แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์เคยถูกฟ้องเป็นจำเลยรวมสองสำนวนเรื่อง ละเมิดศาลเรียกจำเลยในคดีนี้เข้าเป็น จำเลยร่วมในคดีดังกล่าวและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าขณะเกิดเหตุรถโดยสารของโจทก์พลิกคว่ำโจทก์ยังไม่ได้ทำสัญญา ประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวกับจำเลยหลังเกิดเหตุโจทก์ให้จำเลยออกกรมธรรม์คุ้มครองย้อนหลังไปถึงวันเกิดเหตุโดยไม่บอกความจริงว่ารถยนต์เกิดอุบัติเหตุแล้วสัญญาประกันภัยจึงตกเป็น โมฆียะ เมื่อจำเลย บอกล้างสัญญาประกันภัยย่อมสิ้นความผูกพันและ คดีถึงที่สุดไปแล้วดังนี้การที่โจทก์นำสัญญาประกันภัยในรถยนต์คันเดียวกันมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกหาชอบไม่เพราะโจทก์เป็น คู่ความในกระบวนพิจารณาคำพิพากษามีผลผูกพันโจทก์โจทก์จะโต้แย้งว่าสัญญาประกันภัยยังมีผลบังคับและจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรก
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 9 สิงหาคม 2528 จำเลยได้ ตกลง ทำ สัญญา รับประกัน ภัย ค้ำจุน รถยนต์ ไว้ กับ โจทก์ และ ได้ ออกกรมธรรม์ประกันภัย ให้ ไว้ 2 ฉบับ เริ่ม มีผล ตั้งแต่ วันที่ 9 สิงหาคม2528 เวลา 00.01 นาฬิกา และ สิ้นสุด วันที่ 9 สิงหาคม 2529 เวลา00.01 นาฬิกา โจทก์ ได้ ชำระ เบี้ยประกัน ตาม กรมธรรม์ ทั้ง สอง ฉบับครบถ้วน แล้ว ต่อมา วันที่ 12 สิงหาคม 2528 รถยนต์โดยสาร คัน ที่เอา ประกันภัย ไว้ ได้ เกิด อุบัติเหตุ พลิกคว่ำ ที่ บริเวณ หลัก กิโลเมตร ที่432 ตำบล ทรายทอง อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ขณะที่ รับ ผู้โดยสาร จาก จังหวัด นครศรีธรรมราช มุ่ง สู่ กรุงเทพมหานครเป็นเหตุ ให้ มี ผู้ตาย และ บาดเจ็บ หลาย ราย โจทก์ ได้ จ่าย ค่าสินไหมทดแทน แก่ทายาท ผู้โดยสาร ไป แล้ว จำเลย จึง ต้อง รับผิด ตาม กรมธรรม์ประกันภัยทั้ง สอง ฉบับ เป็น เงิน 1,302,420 บาท หลังจาก โจทก์ แจ้ง เรื่องอุบัติเหตุ แล้ว จำเลย เพิกเฉย ขอให้ ศาล บังคับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน1,497,783 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน1,302,420 บาท นับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เงิน เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า กรมธรรม์ประกันภัย ลงวันที่14 สิงหาคม 2528 แต่ อุบัติเหตุ เกิด วันที่ 12 สิงหาคม 2528 สัญญาประกันภัย จึง ตกเป็น โมฆะ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน 1,252,420 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 14 สิงหาคม 2531เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เงิน เสร็จ แก่ โจทก์ ให้ ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมแทน โจทก์ โดย กำหนด ค่า ทนายความ ให้ 15,000 บาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ปรากฏว่า โจทก์ คดี นี้ เคย ถูกนาง อัตรา กาญจนธานี กับพวก (สำนวน แรก ) และ นาย ประภาส กาญจนธานี (สำนวน ที่ สอง ) ฟ้อง เป็น จำเลย ที่ 2 รวม สอง สำนวน เรื่อง ละเมิดโดย คำฟ้อง ระบุ ว่า รถยนต์โดยสาร ประจำทาง ปรับ อากาศ ของ จำเลยที่ 2 หมายเลข ทะเบียน 10-0148 กรุงเทพมหานคร เกิด อุบัติเหตุ พลิกคว่ำที่ บริเวณ หลัก กิโลเมตร ที่ 432 ตำบล ทรายทอง อำเภอสะพานน้อย จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ วันที่ 12 สิงหาคม 2528 ขอให้ จำเลยที่ 2 ใน ฐานะ เจ้าของ รถยนต์ คัน ดังกล่าว และ นายจ้าง ชำระ ค่าสินไหมทดแทนโจทก์ ซึ่ง เป็น จำเลย ที่ 2 ใน คดี ทั้ง สอง สำนวน ดังกล่าว ให้การ ต่อสู้ คดีและ ว่า บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์อินชัวรันส์ จำกัด (จำเลย คดี นี้ ) ได้รับ ประกันภัย รถยนต์โดยสาร ประจำทาง ปรับ อากาศ คัน ดังกล่าว ไว้ จากจำเลย ที่ 2 จึง มี หน้าที่ ต้อง ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน แทน จำเลย ที่ 2ตาม สัญญาประกันภัย และ ได้ ขอให้ ศาล หมายเรียก บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์อินชัวรันส์ จำกัด เข้า มา เป็น จำเลยร่วม ศาลชั้นต้น ได้ ออกหมาย เรียก บริษัท ดังกล่าว เข้า มา เป็น จำเลยร่วม ทั้ง สอง สำนวนจำเลยร่วม ทั้ง สอง สำนวน ได้ ให้การ ต่อสู้ คดี ว่า จำเลย ที่ 2 ใช้ กลฉ้อฉลและ ปกปิด ข้อเท็จจริง เพื่อ ให้ จำเลยร่วม ออก กรมธรรม์ประกันภัย รถยนต์โดยสาร ประจำทาง ปรับ อากาศ หมายเลข ทะเบียน 10-0148 กรุงเทพมหานครให้ หลังจาก ที่ ภัย ได้ เกิดขึ้น แล้ว สัญญา ตาม ข้อตกลง ใน กรมธรรม์ประกันภัยจึง เป็น โมฆะ และ กรมธรรม์ ได้ ยกเลิก แล้ว จำเลยร่วม จึง ไม่ต้อง รับผิดคดี ดังกล่าว ทั้ง สอง สำนวน ถึงที่สุด ชั้น ศาลอุทธรณ์ ตาม คดี หมายเลขแดง ที่2711-2712/2534 โดย ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง อันเป็น ประเด็นข้อพิพาท ใน คดี ว่า ขณะ เกิดเหตุ รถยนต์โดยสาร ประจำทาง ปรับ อากาศหมายเลข ทะเบียน 10-0148 กรุงเทพมหานคร ของ จำเลย ที่ 2 พลิกคว่ำ นั้นจำเลย ที่ 2 ยัง มิได้ ตกลง ทำ สัญญาประกันภัย รถยนต์ คัน ดังกล่าวไว้ กับ จำเลยร่วม จำเลย ที่ 2 มา ตกลง ขอ ทำ สัญญาประกันภัย ภายหลังรถยนต์ คัน นั้น ได้ เกิดเหตุ แล้ว โดย ให้ จำเลยร่วม ออก กรมธรรม์ คุ้มครองย้อนหลัง ไป ถึง วัน ก่อน เกิดเหตุ โดย มิได้ บอก ว่า รถยนต์ เกิด อุบัติเหตุแล้ว หลัง วันที่ ลง ย้อนหลัง ใน กรมธรรม์ ทำให้ จำเลยร่วม หลง เข้า ทำสัญญาประกันภัย รถยนต์ คัน เกิดเหตุ ด้วย สัญญาประกันภัย จึง เป็น โมฆียะเมื่อ จำเลย ที่ 2 แจ้ง อุบัติเหตุ ให้ ทราบ จำเลยร่วม ก็ บอกเลิก สัญญาประกันภัย และ ขอ กรมธรรม์ คืน ทันที อัน มีผล เท่ากับ บอกล้าง สัญญาประกันภัยแล้ว สัญญาประกันภัย จึง สิ้น ความผูกพัน จำเลยร่วม จึง ไม่ต้อง รับผิดดังนี้ เมื่อ รถยนต์ คัน ที่ เอา ประกันภัย และ สัญญาประกันภัย ใน คดีดังกล่าว เป็น รถยนต์ คัน เดียว และ สัญญา เดียว กัน กับ ใน คดี นี้ แม้ ว่า ใน คดีดังกล่าว โจทก์ คดี นี้ จะ เป็น จำเลย ที่ 2 และ จำเลย คดี นี้ จะ เป็น จำเลยร่วมก็ ต้อง ถือว่า โจทก์ เป็น คู่ความ ใน กระบวนพิจารณา ของ ศาล ใน คดี ดังกล่าวด้วย คำพิพากษา ใน คดี นั้น จึง มีผล ผูกพัน โจทก์ ว่า สัญญาประกันภัยระหว่าง โจทก์ และ จำเลย เป็น โมฆียะ และ จำเลย ได้ บอกล้าง แล้ว ทำให้สัญญาประกันภัย สิ้น ความผูกพัน โจทก์ จะ โต้แย้ง ว่า สัญญาประกันภัยยัง มีผล ใช้ บังคับ และ จำเลย จะ ต้อง รับผิด ตาม สัญญา ดังกล่าว อยู่ อีก หาได้ไม่ เพราะ ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145วรรคแรก จำเลย จึง ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ตาม สัญญาประกันภัยแก่ โจทก์ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกาฎีกา ของ จำเลย ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์