แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
พฤตติการณ์ที่ไม่ถือว่าเป็นลักษณที่สมารถอาจจะเกิดความเสียหายแก่สาธารณชนหรือแก่บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดโจทก์ทำสัญญาให้ไว้แก่จำเลยโดยถูกต้องตาม กฎหมายแต่ำม่มีพะยานลงนามภายหลังจำเลยจัดให้มีผู้ลงนามในท้ายสัญญานั้นโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยแล้วนำเอาสัญญานั้นมาฟ้องโจทก์ดังนี้จำเลยไม่มีผิดฐานปลอมหนังสือและฐานกระทำพะยานเท็จ พรบ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา 2475 ม. 3 – 4 ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา ม. 2 (4) 28(2) ผู้กู้ยืมเงินโดยเสียดอกเบี้ยเกินอัตราไม่มีสิทธิฟ้องผู้ให้กู้ในความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรานั้น อ้างฎีกาที่ 968/2479
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ทำหนังสือปลอมและทำพะยานเท็จ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูลจะรับไว้พิจารณาได้ จึงสั่งไม่รับฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาตัดสินว่า เรื่องเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น เห็นว่าโจทก์จะฟ้องมิได้ เพราะโจทก์มิได้เป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย โจทก์ทำสัญญาชำระดอกเบี้ยโดยสมัครใจต่างหากตามนัยฎีกาที่ ๙๖๘/๒๔๗๙ ส่วนข้อหาฐานปลอมหนังสือนั้นตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าสัญญาที่โจทก์ทำไว้แต่เดิมไม่มีพะยานลงชื่อ แต่บัดนี้มีพะยานลงชื่อ แต่บัดนี้มีพะยานชื่อหลายคนโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย เห็นว่าความผิดฐานปลอมหนังสือต้องประกอบด้วยลักษณที่สามารถอาจเกิดความเสียหายแก่สาธารณชนหรือแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งสัญญาที่ทำไว้ในคดีนี้ลงชื่อคู่สัญญาไว้ นับว่ามีผลตามกฎหมายแล้ว แม้จะลงนามพะยานภายหลังและโจทก์ไม่ทราบตามกฎหมายก็ไม่แสดงว่าสามารถอาจเกิดความเสียหายแก่สาธารณชนหรือแก่โจทก์อย่างใด มูลฟ้องของโจทก์ฐานนี้ไม่เกิดขึ้นได้ และความผิดฐานใช้หนังสือปลอมตาม ม. ๒๒๗ จึงตกไปด้วย อหนึ่งข้อหาเรื่องทำพะยานเท็จนั้นเห็นว่าไม่มีดุจกันเพราะเมื่อสัญญาในคดีนี้สมบูรณ์มีผลบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว จะเรียกว่าจำเลยทำพะยานเท็จมิได้ จึงพิพากษายืนตาม ให้ยกฎีกาโจทก์
์