คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

พยานโจทก์เบิกความสอดคล้องกันมั่นคงโดยเห็นการกระทำของจำเลยที่2ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งหิ้วถุงพลาสติกซึ่งบรรจุยาม้าของกลางไปส่งให้จำเลยที่1นำไปซุกไว้ที่ใต้เบาะที่นั่งคนขับรถยนต์ของ ส.ชั้นจับกุมจำเลยที่2ก็ให้การรับสารภาพโดยเขียนบันทึกคำให้การด้วยตนเองแม้จำเลยที่2 จะให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวน แต่ก็รับว่า บันทึกคำให้การดังกล่าวเป็นลายมือของจำเลยที่2 พยานหลักฐานของโจทก์ มีน้ำหนักและ เหตุผลฟังได้ว่าจำเลยที่2 กับพวก ร่วมกันมียาม้าของกลางไว้เพื่อขาย หลังจากที่จำเลยที่2กระทำความผิดได้มีพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท(ฉบับที่3)พ.ศ.2535แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518โดยเพิ่มเติมมาตรา13ทวิห้ามมิให้ผู้ใดผลิตขายนำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2แยกจากเดิมซึ่งบัญญัติรวมไว้ในมาตรา13และแก้ไขโทษปรับขั้นสูงให้ต่ำลงถือว่าเป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้บทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่มาปรับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 9 ธันวาคม 2534 เวลา กลางวัน จำเลยทั้ง สอง และ นาย สมศักดิ์ ภัทรภาษิต จำเลย ใน คดี หมายเลขแดง ที่ 1371/2535 ของ ศาลชั้นต้น ซึ่ง ถูก พิพากษา ลงโทษ ไป แล้ว ร่วมกัน มี เมทแอมเฟตามีน จำนวน 20,000 เม็ด น้ำหนัก สุทธิ 1,871 กรัม อันเป็น วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2 ไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ ขาย โดย ไม่ได้ รับใบอนุญาต เหตุ เกิด ที่ แขวง ตลาดพลู เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตาม วัน เวลา ดังกล่าว เจ้าพนักงาน จับ จำเลย ทั้ง สอง กับพวก ได้ พร้อมด้วย เมทแอมเฟตามีน จำนวน 20,000 เม็ด ที่ จำเลย ทั้ง สอง กับพวก ร่วมกัน มีไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ ขาย ดังกล่าว เป็น ของกลาง ขอให้ ลงโทษตาม พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 4, 6, 13, 62, 89, 106, 116 ประกาศกระทรวง สาธารณสุขฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2531) เรื่อง ระบุ ชื่อ และ จัด แบ่ง ประเภท วัตถุออกฤทธิ์ ตาม ความใน พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2531 ข้อ 3(7) ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ แต่ก่อน สืบพยาน จำเลย ที่ 1 ขอ ถอนคำให้การ เดิม และ ให้การ ใหม่ รับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13วรรคหนึ่ง , 89 ลงโทษ จำคุก คน ละ 16 ปี คำรับสารภาพ ของ จำเลยทั้ง สอง เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา คดี มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษให้ จำเลย ที่ 1 กึ่งหนึ่ง และ จำเลย ที่ 2 หนึ่ง ใน สี่ ตาม ประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 8 ปี จำคุก จำเลย ที่ 2มี กำหนด 12 ปี
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ว่า ตาม วัน เวลา และ สถานที่เกิดเหตุ นาย สมชาย ศรีปานเงิน เจ้าหน้าที่ สำนักงาน คณะกรรมการ ป้องกัน และ ปราบปราม ยาเสพติด กับพวกได้ จับกุม จำเลย ทั้ง สอง และ นาย สมศักดิ์ ภัทรภาาิต จำเลย ใน คดี หมายเลข แดง ที่ 1371/2535 ของ ศาลชั้นต้น ซึ่ง ถูก พิพากษา ลงโทษ ไป แล้วพร้อม ด้วย ยา ม้า ซึ่ง เป็น เมทแอมเฟตามีน จำนวน 20,000 เม็ด น้ำหนัก สุทธิ 1,871 กรัม อันเป็น วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2 เป็นของกลาง คดี มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ว่าจำเลย ที่ 2 กับพวก ร่วมกัน มี เมทแอมเฟตามีน ของกลาง ไว้ เพื่อ ขาย ตาม ฟ้อง หรือไม่ โจทก์ มี นาย สมชาย ศรีปานเงิน และ นาย สิทธิชัย ไชยผดุง เจ้าหน้าที่ สำนักงาน คณะกรรมการ ป้องกัน และ ปราบปราม ยาเสพติด เป็น พยาน เบิกความ สรุป ได้ว่า ก่อน เกิดเหตุ นาย สมชาย สืบทราบ ว่า ที่ บ้าน จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ที่เกิดเหตุ เลขที่ 1104/8 ซอย มะลิทอง แขวง ตลาดพลู เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มี กลุ่ม คนร้าย ลักลอบ ขาย ยา ม้า หรือ เมทแอมเฟตามีน โดย ใช้ บ้าน ที่เกิดเหตุ เป็น บ้านพัก และ เป็น สถานที่ ติดต่อ วันที่ 7 ธันวาคม 2534 นาย สมชาย ได้รับ รายงาน จาก สาย ลับ ว่า นาย สมศักดิ์ มา ติดต่อ ขอ ซื้อ ยา ม้า จำนวน 100 ถุง ราคา ถุง ละ 1,600 บาท แต่ ยัง ซื้อ ขาย กัน ไม่ได้ มี การนัดหมาย ให้ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น กลุ่ม ผู้ทำการ ผลิต ยา ม้า อยู่ ที่อำเภอ ดำเนินสะดวก จังหวัด ราชบุรี นำ ยา ม้า มา ให้ ใน วันเกิดเหตุ นาย สมชาย จึง รายงาน ให้ ผู้บังคับบัญชา ทราบ และ ได้รับ คำสั่ง ให้ ดำเนินการ จับกุม ใน วันเกิดเหตุ นาย สมชาย และ นาย สิทธิชัย กับพวก ได้ แอบ ซุ่ม ดู พฤติการณ์ ที่ บริเวณ บ้าน ที่เกิดเหตุ เห็น จำเลย ที่ 2ตั้งแต่ ขับ รถ กระบะ มา จอด ที่ บริเวณ ลานจอดรถ วัด ขุนจันทร์ ลง จาก รถ เดิน เข้า ไป พบ นาย สมศักดิ์ และ จำเลย ที่ 1 ใน บ้าน ที่เกิดเหตุ นาย สมศักดิ์ เดิน ออก มา ที่ รถยนต์ ของ ตน และ เปิด ประตู รถยนต์ ด้าน คนขับ ไว้ จาก นั้น นาย สมศักดิ์ เดิน ไป ยืน คุย กับ จำเลย ที่ 1 ที่ หน้า บ้าน แล้ว นาย สมศักดิ์ ได้ ขับ รถจักรยานยนต์ ออก ไป เบิกเงิน ที่ ธนาคาร เมื่อ นาย สมศักดิ์ ไป แล้ว จำเลย ที่ 2 เดิน ไป ที่ รถ กระบะ ของ ตน และ หิ้ว ถุงพลาสติก เดิน ไป ที่ รถยนต์ ของ นาย สมศักดิ์ จำเลย ที่ 2 ส่ง ถุงพลาสติก ที่ หิ้ว มา ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ขณะที่ จำเลย ที่ 1เอา ถุงพลาสติก นั้น ซุกไว้ ใต้ เบาะ ที่นั่ง คนขับ รถยนต์ ของนาย สมศักดิ์ นาย สมชาย และ นาย สิทธิชัย กับพวก จึง เข้า จับกุม ต่อมา เมื่อ ตรวจค้น รถยนต์ ของ นาย สมศักดิ์ พบ ยา ม้า ของกลาง บรรจุ อยู่ ใน ถุงพลาสติก ที่ จำเลย ที่ 2 หิ้ว มาจาก รถ กระบะ นั้น เป็น ของกลางและ ชั้น จับกุม จำเลย ที่ 2 ให้การรับสารภาพ ตาม บันทึก คำให้การ เอกสารหมาย จ. 3 เห็นว่า พยานโจทก์ เบิกความ สอดคล้อง กัน มั่นคง พยานโจทก์เห็น การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 ตั้งแต่ ต้น จน กระทั่ง หิ้ว ถุงพลาสติก ซึ่งบรรจุ ยา ม้า ของกลาง ไป ส่ง ให้ จำเลย ที่ 1 นำ ไป ซุกไว้ ที่ ใต้ เบาะที่นั่ง คนขับ รถยนต์ ของ นาย สมศักดิ์ ชั้น จับกุม จำเลย ที่ 2 ก็ ให้ การ รับสารภาพ โดย เขียน บันทึก คำให้การ ด้วย ตนเอง แม้ ชั้นสอบสวนจำเลย ที่ 2 จะ ให้การ ปฏิเสธ แต่ ให้การ รับ ว่า บันทึก คำให้การ เอกสารหมาย จ. 3 เป็น ลายมือ ของ จำเลย ที่ 2 พยานหลักฐาน ของ โจทก์ มี น้ำหนักและ เหตุผล ฟังได้ ที่ จำเลย ที่ 2 นำสืบ ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น ญาติ กับจำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 2 และ นาย ไพฑูรย์ พี่ชาย ขับ รถ เดินทาง มา เพื่อ เยี่ยม มารดา จำเลย ที่ 1 ที่ บ้าน เกิดเหตุ ระหว่าง ที่ คุย กับ จำเลย ที่ 1อยู่ ที่ หน้า บ้าน มี กลุ่ม คน 5-6 คน มาตรวจค้น รถ ที่ จอด อยู่ หน้า บ้านพบ ยา ม้า ของกลาง เจ้าของ รถ และ จำเลย ทั้ง สอง จึง ถูก กล่าวหา เป็นคดี นี้ นั้น เห็นว่า จำเลย ที่ 2 มี แต่ จำเลย ที่ 2 อ้าง ตนเอง เป็น พยานเบิกความ กล่าวอ้าง ลอย ๆ นอกจาก จะ ขัด กับ ที่ จำเลย ที่ 2 ให้การ ไว้ใน ชั้น จับกุม และ ใน ชั้นสอบสวน ตาม บันทึก คำให้การ เอกสาร หมาย จ. 3และ 14 แล้ว ยัง ขัด กับ ที่ จำเลย ที่ 1 ให้การ ไว้ ใน ชั้น จับกุม ตามบันทึก คำให้การ เอกสาร หมาย จ. 2 อีก ด้วย ข้ออ้าง ของ จำเลย ที่ 2จึง ไม่มี หลักฐาน สนับสนุน ส่วน ที่ จำเลย ที่ 2 นำสืบ ว่า ชั้น จับกุม จำเลยที่ 2 ถูก ข่มขู่ ให้ รับสารภาพ นั้น เห็นว่า ชั้น จับกุม นาย สมศักดิ์ และ จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ไว้ โดย เขียน ด้วย ลายมือ ของ ตนเอง ตาม บันทึกคำให้การ เอกสาร หมาย จ. 1 ถึง จ. 3 และ ภาพถ่าย หมาย จ. 4 และ จ. 5เห็น ได้ว่า นาย สมศักดิ์ และ จำเลย ทั้ง สอง ให้การ โดย สมัครใจ ดัง จะ เห็น ได้ จาก นาย สมศักดิ์ ก็ เขียน คำให้การ ปฏิเสธ ได้ โดย ไม่ ถูก ข่มขู่ ให้ รับสารภาพ นาย สมชาย และ นาย สิทธิชัย พยานโจทก์ ผู้จับกุม เป็น เจ้าพนักงาน ปฏิบัติการ ไป ตาม หน้าที่ ที่ ได้รับ มอบหมาย ให้ ดำเนินการจับกุม ไม่มี สาเหตุ โกรธเคือง กับ จำเลย ที่ 2 และ ไม่ปรากฏ ว่า กระทำ เพื่อแสวงหา ประโยชน์ อื่น ใด จึง ไม่มี เหตุผล ที่ จะ ข่มขู่ จำเลย ที่ 2 ให้ รับสารภาพ เหตุ เกิดขึ้น ใน เวลา กลางวัน มี พยาน รู้เห็น การกระทำ ผิดทั้ง มี การ จับกุม ได้ พร้อม ด้วย ยา ม้า ของกลาง คดี มี พยานหลักฐานเพียงพอ ที่ จะ พิสูจน์ ความผิด ของ จำเลย ที่ 2 ได้ โดย ไม่จำต้อง ข่มขู่จำเลย ที่ 2 ให้ รับสารภาพ แต่อย่างใด พยานหลักฐาน ของ จำเลย ที่ 2ไม่สามารถ หักล้าง พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่าจำเลย ที่ 2 กับพวก ร่วมกัน มี ยา ม้า หรือ เมทแอมเฟตามีน ของกลาง ไว้ เพื่อ ขาย ตาม ฟ้อง ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น แต่ เนื่องจาก ภายหลังที่ 2 กระทำ ความผิด แล้ว ได้ มี พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อ จิตและ ประสาท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ซึ่ง แก้ไข เพิ่มเติม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ออก ใช้ บังคับ โดยเพิ่มเติม มาตรา 13 ทวิ ห้าม มิให้ ผู้ใด ผลิต ขาย นำเข้า หรือ ส่งออกซึ่ง วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2 แยก จาก เดิม ซึ่ง บัญญัติ รวม ไว้ ในมาตรา 13 และ แก้ไข โทษ ปรับ ขั้น สูง ตาม มาตรา 89 ให้ ต่ำ ลง จาก500,000 บาท เหลือ 400,000 บาท ถือว่า เป็น คุณ แก่ จำเลย จึง ต้อง ใช้บทบัญญัติ กฎหมาย ที่ แก้ไข เพิ่มเติม ใหม่ นี้ มา ปรับ แก่ คดี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 2 มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ , 89พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2535 มาตรา 9, 13 นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์

Share