คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่3ชักปืนออกจากหน้าท้องส่งให้จำเลยที่1จึงเชื่อได้ว่าจำเลยที่3มีไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตซึ่งอาวุธปืนของกลางและพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรจำเลยที่3ฎีกาว่าจำเลยที่3ถือปืนไว้ชั่วคราวมิได้มีเจตนายึดถือเพื่อตนจึงไม่ถือว่าจำเลยที่3เป็นผู้ครอบครองอาวุธปืนไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯนั้นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่3ยกขึ้นมาเป็นข้อฎีกาเพื่อปรับบทความผิดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเป็นฎีกาที่ให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงต่างกับที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่3ในความผิดกระทงแรกจำคุก2ปีกระทงหลังจำคุก1ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนฎีกาของจำเลยที่3จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้. จำเลยที่3มีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองแล้วพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะนั้นเห็นได้ว่ามีเจตนาที่จะทำให้เกิดผลเป็นความผิดหลายอย่างต่างกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สี่ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา80, 83, 91, 288, 295, 371, 391 พระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 8ทวิ, 72, 72 ทวิ และ ริบ ของกลาง
จำเลย ทั้ง สี่ ให้การ ปฏิเสธ แต่ จำเลย ที่ 1 ให้การ รับสารภาพฐานมีอาวุธปืน และ รับ ว่า ได้ ใช้ อาวุธปืน ยิง จริง แต่ มิได้ มีเจตนา ฆ่า
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 3 มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 กระทงหนึ่ง ให้ จำคุก คนละ 2 ปีข้อหา ตาม มาตรา 8 ทวิ, 72 ทวิ และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ให้ลงโทษ ตาม มาตรา 8 ทวิ, 72 ทวิ อัน เป็น กระทง (น่า จะ เป็น บท)หนักที่สุด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 อีก กระทง หนึ่ง ให้ จำคุกคนละ 1 ปี รวม จำคุก คนละ 3 ปี จำเลย ที่ 1 ให้การ รับสารภาพ ลดโทษ ให้ตาม มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คง จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 1 ปี 6 เดือนข้อหา พยายาม ฆ่า สำหรับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ให้ ยกฟ้อง คดี สำหรับจำเลย ที่ 2 ที่ 4 ให้ ยกฟ้อง ริบ ของกลาง แต่ มีด ของกลาง คืน เจ้าของ
โจทก์ และ จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 3 ว่า การกระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิด ฐานมีอาวุธปืน ไว้ ใน ครองครอง โดย มิได้รับอนุญาต และ ฐาน พา อาวุธปืน ไป ใน เมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยไม่ มี เหตุ สมควร หรือไม่ และ ความผิด ของ จำเลย เป็น ความผิดกรรมเดียว กัน หรือไม่ ใน ปัญหา แรก นั้น ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริงว่า จำเลย ที่ 3 ชัก ปืน ออก จาก หน้าท้อง ส่ง ให้ จำเลย ที่ 1 จึงเชื่อ ได้ ว่า จำเลย ที่ 3 มี ไว้ ใน ครอบครอง โดย มิได้ รับ อนุญาตซึ่ง อาวุธปืน ของกลาง และ พา อาวุธปืน ดังกล่าว ไป ในเมือง หมู่บ้านทางสาธารณะ โดย ไม่ มี เหตุ สมควร จำเลย ที่ 3 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 3ถือ ปืน ไว้ ชั่วคราว มิได้ มี เจตนา ยึดถือ เพื่อ ตน จึง ไม่ ถือ ว่าจำเลย ที่ 3 เป็น ผู้ ครอบครอง อาวุธปืน ไม่ เป็น ความผิด ตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ เห็น ว่า ข้อเท็จจริง ที่ จำเลย ที่ 3 ยก ขึ้นมา เป็น ข้อฎีกา เพื่อ ปรับบท ความผิด นั้น เป็น ข้อเท็จจริง ที่แตกต่าง จาก ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ฟัง มา เป็น การ ฎีกา ที่ ให้ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ต่าง กับ ที่ ศาลอุทธรณ์ ฟัง มา เป็น ฎีกา ในปัญหา ข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้น ลงโทษ จำเลย ที่ 3 ใน ความผิด กระทง แรกจำคุก 2 ปี กระทง หลัง จำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน ฎีกา ของจำเลย ที่ 3 ข้อนี้ จึง เป็น ฎีกา ที่ ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ศาลฎีกา รับ วินิจฉัย ให้ไม่ ได้
ส่วน ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 3 ประการ หลัง นั้น เห็น ว่า การที่ จำเลย ที่ 3 มี อาวุธปืน ไว้ ใน ความ ครอบครอง แล้ว พา อาวุธปืนไป ในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ นั้น เห็น ได้ ว่า มี เจตนา ที่ จะทำ ให้ เกิด ผล เป็น ความผิด หลายอย่าง ต่างกัน การ กระทำ ของ จำเลย จึงเป็น ความผิด หลาย กรรม ต่างกัน ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ชอบ แล้ว
พิพากษา ยืน.

Share