แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยอุ้มผู้ตายไปจากบ้านย่าของผู้ตายจำเลยพูดจาดีไม่มีสติเลอะเลือนไม่มีอาการมึนเมาสุรามากแต่อย่างใดหลังจากข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายแล้วจำเลยกลัวว่าจะมีผู้มาพบศพผู้ตายจำเลยจึงนำศพผู้ตายไปกดให้จมลงติดโคลนใต้ผิวน้ำแสดงว่าจำเลยยังมีสติและความคิดที่จะเอาตัวรอดอยู่การที่จำเลยสมัครใจดื่มสุราเองและขณะกระทำความผิดแม้จะมีความมึนเมาสุราแต่ก็ยังมีสติดังนี้จำเลยจะอ้างว่ากระทำความผิดเพราะขาดสติสัมปชัญญะและไม่รู้ตัวไม่ได้ การกระทำความผิดครั้งแรกมิใช่เหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91, 289, 277, 277 ทวิ , 317
จำเลย ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคสอง , 277 ทวิ (2), 288, 317 วรรคสาม การกระทำของ จำเลย เป็น ความผิด สอง กรรม ต่างกัน ให้ เรียง กระทง ลงโทษลงโทษ ฐาน พราก เด็ก หญิง อายุ ไม่เกิน 15 ปี ไป เพื่อ การ อนาจารจำคุก 15 ปี ความผิด ฐาน ข่มขืน กระทำ ชำเรา และ ความผิด ฐานฆ่า ผู้อื่น โดย เจตนา ซึ่ง เป็น การกระทำ กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบทให้ ลงโทษ ฐาน ข่มขืน กระทำ ชำเรา ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277วรรคสอง , 277 ทวิ (2) ซึ่ง เป็น บทหนัก ที่สุด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ให้ ลงโทษ ประหารชีวิต จำเลย ถูกจับ กุม ได้ ใน ทันที ทันใดหลัง เกิดเหตุ และ พยานโจทก์ ที่ นำสืบ ล้วน เป็น พยาน ที่ ใกล้ชิด เหตุการณ์ลำพัง แต่เพียง คำพยาน โจทก์ สามารถ รับฟัง ลงโทษ จำเลย ได้ที่ จำเลย ให้การรับสารภาพ ก็ เนื่องจาก จำนน ต่อ พยานหลักฐาน คำให้การรับสารภาพ ของ จำเลย จึง ไม่เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา ไม่มี เหตุที่ จะ ลดโทษ ให้ จำเลย เมื่อ เรียง กระทง ลงโทษ ทั้ง สอง กระทง แล้วคง ให้ ประหารชีวิต สถาน เดียว ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
จำเลย อุทธรณ์ ขอให้ ลดโทษ
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย ฎีกา ขอให้ ลดโทษ โดย อ้าง เหตุ3 ประการ คือ 1. จำเลย กระทำ ความผิด ใน ขณะ มึนเมา สุราจน กระทั่ง ขาด สติสัมปชัญญะ และ ไม่รู้ ตัว 2. จำเลย รับสารภาพด้วย ความสมัครใจ มิใช่ จำนน ต่อ พยานหลักฐาน และ เป็น การ ลุแก่โทษต่อ เจ้าพนักงาน 3. จำเลย เพิ่ง กระทำ ความผิด เป็น ครั้งแรก สำหรับฎีกา ข้อ ที่ 1 ของ จำเลย นั้น โจทก์ มี นาง บุญเรียม เป็น พยาน เบิกความ ว่า พบ จำเลย อุ้ม ผู้ตาย ไป จาก บ้าน ย่า ของ ผู้ตาย จำเลย พูดจา ดี ไม่มี สติเลอะเลือน ไม่เห็น มี อาการ มึนเมา สุรา มาก แต่อย่างใด และ ได้ความจาก บันทึก คำให้การ ชั้นสอบสวน ของ จำเลย ว่า หลังจาก ข่มขืนกระทำ ชำเรา ผู้ตาย แล้ว จำเลย กลัว ว่า จะ มี ผู้ มา พบ ศพ ผู้ตาย จำเลย จึงนำ ศพ ผู้ตาย ไป กด ให้ จม ลง ติด โคลน ใต้ ผิว น้ำ แสดง ว่า จำเลย ยัง มี สติและ ความ คิด ที่ จะ เอา ตัว รอด อยู่ ศาลฎีกา เห็นว่า จำเลย สมัครใจ ดื่ม สุราเอง และ ขณะ กระทำ ความผิด แม้ จะ มี ความมึนเมา สุรา แต่ ก็ ยัง มี สติดังนี้ จะ อ้างว่า กระทำ ความผิด เพราะ ขาด สติสัมปชัญญะ และ ไม่รู้ ตัว ไม่ได้
สำหรับ ฎีกา ข้อ ที่ 2 ของ จำเลย ศาลฎีกา เห็นว่า โจทก์ มีประจักษ์พยาน เห็น จำเลย ตั้งแต่ จำเลย อุ้ม ผู้ตาย ออกจาก บ้าน มุ่งหน้าไป ที่เกิดเหตุ และ จับ จำเลย ได้ ใน บริเวณ ที่เกิดเหตุ นั้นเอง ใน เวลาใกล้เคียง ติดต่อ กับ เวลา เกิดเหตุ จะ ขาด ประจักษ์พยาน ก็ เพียง ตอนจำเลย ข่มขืน กระทำ ชำเรา ผู้ตาย แล้ว นำ ศพ ไป หมก โคลน เท่านั้น แต่ โจทก์มี พยานแวดล้อม คือ ร่องรอย การ ข่มขืน กระทำ ชำเรา ซึ่ง ปรากฏที่ บริเวณ อวัยวะเพศ ของ ผู้ตาย และ รอย เล็บ ที่ บริเวณ ใบหน้าและ หัว ไหล่ ขวา ของ จำเลย อัน สันนิษฐาน ได้ว่า เกิดจาก ผู้ตาย ข่วน จำเลยทั้ง การ หา ศพ ผู้ตาย พบ ก็ มิใช่ เกิดจาก การ นำ ชี้ หรือ คำรับสารภาพ ของจำเลย แต่ เกิดจาก การ ที่ ประจักษ์พยาน โจทก์ เห็น จำเลย อาบน้ำให้ ผู้ตาย ใน คูน้ำ ข้าง ถนน จึง ไป ค้นหา ตรง จุด นั้น ได้ความ จาก บิดา ผู้ตายและ พนักงานสอบสวน ว่า ขณะ อยู่ ใน ที่เกิดเหตุ จำเลย ให้การ ปฏิเสธแต่ ต่อมา หลังจาก นำ ศพ ผู้ตาย มา ชันสูตร ที่ โรงพยาบาล และ นำตัว จำเลยมาตรวจ จำเลย ให้การรับสารภาพ แสดง ว่า จำเลย รับสารภาพ เพราะจำนน ต่อ พยานหลักฐาน และ ถือไม่ได้ว่า เป็น การ บอกกล่าว ผิด ของ ตน เพื่อขอ ความ กรุณา อันเป็น การ ลุแก่โทษ
สำหรับ ฎีกา ข้อ ที่ 3. ของ จำเลย ที่ ว่า จำเลย เพิ่ง กระทำความผิด เป็น ครั้งแรก ศาลฎีกา เห็นว่า การ เพิ่ง กระทำ ความผิดเป็น ครั้งแรก ไม่ใช่เหตุ บรรเทา โทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78
พิพากษายืน