คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2534

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์จำเลยต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกที่ 5ซึ่งเป็นคำประดิษฐ์อักษรโรมันออกเสียงเหมือนกันว่า นิโคล ต่างกันแต่เพียงว่าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า NICOLE ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กว่า nicole เช่นนี้ ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อผิดหลงได้ เมื่อจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อน รวมทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วกับสินค้าจำพวก 38รวมทั้งโฆษณาสินค้าดังกล่าวทางเอกสารสิ่งตีพิมพ์มาตลอด ในขณะที่โจทก์มิได้กระทำเลย อีกทั้งโจทก์อ้างว่าได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากนิตยสารญี่ปุ่น เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้นอันจะถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของได้ กรีณีจึงถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับใช้กับสินค้าของโจทก์ อันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อหลงเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์เป็นของจำเลย แม้จะเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ย่อมทำให้จำเลยเสียหายได้ จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้ากระเป๋าทำด้วยผ้าใบออกจำหน่าย และได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NICOLE อ่านว่า นิโคล แต่จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า NICOLE ในสินค้าจำพวกที่ ๕๐ สำหรับสินค้ากระเป๋าทำด้วยผ้าใบแต่ผู้เดียว ให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอที่ ๑๓๖๘๗๘ หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาตามคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า nicคดีดำที่ พ.๑๔๖๑/๒๕๓๓ นายเจือ นิยมแก้ว กับพวก โจทก์คดีแดงที่ ๗๕๓/๒๕๓๔ นายคง พุ่มพวง กับพวก จำเลยป.พ.พ. มาตรา ๔๕๖ วรรคสองป.วิ.พ. มาตรา ๑๘๓
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์จำเลยให้การต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้งว่าโจทก์ตกลงขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๑ ได้ชำระเงินงวดแรกให้โจทก์แล้ว ส่วนที่เหลือตกลงจะชำระให้เมื่อโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ ๑ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องคำให้การแล้ว กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์ตกลงขายที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยชำระราคาบางส่วนแล้วจริงหรือไม่ จึงเป็นการกำหนดประเด็นอย่างกว้าง ๆ ตามคำให้การของจำเลย ซึ่งย่อมรวมถึงการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ จำเลยที่ ๑ที่ชำระราคาบางส่วน และที่เหลือเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ อันเป็นลักษณะของสัญญาจะซื้อจะขายนั่นเองการที่จำเลยทั้งสองนำสืบตามคำให้การและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองอยู่ในที่พิพาทโดยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงหาเป็นการนำสืบและวินิจฉัยนอกประเด็นไม่
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองได้เข้ามาอาศัยปลูกบ้านหลังหนึ่งในที่ดินดังกล่าวของโจทก์บางส่วน โดยตกลงว่าจะขออยู่อาศัยเพียง ๒ – ๓ ปี ต่อมากำหนดเวลาดังกล่าวล่วงเลยมานานแล้ว โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไป แต่จำเลยเพิกเฉย ทำให้โจทก์เสียหาย ที่ดินพิพาทหากโจทก์ให้ผู้อื่นเช่า จะได้ค่าเช่าอย่างต่ำเดือนละ ๒๐๐ บาทขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกจากที่ดินของโจทก์ ห้ามเกี่ยวข้องอีกต่อไปกับให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ ๒๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะออกจากที่ดินของโจทก์
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ตกลงขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ ๑ ในราคา๒๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๑ ชำระเงินให้โจทก์แล้ว ๑๔,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือตกลงจะชำระเมื่อโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ จำเลยปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยความยินยอมของโจทก์ ต่อมาโจทก์แจ้งจะขอเงินเพิ่มจากส่วนที่ยังค้างชำระเป็น ๒๔,๐๐๐ บาท และให้จำเลยที่ ๑ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการรังวัดแบ่งแยกที่ดิน เมื่อจำเลยที่ ๑ ไม่ยินยอม โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง จำเลยทั้งสองไม่ได้ขออาศัยโจทก์อยู่ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้ว คดีมีประเด็นพิพาทว่า
(๑) โจทก์ให้จำเลยทั้งสองปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาทนี้ หรือโจทก์ตกลงขายที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยชำระราคาบางส่วนแล้วจริงหรือไม่
(๒) โจทก์เสียหายหรือไม่
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่พิพากษายกฟ้อง
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ฎีกาอีกข้อหนึ่งว่า ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์หรือไม่ แต่จำเลยกลับนำสืบว่ามึการตกลงจะซื้อขายมีการชำระหนี้บางส่วน และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอันเป็นการนำสืบต่อสู้และวินิจฉัยนอกประเด็นนั้น เห็นว่าคดีนี

Share