แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายและมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายกับให้ลูกหนี้มีอำนาจเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา63ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากภาวะล้มละลายและมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินได้ต่อไปและการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบแล้วย่อมผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา63ประกอบมาตรา56ดังนั้นลูกหนี้จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายเท่านั้นและถ้าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะรายงานต่อศาลให้มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา63ประกอบมาตรา60เจ้าหนี้จะยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขการประนอมหนี้โดยให้ลูกหนี้นำเงินที่มีสิทธิจะได้จากการขายทอดตลาดในคดีแพ่งมาชำระหนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หาได้ไม่เพราะเท่ากับเป็นการขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนอกเหนือไปจากอำนาจหน้าที่และเป็นการเข้าไปจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้โดยตรงในขณะที่ลูกหนี้หลุดพ้นจากการล้มละลายแล้วไม่ว่าภายหลังจากนั้นจะเกิดมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างไรและแม้จะมีผลทำให้เจ้าหนี้สามารถได้รับชำระหนี้ได้เร็วกว่าที่ลูกหนี้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ก็ไม่อาจร้องขอให้นัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขข้อตกลงประนอมหนี้นอกเหนือไปจากที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้นั้นได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเรียกประชุมเจ้าหนี้
ย่อยาว
คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลูกหนี้ (จำเลย ) ล้มละลายศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ เด็ดขาด เมื่อ วันที่21 พฤศจิกายน 2527 และ พิพากษา ให้ ลูกหนี้ เป็น บุคคล ล้มละลายเมื่อ วันที่ 29 ตุลาคม 2528 ต่อมา เมื่อ วันที่ 29 เมษายน 2530ลูกหนี้ ขอประนอมหนี้ ภายหลัง ล้มละลาย ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่งเห็นชอบ ด้วย การ ประนอมหนี้ ภายหลัง ล้มละลาย ของ ลูกหนี้ และ ให้ยก เลิกการ ล้มละลาย ให้ ลูกหนี้ กลับ มีอำนาจ จัดการ เกี่ยวกับ ทรัพย์สินของ ตนเอง ได้
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง เป็น เจ้าหนี้ ผู้เป็น โจทก์ แทน โจทก์เดิม ลูกหนี้ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 7459,7460, 7461 และ 7462 แขวง ราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ร่วม กับ นาย สมบูรณ์ ไชยสงวนมิตต์ จำเลย ที่ 2 ใน คดีแพ่ง ของ ศาลชั้นต้น หมายเลขแดง ที่ 6013/2533ระหว่าง ธนาคาร ทหารไทย จำกัด โจทก์ บริษัท สุวรรณหงส์ อิเลคทริค จำกัด กับพวก จำเลย ซึ่ง เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ยึด ไว้และ อยู่ ระหว่าง ดำเนินการ ขายทอดตลาด ซึ่ง ลูกหนี้ มีสิทธิ รับ เงินที่ ได้ จาก การ ขายทอดตลาด ไม่ น้อยกว่า ครึ่ง หนึ่ง เป็น เงิน 1,100,000บาท ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ขอให้ นัด ประชุมเจ้าหนี้ เพื่อ พิจารณา เพิ่มเติม เงื่อนไข การ ประนอมหนี้ โดย ให้ ลูกหนี้นำ เงิน ที่ มีสิทธิ จะ ได้ จาก การ ขายทอดตลาด ดังกล่าว มา ชำระหนี้แก่ กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ต่อไป เพื่อ บรรเทา ความเสียหายของ เจ้าหนี้ ที่ จะ ได้รับ ชำระหนี้ เนิ่นช้า เกินสมควร และ ทำให้ ภาระหนี้สิน ของ ลูกหนี้ ต่อ เจ้าหนี้ เสร็จสิ้น เร็ว ขึ้น ส่วน เงื่อนไข การผ่อนชำระ เดือน ละ 50,000 บาท คง ให้ เป็น ไป ตาม ข้อตกลงประนอมหนี้ เดิม แต่ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เห็นว่า ลูกหนี้ ปฏิบัติตาม เงื่อนไข ใน การ ชำระหนี้ ไม่มี เหตุ ยกเลิก หรือ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ใน คำขอ ประนอมหนี้ และ มี คำสั่ง ยกคำร้อง ของ ผู้ร้องผู้ร้อง ไม่เห็น ด้วย กับ คำสั่ง เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ขอให้ มี คำสั่งให้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เรียก ประชุม เจ้าหนี้ เพื่อ พิจารณาเพิ่มเติม เงื่อนไข ใน การ ประนอมหนี้ โดย ให้ ลูกหนี้ นำ เงิน ที่ มีสิทธิ จะ ได้รับ จาก การ ขายทอดตลาด ใน คดีแพ่ง ของ ศาลชั้นต้น หมายเลขแดงที่ 6013/2533 มา ชำระหนี้ ให้ แก่ เจ้าหนี้ และ ให้ ลูกหนี้ ปฏิบัติตาม เงื่อนไข เดิม ต่อไป
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง อนุญาต ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรียก ประชุม เจ้าหนี้ ให้ ตาม คำร้อง
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก คำร้องขอ งเจ้าหนี้
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เมื่อ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง เห็นชอบ ด้วย การประนอมหนี้ ภายหลัง ล้มละลาย ของ ลูกหนี้ และ มี คำสั่ง ให้ยก เลิกการ ล้มละลาย กับ ให้ ลูกหนี้ กลับ มีอำนาจ จัดการ เกี่ยวกับ ทรัพย์สินของ ตน ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 63 ลูกหนี้ย่อม หลุดพ้น จาก ภาวะ ล้มละลาย และ มีอำนาจ จัดการ เกี่ยวกับ กิจการและ ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ได้ ต่อไป และ การ ประนอมหนี้ ภายหลัง ล้มละลายซึ่ง ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ได้ ยอมรับ และ ศาล เห็นชอบ แล้ว ก็ ผูกมัดเจ้าหนี้ ทั้งหมด ใน เรื่อง หนี้ ซึ่ง อาจ ขอรับ ชำระหนี้ ได้ ตาม มาตรา 63ประกอบ มาตรา 56 ดังนั้น ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ คดีล้มละลาย ลูกหนี้จึง มี หน้าที่ ที่ จะ ต้อง ชำระหนี้ ตาม ที่ ได้ ตกลง ไว้ ใน การ ประนอมหนี้ภายหลัง ล้มละลาย เท่านั้น ส่วน เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ก็ ยัง คง มีอำนาจ หน้าที่ อีก บาง ประการ โดยเฉพาะ ตาม ที่ พระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 63 ประกอบ มาตรา 60 กำหนด ไว้ คือ ถ้าลูกหนี้ ผิดนัด ไม่ชำระ หนี้ ตาม ที่ ได้ ตกลง ไว้ ใน การ ประนอมหนี้ ภายหลังล้มละลาย เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ชอบ ที่ จะ รายงาน ต่อ ศาล ให้ มี คำสั่งยกเลิก การ ประนอมหนี้ และ พิพากษา ให้ ลูกหนี้ ล้มละลาย การ ที่ ผู้ร้องยื่น คำร้องขอ ให้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เรียก ประชุม เจ้าหนี้ เพื่อเพิ่มเติม เงื่อนไข การ ประนอมหนี้ โดย ให้ ลูกหนี้ นำ เงิน ที่ มีสิทธิ ได้รับ จาก การ ขายทอดตลาด ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 6013/2533ของ ศาลชั้นต้น มา ชำระหนี้ ให้ แก่ กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ เท่ากับเป็น การ ขอให้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ดำเนินการ นอกเหนือ ไป จากอำนาจ หน้าที่ ที่ มี อยู่ ตาม กฎหมาย และ มีผล เท่ากับ เป็น การ เข้า ไป จัดการทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ โดยตรง ใน ขณะที่ ลูกหนี้ หลุดพ้น จาก ภาวะ ล้มละลายแล้ว อันเป็น การ ฝ่าฝืน กฎหมาย ดัง วินิจฉัย มา แล้ว ที่ ผู้ร้องฎีกา ว่าการ ที่ ลูกหนี้ มีสิทธิ ที่ จะ ได้รับ เงิน ใน คดีแพ่ง ดังกล่าว เป็นข้อเท็จจริง เกิดขึ้น ใหม่ เปลี่ยนแปลง ไป ตราบใด ที่ ไม่ กระทบ กระเทือนข้อตกลง ประนอมหนี้ ก็ สามารถ นัด ประชุม เจ้าหนี้ เพื่อ เพิ่มเติมเงื่อนไข การ ประนอมหนี้ ได้ นั้น เห็นว่า เมื่อ การ ประนอมหนี้ซึ่ง ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ได้ ยอมรับ และ ศาล เห็นชอบ ด้วย ผูกมัด เจ้าหนี้ทั้งหมด ใน เรื่อง หนี้ ซึ่ง อาจ ขอรับ ชำระหนี้ ได้ และ ลูกหนี้ มี หน้าที่ต้อง ชำระหนี้ ตาม ข้อตกลง ใน การ ประนอมหนี้ นั้น แล้ว ไม่ว่า ภายหลังจาก นั้น จะ เกิด มี ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ อย่างไรแม้ จะ มีผล ทำให้ เจ้าหนี้ สามารถ ได้รับ ชำระหนี้ ได้ เร็ว กว่า ที่ลูกหนี้ ตกลง ไว้ ใน การ ประนอมหนี้ ก็ ไม่อาจ นัด ประชุม เจ้าหนี้ เพื่อเพิ่มเติม เงื่อนไข ข้อตกลง ประนอมหนี้ นอกเหนือ ไป จาก ที่ ลูกหนี้ได้ ตกลง ไว้ ใน การ ประนอมหนี้ นั้น ได้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์จึง ไม่มี อำนาจ ที่ จะ เรียก ประชุม เจ้าหนี้ ได้ ตาม คำร้อง ที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ผู้ร้อง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน