คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2496

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และปรากฎว่าลูกหนี้มีที่ดินอยู่ 1 แปลง ขายฝากแก่เขาไว้ ยัง ไม่ท่วมราคาที่ดินแต่ลูกหนี้ไม่ยอมไถ่ถอน ดังนี้เจ้าหน้าย่อมมีสิทธิใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้แทนลูกหนี้ ฟ้องขอ ไถ่ถอนที่ดินนั้นได้ และในการฟ้องคดีดังกล่าวแม้เจ้าหนี้จะเป็นโจทก์ฟ้องลูกหนี้และผู้รับซื้อฝากที่ดินไว้เป็นจำเลย ด้วยกัน ก็ถือได้ว่าเป็นการขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีด้วยแล้ว ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 234 หาจำต้อง หมายเรียกลูกหนี้มาในคดีในฐานะเป็นโจทก์เสมอไปไม่./

ย่อยาว

คดีนี้ เนื่องจากจำเลยที่ ๑ ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษา ปรากฎว่าจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาขายฝากที่นาของจำเลย ที่ ๑ แก่จำเลยที่ ๒ ไว้ เงินที่ขายฝากยังหาท่วมราคาที่ดินไม่โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ เป็นจำเลย โดยโจทก์ขอสวมสิทธิ จำเลยที่ ๑ ขอไถ่ถอนที่ดินรายนี้คืนจากจำเลยที่ ๒ ฯลฯ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์เข้าสวมสิทธิของลูกหนี้คือจำเลยที่ ๑ ไถ่ถอนที่ดินที่ขายฝากจากจำเลยที่ ๒ ได้ และให้จำเลย ที่ ๒ ยอมให้ไถ่ถอนได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยทั้ง ๒ ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้ ตามฟ้องก็แสดงชัดแล้วว่า โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์แทนจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นลูกหนี้ กล่าวคือ เป็นการฟ้องขอสวมสิทธิของจำเลยที่ ๑ เพื่อไถ่ถอนการขายฝากที่จำเลยที่ ๑ ทำไว้แก่จำเลยที่ ๒ แทนจำเลยที่ ๑ การที่ ฟ้องจำเลยที่ ๑ ด้วย ก็เพราะจำเลยที่ ๑ เพิกเฉยไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้อง และในกรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นการขอ หมายเรียกลูกหนี้ (คือจำเลยที่ ๑) มาในคดีด้วยแล้ว ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๓๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ หาจำต้องหมายเรียกลูกหนี้มาในคดีในฐานะเป็นโจทก์เสมอไปไม่
จึงพิพากษายืน./

Share