คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่ทนายจำเลยซึ่งขาดจากการเป็นทนายความอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติ ทนายความพ.ศ.2528มาตรา44(3)ทำการเป็นทนายความโดยเรียงคำให้การยื่นต่อศาลและดำเนินกระบวนพิจารณาว่าความอย่างทนายความในศาลชั้นต้นนั้นย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา33การดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณามาจนกระทั่งพิพากษาคดีแต่ไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้รับใบอนุญาตเป็นทนายความของสภาทนายความและจำเลยได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความของตนเข้ามาในคดีให้ถูกต้องกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความที่ถูกต้องตามกฎหมายและยื่นคำให้การเข้ามาใหม่แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ต่อไปตามวิธีพิจารณาความ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ พิพากษา เพิกถอน รายงาน การ ประชุม ของ บริษัทอันเป็นเท็จ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2529 และ ห้าม จำเลยเกี่ยวข้อง กับ บริษัท ให้ คณะกรรมการ ชุด เดิม ที่มา จาก การเลือกตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2523 เป็น กรรมการ ของ บริษัท ต่อไป จนกว่า จะ มี การประชุม สามัญ ประจำปี กับ ให้ จำเลย ชดใช้ เงิน 66,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับ จาก วันฟ้อง แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
เมื่อ โจทก์ สืบพยาน เสร็จ แล้ว ระหว่าง นัด สืบพยาน จำเลย ทนายโจทก์ยื่น คำร้อง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2531 ว่า นาย นิตินัย นาครทรรพ ทนายจำเลย ซึ่ง เป็น ผู้ เรียง และ ลงชื่อ ใน คำให้การ จำเลย และ ดำเนินกระบวนพิจารณา ใน ฐานะ เป็น ทนายจำเลย ตลอดมา นั้น ได้ ขาด ต่อ ใบอนุญาตและ สิ้นสุด สภาพ การ เป็น ทนายความ ไป ก่อน ที่ จะ มา เป็น ทนายความ ให้ จำเลยนาย นิตินัย จึง ไม่มี สิทธิ ดำเนินการ แทน คู่ความ ใน ฐานะ ทนายความ ขอให้ มี คำสั่ง ให้ กระบวนพิจารณา ที่นาย นิตินัย ได้ กระทำ ไป ใน ฐานะ ทนายจำเลย เป็น โมฆะ ศาลชั้นต้น ไต่สวน แล้ว เห็นว่า การ ที่ ทนายความขาด ต่อ อายุความ ใบอนุญาต เป็น เรื่อง ผิดระเบียบ ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 27 ศาล มีอำนาจ สั่ง แก้ไข ได้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ทนายความ ของ จำเลย ได้ ต่อ อายุ ใบอนุญาต แล้ว ถือได้ว่ามี การ แก้ไข ข้อ ผิดระเบียบ แล้ว กระบวนพิจารณา ที่ ดำเนิน มา ก่อน นี้ย่อม สมบูรณ์ มี คำสั่ง ให้ยก คำร้องขอ งทนายโจทก์ แล้ว ดำเนิน กระบวนพิจารณา สืบพยาน จำเลย จน เสร็จ สำนวน โดย จำเลย มิได้ ยื่น ใบแต่งทนายความตั้ง นาย นิตินัย เข้า มา ใหม่
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง และ คำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ใน ข้อ แรก ว่า กระบวนพิจารณา ของ ศาลชั้นต้น เริ่ม ตั้งแต่ ที่ สั่ง รับใบแต่งทนายความ ซึ่ง จำเลย ตั้ง นาย นิตินัย นาครทรรพ เป็น ทนายจำเลย ไว้ รวมสำนวน และ รับคำ ให้การ จำเลย ฉบับ ลงวันที่ 21 กันยายน 2530ที่นาย นิตินัย ลงลายมือชื่อ แทน จำเลย และ เป็น ผู้ เรียง แล้ว นาย นิตินัย ได้ ดำเนิน กระบวนพิจารณา อย่าง ทนาย ของ จำเลย ตลอดมา จน ถึง วันที่ 7 ตุลาคม 2531 อันเป็น วันที่ นายทะเบียน สภา ทนายความได้รับ คำขอ จดทะเบียน และ รับ ใบอนุญาต เป็น ทนายความ ตลอด ชีพ ของนาย นิตินัย ไว้ ตาม ที่ ปรากฏ ใน เอกสาร หมาย ล. 4 นั้น จะ เป็น การ ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ เห็นว่า ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ได้ความ จาก การ ไต่สวน นั้นนาย นิตินัย เป็น ผู้ที่ ได้ จดทะเบียน และ รับ ใบอนุญาต เป็น ทนายความ ชั้น หนึ่ง อยู่ แล้ว ก่อน วันที่ พระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. 2528ใช้ บังคับ ดังนั้น ใบอนุญาต ดังกล่าว จึง มี อายุ ใช้ ได้ จน ถึง วันที่31 ธันวาคม 2528 ตาม ที่ พระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 84วรรคหนึ่ง บัญญัติ ไว้ หาก นาย นิตินัย ประสงค์ จะ ทำการ เป็น ทนายความ ต่อไป จะ ต้อง ยื่น คำขอ ต่อ อายุ ใบอนุญาต ภายใน เก้า สิบ วัน ก่อน วันที่ใบอนุญาต ฉบับ เดิม สิ้น อายุ แต่ นาย นิตินัย มิได้ ยื่น คำขอ ต่อ ใบอนุญาต ภายใน กำหนด เวลา ดังกล่าว จึง เป็น การ ขาด ต่อ ใบอนุญาต ตาม มาตรา 39 วรรคสองแม้ นาย นิตินัย มีสิทธิ ได้รับ การ ต่อ อายุ ใบอนุญาต หาก ได้ ยื่น คำขอ ต่อ ใบอนุญาต ภายใน เวลา ไม่เกิน หก สิบ วัน นับแต่ วันที่ ใบอนุญาต สิ้น อายุและ ยอม ชำระ เงิน ค่าธรรมเนียม เพิ่ม ร้อยละ ยี่สิบ ของ ค่าธรรมเนียม สำหรับใบอนุญาต นั้น ตาม ที่มา ตรา 40 บัญญัติ ไว้ ก็ ตาม แต่ นาย นิตินัย ก็ หา ได้ ยื่น คำขอ ภายใน กำหนด เวลา ดังกล่าว ไม่ จึง ต้องห้าม ทำการ เป็นทนายความ ว่าความ ใน ศาล หรือ แต่ง คำให้การ คำร้อง คำแถลง อัน เกี่ยวกับการ พิจารณา คดี ใน ศาล ให้ แก่ ผู้อื่น ตาม ที่มา ตรา 33 บัญญัติ ไว้ ผู้ที่กระทำการ ฝ่าฝืน มาตรา 33 นั้น พระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. 2528มาตรา 82 ก็ บัญญัติ เป็น ความผิด และ กำหนด โทษ ไว้ ว่า ต้อง ระวางโทษจำคุก ไม่เกิน สอง ปี หรือ ปรับ ไม่เกิน สี่ หมื่น บาท หรือ ทั้ง จำ ทั้ง ปรับดังนี้ ย่อม เห็น ได้ว่า การ ที่นาย นิตินัย ซึ่ง ขาด จาก การ เป็น ทนายความ อยู่ ก่อน แล้ว ตาม มาตรา 40(3) ทำการ เป็น ทนายความ เรียง คำให้การยื่น ต่อ ศาล และ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ว่าความ อย่าง ทนายความ ของ จำเลยใน ศาลชั้นต้น ต่อ แต่ นั้น มา ย่อม เป็น การ ฝ่าฝืน ต่อ บทบัญญัติ แห่งพระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 กระบวนพิจารณา ดังกล่าวจึง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ นาย นิตินัย จะ ได้ ยื่น คำขอ จดทะเบียน และ รับ ใบอนุญาต เป็น ทนายความ และ นายทะเบียน สภา ทนายความ ได้รับ ใบ คำขอดังกล่าว ไว้ เมื่อ วันที่ 7 ตุลาคม 2531 แล้ว ตาม ที่ ปรากฏ ใน เอกสาร หมายล. 4 ก็ ไม่อาจ ทำให้ การกระทำ ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ของ นาย นิตินัย ดังกล่าว แล้ว กลับ เป็น การกระทำ ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย ขึ้น มา ได้ ตราบใดที่นาย นิตินัย ยัง ไม่ได้ รับ ใบอนุญาต เป็น ทนายความ ของ สภา ทนายความ และ จำเลย ยัง มิได้ ยื่น ใบแต่งทนายความ ตั้ง นาย นิตินัย เป็น ทนายความ ของ จำเลย เข้า มา ใหม่ กระบวนพิจารณา ที่นาย นิตินัย เป็น ผู้ดำเนินการ ย่อม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อเท็จจริง ปรากฏ ตาม ท้อง สำนวน ว่า ศาลชั้นต้นดำเนิน กระบวนพิจารณา มา จน กระทั่ง พิพากษาคดี โดย ยัง ไม่ปรากฏ ว่านาย นิตินัย ได้รับ ใบอนุญาต เป็น ทนายความ ของ สภา ทนายความ และ จำเลย ได้ ยื่น ใบแต่งทนายความ ตั้ง นาย นิตินัย เป็น ทนายความ ของ จำเลย เข้า มา ใหม่ หลังจาก ที่ ปรากฏว่า นาย นิตินัย เป็น ทนายความ ที่ ขาด จาก การ เป็น ทนายความ ตาม มาตรา 44(3) แล้ว จึง ชอบ ที่ ศาลชั้นต้นจะ สั่ง เพิกถอน กระบวนพิจารณา ดังกล่าว เสีย ทั้งหมด เริ่ม ตั้งแต่ที่ ได้ สั่ง รับ ใบแต่งทนายความ ของ จำเลย และ คำให้การ ของ จำเลย ไว้แล้ว สั่ง ให้ จำเลย แก้ไข ดำเนิน กระบวนพิจารณา เสีย ใหม่ โดย ให้ จำเลยตั้ง ทนายความ ที่ ถูกต้อง ตาม กฎหมาย และ ยื่นคำให้การ เข้า มา ใหม่ ภายใน15 วัน นับแต่ วัน ทราบ คำสั่งศาล แล้ว จึง ดำเนิน กระบวนพิจารณา ใหม่ ต่อไปการ ที่ ศาลชั้นต้น ถือเอา ว่าการ ที่นาย นิตินัย ได้ ยื่น คำขอ จดทะเบียน และ รับ ใบอนุญาต เป็น ทนายความ เป็น การ แก้ไข กระบวนพิจารณา ที่ ผิดระเบียบมา แต่ ต้น แล้ว มี คำสั่ง ให้ยก คำร้องขอ งโจทก์ ฉบับ ลงวันที่ 19 สิงหาคม2531 และ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ต่อมา จน พิพากษาคดี และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1พิพากษายืน มา นั้น ไม่ต้อง ความเห็น ศาลฎีกา ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้นจึง ไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกา ของ โจทก์ ใน ข้อ อื่น อีก ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลล่าง ทั้ง สอง และ กลับ คำสั่งศาล ชั้นต้นลงวันที่ 16 ธันวาคม 2531 เป็น ให้ เพิกถอน กระบวนพิจารณา ของ ศาลชั้นต้นทั้งหมด เริ่ม แต่ ที่ สั่ง รับ ใบแต่งทนายความ ของ จำเลย และ คำให้การ ของจำเลย ฉบับ ลงวันที่ 21 กันยายน 2530 ไว้ ให้ จำเลย ยื่น ใบแต่งทนายความที่ ถูกต้อง ตาม กฎหมาย และ ยื่นคำให้การ เข้า มา ใหม่ ภายใน 15 วันนับแต่ วัน อ่าน คำพิพากษา ศาลฎีกา แล้ว ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนิน กระบวนพิจารณา ใหม่ ต่อไป ตาม วิธีพิจารณา ความ

Share