คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การซื้อขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์มิใช่การซื้อขายหุ้นตามปกติธรรมดาไม่จำต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129และการตั้งตัวแทนเพื่อซื้อและขายหุ้นดังกล่าวก็ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งมีมูลหนี้จากที่จำเลยที่1กู้ยืมเงินจากโจทก์หาใช่ฟ้องให้จำเลยที่1ชำระหนี้กู้ยืมเงินโดยตรงไม่จึงไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญมาเป็นพยานต่อศาล

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน 2,088,046.05 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 953,905.87 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 2 ร่วม กับจำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ ดังกล่าว เป็น เงิน 300,599.65 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 135,127.63 บาท นับแต่ วัน ถัด จากวันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ แก่ โจทก์ 2,088,046.05บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 953,905.87 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง (วันที่ 14 พฤศจิกายน 2531) จนกว่า จะ ชำระ เสร็จให้ยก ฟ้อง สำหรับ จำเลย ที่ 2
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ตาม พฤติการณ์ พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ดังกล่าวแสดง ให้ เห็นว่า จำเลย ที่ 1 ตกลง ให้ โจทก์ ซึ่ง เป็น สมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็น ตัวแทน ซื้อ และ ขาย หุ้น หรือ หลักทรัพย์ใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่ง การ ซื้อ ขาย หุ้น หรือ หลักทรัพย์ใน ตลาด หลักทรัพย์ นั้น มิใช่ การ ซื้อ ขาย หุ้น ตาม ปกติ ธรรมดา แต่ เป็น การซื้อ ขาย หุ้น ซึ่ง กระทำ ตาม ระเบียบ วิธี ปฏิบัติ ของ การ ซื้อ ขาย หุ้น ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็น กรณี พิเศษ ต่างหาก ไม่จำต้อง ปฏิบัติตาม แบบ ของ การ โอนหุ้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129แต่อย่างใด และ การ ตั้ง ตัวแทน เพื่อ ซื้อ และ ขาย หุ้น ใน ตลาด หลักทรัพย์ก็ ไม่มี กฎหมาย บัญญัติ ให้ ต้อง ทำ เป็น หนังสือ ดังนั้น การ ตั้ง ตัวแทนเพื่อ ซื้อ และ ขาย หุ้น หรือ หลักทรัพย์ ใน ตลาด หลักทรัพย์ จึง ไม่จำต้องทำ เป็น หนังสือ แม้ จำเลย ที่ 1 จะ ไม่ได้ แต่งตั้ง ให้ โจทก์ เป็น ตัวแทนซื้อ และ ขาย หุ้น หรือ หลักทรัพย์ ตาม ฟ้อง เป็น หนังสือ ก็ ตาม ก็ รับฟัง ตามพยานหลักฐาน ของ โจทก์ ได้ว่า จำเลย ที่ 1 ตกลง ให้ โจทก์ เป็น ตัวแทนซื้อ และ ขาย หุ้น หรือ หลักทรัพย์ ใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ โจทก์ ตาม ฟ้อง ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกาประการ สุดท้าย อ้างว่า โจทก์ มิได้ มี หนังสือ สัญญากู้ยืม หรือ หลักฐานแห่ง การ กู้ยืม เป็น หนังสือ มา เป็น พยาน ต่อ ศาล ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ลงลายมือชื่อ ใน ฐานะ ผู้กู้เงิน ตาม ฟ้อง แต่อย่างใด จึง ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง บังคับให้ จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ เงินกู้ และ ดอกเบี้ย นั้น เห็นว่า โจทก์ เพียงแต่ฟ้องบังคับ ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ ตาม ตั๋วสัญญาใช้เงิน เอกสาร หมายจ. 63 ซึ่ง มีมูล หนี้ มาจาก จำเลย ที่ 1 กู้ยืม เงิน จาก โจทก์ เท่านั้นหาใช่ ฟ้องบังคับ ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ กู้ยืม เงิน จาก โจทก์ โดยตรง ไม่จึง ไม่อยู่ ใน บังคับ ให้ โจทก์ จำต้อง มี หลักฐาน แห่ง การ กู้ยืม เป็น หนังสืออย่างใด อย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อ จำเลย ที่ 1 ผู้ ยืม เป็น สำคัญ มา เป็น พยานต่อ ศาล แต่ ประการใด จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ชำระหนี้ แก่ โจทก์ ตาม ฟ้องคำพิพากษา ศาลล่าง ทั้ง สอง ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share