือที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมได้ เกิดขึ้นแล้วแต่ขณะที่หลบหนีเข้าเมือง ความรับผิดของจำเลยจึงเกิดขึ้นขณะนั้นเหมือนกันเหตุการณ์ภายหลังหาได้เปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยไม่ จึงพิพากษายืนตามศาลล่าง

Share