คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่จำเลยไม่ยื่นบัญชีระบุพยานจำเลยไม่มีสิทธิสาบานตนให้การเป็นพยานได้เพราะมีกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา85และ87บัญญัติเรื่องการไม่ยื่นบัญชีระบุพยานไว้โดยชัดแจ้งอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องนำเรื่องขาดนัดยื่นคำให้การอันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับบังคับใช้อีก

ย่อยาว

คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ มอบอำนาจ ให้ นาง สุมาลี ฟ้องคดี แทน โดย โจทก์ ขอให้ จำเลย ชำระ เงิน ตามเช็ค จำนวน 3 ฉบับ รวมเป็น เงิน374,000 บาท จำเลย ให้การ ต่อสู้ คดี ศาลชั้นต้น นัด ชี้สองสถาน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2536 ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับ บัญชีพยาน ของจำเลย อ้างว่า จำเลย ยื่น บัญชีระบุพยาน เลย กำหนด เวลา 15 วันก่อน วันชี้สองสถาน จำเลย มีสิทธิ อ้าง ตนเอง เป็น พยาน เท่านั้นและ นัด สืบพยาน จำเลย ครั้น เมื่อ วันที่ 21 พฤษภาคม 2536 ซึ่ง เป็นวันนัด สืบพยาน จำเลย ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ใหม่ ว่า การ ที่ ศาลชั้นต้น สั่งไม่รับ บัญชีระบุพยาน ของ จำเลย มิใช่ เรื่อง จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การจำเลย จึง ไม่มี สิทธิ สาบานตน เบิกความ เป็น พยาน แล้ว มี คำสั่งให้ งดสืบพยาน จำเลย ให้ นัด สืบพยานโจทก์ แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย แพ้ คดี
จำเลย อุทธรณ์ คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยว่า เมื่อ ศาล สั่ง ไม่รับ บัญชีระบุพยาน ของ จำเลย แล้ว จำเลย มีสิทธิสาบานตน ให้การ เป็น พยาน เอง โดย นำ เรื่อง ขาดนัด ยื่นคำให้การ ซึ่ง เป็นกฎหมาย ใกล้เคียง อย่างยิ่ง มา ปรับ บังคับ ใช้ ได้ หรือไม่ เห็นว่าตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 85 บัญญัติ ว่า”คู่ความ ฝ่าย ที่ มี หน้าที่ ต้อง นำสืบ ข้อเท็จจริง ย่อม มีสิทธิ ที่ จะนำพยาน หลักฐาน ใด ๆ มา สืบ ได้ ภายใต้ บังคับ แห่ง ประมวล กฎหมาย นี้หรือ กฎหมาย อื่น อัน ว่าด้วย การ รับฟัง พยานหลักฐาน และ การ ยื่นพยานหลักฐาน ” และ มาตรา 87 บัญญัติ ว่า “ห้าม มิให้ ศาล รับฟัง พยานหลักฐาน ใด เว้นแต่ ฯลฯ (2) คู่ความ ฝ่าย ที่ อ้าง พยานหลักฐานได้ แสดง ความจำนง ที่ จะ อ้างอิง พยานหลักฐาน ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ในมาตรา 88 และ 90 ฯลฯ ” จะ เห็น ได้ว่า ใน ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ได้ มีบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ดังกล่าว ข้างต้น กำหนด เพื่อ บังคับ ใช้ ใน กรณีที่ ไม่ยื่น บัญชีระบุพยาน โดยชัดแจ้ง อยู่ แล้ว ไม่จำเป็น ต้อง นำ บท กฎหมายใกล้เคียง อย่างยิ่ง ตาม ที่ จำเลย ฎีกา มา ปรับ บังคับ ใช้ แต่อย่างใดดังนั้น จำเลย จึง ไม่มี สิทธิ สาบานตน ให้การ เป็น พยาน ได้
พิพากษายืน

Share