คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลและให้จำเลยที่1โอนขายที่พิพาทให้โจทก์ที่1เนื้อที่ประมาณ71ตารางวา ในราคาตารางวาละ250บาทรวมเป็นเงิน17,750บาทตามสัญญาจะซื้อจะขายและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน10,000บาทโดยเสียค่าขึ้นศาลในส่วนของที่พิพาทในราคาตารางวาละ250บาทตามสัญญาจะซื้อจะขายศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลยังไม่ครบถ้วนโดยไม่ได้คำนวณราคาที่พิพาทจึงให้โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลให้ครบต่อมาได้มีการ คำนวณราคาที่พิพาทตารางวาละ1,000บาทรวมเป็นราคาที่พิพาท71,000บาทค่าเสียหายอีก10,000บาทรวมเป็น81,000บาทซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในคดีนี้ดังนั้นจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในคดี ขณะยื่นคำฟ้องจึงเกินกว่า50,000บาทไม่ใช่ถือเอาทุนทรัพย์หรือราคาตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยเห็นว่าจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน50,000บาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งจึงไม่ชอบทั้งเป็นคดีที่ ต้องห้ามฎีกาใน ข้อเท็จจริง ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวตามลำดับชั้นศาล

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 25 กันยายน 2531 โจทก์ ที่ 1 ได้ ทำสัญญา จะซื้อ ที่พิพาท เนื้อที่ ประมาณ 71 ตารางวา ซึ่ง เป็น ส่วน หนึ่งของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 12032 จาก จำเลย ที่ 1 เพื่อ ใช้ เป็น ทาง เข้า ออกสำหรับ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 11590 ของ โจทก์ ที่ 2 ต่อมา วันที่ 20กุมภาพันธ์ 2533 จำเลย ที่ 1 ได้ จดทะเบียน โอน ที่ดิน ตาม โฉนดเลขที่ 12032 ทั้ง แปลง ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 โดย สมคบ กัน ฉ้อฉลทำให้ โจทก์ ทั้ง สอง ต้อง เสียเปรียบ และ ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ศาล เพิกถอน การ จดทะเบียน ซื้อ ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 12032 ระหว่างจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้ จำเลย ที่ 1 ดำเนินการ แบ่งแยก ที่ดิน ส่วนที่พิพาท ออกจาก ที่ดิน โฉนด ดังกล่าว แล้ว จดทะเบียน โอน ขาย ที่พิพาทให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 และ รับ ชำระ ราคา ที่พิพาท ที่ ยัง เหลือ อยู่ อีก12,750 บาท จาก โจทก์ ที่ 1 หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ ดำเนินการ แบ่งแยกและ ไม่ จดทะเบียน โอน ขาย ก็ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของจำเลย ที่ 1 กับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ ค่าเสียหาย จำนวน 10,000 บาทแก่ โจทก์ ทั้ง สอง ถ้า จำเลย ที่ 1 ไม่สามารถ โอน ขาย ที่พิพาท ให้แก่ โจทก์ ที่ 1 ได้ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย จำนวน10,000 บาท และ ใช้ ค่าเสียหาย อัน เนื่องจาก ราคา ที่พิพาท สูง ขึ้นเป็น เงิน 53,250 บาท แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ให้ จำเลย ที่ 1 คืนเงินมัดจำ 5,000 บาท แก่ โจทก์ ที่ 1 และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันชำระ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 68,250 บาทนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ทำ สัญญาจะขาย ที่พิพาทให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 จริง แต่ ไม่อาจ โอน กรรมสิทธิ์ ให้ ได้ เพราะ ได้ ทำสัญญา ขาย ที่ดิน ทั้ง แปลง ซึ่ง รวม ถึง ที่พิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ไป แล้วโดย จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ แจ้ง ให้ จำเลย ที่ 2 ทราบ ถึง เรื่อง ที่จำเลย ที่ 1 มี สัญญาจะซื้อจะขาย ที่พิพาท กับ โจทก์ ที่ 1 โจทก์ ทั้ง สองไม่เสีย หาย ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า โจทก์ ที่ 2 ไม่มี ผลประโยชน์ ร่วมกัน กับโจทก์ ที่ 1 ใน มูล ความ แห่ง คดี โจทก์ ที่ 2 จึง ไม่มี อำนาจฟ้องสัญญาจะซื้อจะขาย ที่พิพาท ระหว่าง จำเลย ที่ 1 และ โจทก์ ที่ 2ได้ สิ้น ความผูกพัน ไป แล้ว เพราะ โจทก์ ที่ 1 ผิดนัด ผิดสัญญา ไม่ไปดำเนินการ จดทะเบียน ตาม วันที่ กำหนด ไว้ จำเลย ที่ 2 ซื้อ ที่พิพาท จากจำเลย ที่ 1 โดยสุจริต โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ได้ รับ ความเสียหาย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน นิติกรรม ซื้อ ขาย ที่ดิน โฉนดเลขที่ 12032 ระหว่าง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เฉพาะ ใน ส่วน ที่พิพาทเนื้อที่ ประมาณ 70.90 ตารางวา ซึ่ง อยู่ ทาง ทิศเหนือ ของ โฉนด ตามแผนที่ เอกสาร หมาย จ. 21 ให้ เป็น ชื่อ ของ จำเลย ที่ 1 และ ให้จำเลย ที่ 1 จดทะเบียน โอน ขาย ที่พิพาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 โดย ให้โจทก์ ที่ 1 ชำระ ราคา ที่พิพาท ที่ ยัง เหลือ อยู่ อีก 12,750 บาทให้ แก่ จำเลย ที่ 1 หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษาแทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ที่ 1 ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงินค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ที่ 1 เป็น เงิน 10,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จคำขอ นอกนั้น ให้ยก
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า คดี นี้ จำนวนทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน ห้า หมื่น บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์ ว่า ข้อเท็จจริงที่ โจทก์ ทั้ง สอง นำสืบ มา ยัง รับฟัง ไม่ได้ ว่า โจทก์ ที่ 1ได้ ไถ ทำ ทาง ที่พิพาท ใน ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 จึง ถือไม่ได้ว่าจำเลย ที่ 2 ซื้อ ที่พิพาท จาก จำเลย ที่ 1 โดยสุจริต และ อุทธรณ์ใน ข้อ ที่ ว่า สัญญาจะซื้อจะขาย ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1สิ้น ความผูกพัน เนื่องจาก คู่กรณี ได้ เลิกสัญญา กัน แล้ว นั้น เป็นอุทธรณ์ ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ ไม่รับ วินิจฉัย ให้ นั้นเป็น การ ชอบ หรือไม่ เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ทั้ง สอง ขอให้ เพิกถอนการ ฉ้อฉล และ ให้ จำเลย ที่ 1 โอน ขาย ที่พิพาท ให้ โจทก์ ที่ 1เนื้อที่ ประมาณ 71 ตารางวา ใน ราคา ตารางวา ละ 250 บาท รวมเป็น เงิน17,750 บาท ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันชดใช้ ค่าเสียหาย เป็น เงิน 10,000 บาท โดย มี ราคา ทุนทรัพย์ที่ เรียกร้อง ใน ขณะ ยื่น คำฟ้อง เป็น เงิน 68,250 บาท ถึง วันนัดชี้สองสถาน ศาลชั้นต้น เห็นว่า โจทก์ ทั้ง สอง เสีย ค่าขึ้นศาล ยังไม่ครบ ถ้วน โดย ไม่ได้ คำนวณ ราคา ที่พิพาท จึง ให้ โจทก์ ทั้ง สอง เสียค่าขึ้นศาล ให้ ครบ ต่อมา โจทก์ ทั้ง สอง ยื่น คำแถลง ลงวันที่ 30 กันยายน2534 ว่า ที่พิพาท มี ราคา ตารางวา ละ 1,000 บาท รวมเป็น เงิน71,000 บาท ค่าเสียหาย อีก 10,000 บาท รวมเป็น 81,000 บาทถือ เป็น ทุนทรัพย์ ใน คดี นี้ ศาลชั้นต้น เห็นชอบ ด้วย ดังนั้น จำนวนทุนทรัพย์ ที่ เรียกร้อง หรือ ราคา ทรัพย์สิน ที่พิพาท ใน คดี ใน ขณะ ยื่นคำฟ้อง จึง เกินกว่า 50,000 บาท ไม่ใช่ ถือเอา ทุนทรัพย์ หรือราคา ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่รับ วินิจฉัย ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ชอบ ทั้ง เป็น คดี ที่ ต้องห้ามฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ศาลฎีกา เห็นสมควร ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว ตามลำดับ ชั้น ศาล เสีย ก่อน ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ข้อ อื่น ๆ ของ จำเลย ที่ 2 ไม่จำต้อง วินิจฉัย ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณา พิพากษา ใหม่

Share