คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2500

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การแห่นาคไปวัดเพื่อจะทำการอุปสมบท เป็นการกระทำตามประเพณีนิยมของชนบางหมู่ ยังไม่ถึงขั้นกระทำพิธีกรรมทางศาสนา ตามความหมายใน ม.173.

ย่อยาว

เรื่อง ก่อความวุ่นวายในพิธีกรรมทางศาสนา พกอาวุธ ใช้ของโสโครกขว้างปาผู้อื่น
โจทก์ฟ้องว่าขณะที่ศาสนิกชนกำลังประชุมกันกระทำพิธีแห่นาครวม ๒ นาค ไปตามถนนหลวง อันเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งตามลัทธิพุทธศาสนาเพื่อทำการอุปสมบทนาคทั้ง ๖นาค เป็นพระภิกษุ ณ วัดเชิงแสเหนือ จำเลยได้บังอาจเมาสุรา ประพฤติกริยาอาการวุ่นวายขึ้นในท้องถนนหลวงและในที่สาธารสถาน และจำเลยได้ชักอาวุธมีดออกมาร่ายรำไล่แทงผู้คนในขบวนแห่นาคเป็นที่หวาดเสียว + สาธารณชน และออกมาสกัดขวางหน้าขบวนนาค แล้วจำเลยได้ใช้น้ำโคลนซึ่งเป็นของโสโครกสาดปาเข้าใส่หมู่ศาสนิกชนดังกล่าว ทำให้เกิดความวุ่นวายแตกตื่นขึ้นในที่ประชุมนั้น
จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.๓๓๕(๒) พ.ร.บ.แก้ไขเปลี่ยนแปลง ก.ม.ลักษณะอาญา ม.๓๓
ข้อ ๒ ม.๑,ก.ม.ลักษณะอาญา ม.๓๓๕ (๑๓), ๓๓๘(๑) ลดตามม.๕๙ แล้วรวมโทษทุกกระทงปรับ ๓๐ บาท ค่าปรับจัดการตาม ม.๑๘ ส่วนที่ขอให้ลงโทษตาม ม.๑๗๒ ฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในเวลาศาสนิกชนประชุมกันทำพิธีกรรมตามลั่ทธิศาสนานั้นให้ยก
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.+
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาว่าข้อวินิจฉัยในชั้นนี้คงมีว่า การแห่นาคไปตามถนนหลวง เป็นการประชุมกระทำพิธีกรรมตามลัทธิศาสนาของพุทธศาสนิกชนที่บัญญัติไว้ตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.๑๗๓ หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า การแห่นาคไปวัดเพื่อจะทำการอุปสมบท เป็นการกระทำตามประเพณีนิยมของชนบางหมู่ ยังไม่ถึงขั้นกระทำพิธีกรรมทางศาสนาตามความหมายแห่งตัวบท จำเลยยังไม่มีผิดในฐานนี้
ศาลฎีกาพิพากษายืน.

Share