คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ในวันนัดสืบพยานผู้ร้องซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเมื่อวันที่2กันยายน2534ผู้ร้องยื่นบัญชีระบุพยานศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานของผู้ร้องกับให้งดสืบพยานผู้ร้องและพยานโจทก์และได้มีคำพิพากษาวันที่19กันยายน2534คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226เมื่อผู้ร้องมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น คดีนี้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องนำพยานเข้าสืบถือได้ว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบตามคำร้องและฟังไม่ได้ว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องดังนั้นการที่ผู้ร้องฎีกาว่าบ้านพิพาทเดิมเป็นกรรมสิทธิ์ของ ธ. ไม่ใช่ของจำเลยผู้ร้องได้ซื้อบ้านพิพาทมาจาก ธ. เมื่อวันที่20มิถุนายน2531ในราคา20,000บาทและผู้ร้องได้เป็นเจ้าของบ้านพิพาทในทะเบียนบ้านแล้วเมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยได้ออกไปจากบ้านพิพาทแล้วโจทก์ทั้งสองหามีสิทธิที่จะบังคับคดีให้รื้อถอนบ้านพิพาทได้อีกต่อไปการที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับคดีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าฎีกาของผู้ร้องดังกล่าวมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรก

ย่อยาว

คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก ศาล พิพากษา ให้ จำเลย รื้อถอน บ้าน เลขที่52/4 แขวง โสมนัส (วัดโสมนัส) เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ออก ไป จาก ทางสาธารณะ คลองถมจุลนาค จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษา โจทก์ ขอให้ บังคับคดี ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า บ้าน พิพาทเป็น ของ ผู้ร้อง โดย ผู้ร้อง ซื้อ มาจาก ธ. เมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน 2531 ขอให้ งดการบังคับคดี
โจทก์ ทั้ง สอง ให้การ ว่า บ้าน หลัง ที่ ยึด เป็น ของ จำเลย ไม่ใช่ของ ผู้ร้อง ธ. ไม่ใช่ เจ้าของ บ้าน ไม่มี อำนาจ ขาย บ้าน หลัง ดังกล่าว ได้ และ ที่ ผู้ร้อง กับ ธ. ทำ สัญญาซื้อขาย กัน ก็ มิได้ ไป จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรม ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ เป็น การ ฝ่าฝืน บทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 71 เป็น โมฆะขอให้ ยกคำร้อง
ใน วันนัด สืบพยาน ผู้ร้อง ซึ่ง มี หน้าที่ นำสืบ ก่อน เมื่อ วันที่ 2กันยายน 2534 ผู้ร้อง ยื่น บัญชีระบุพยาน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับบัญชีระบุพยาน ผู้ร้อง กับ ให้ งดสืบพยาน ผู้ร้อง และ พยานโจทก์แล้ว พิพากษายก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า เมื่อ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ที่ ไม่รับ บัญชีระบุพยาน ของ ผู้ร้อง ไม่อนุญาต ให้ ผู้ร้อง สืบพยาน คดี นี้ ศาลชั้นต้น ได้มี คำสั่ง ดังกล่าว เมื่อ วันที่ 2 กันยายน 2534 และ ได้ มี คำพิพากษาวันที่ 19 กันยายน 2534 คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ดังกล่าว จึง เป็น คำสั่งระหว่าง พิจารณา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226เมื่อ ผู้ร้อง มิได้ โต้แย้ง คำสั่ง ดังกล่าว ไว้ ย่อม ไม่มี สิทธิ อุทธรณ์คำสั่ง นั้น ที่ ผู้ร้อง ฎีกา อีก ข้อ หนึ่ง ว่า บ้าน พิพาท เดิม เป็นกรรมสิทธิ์ ของ ธ. ไม่ใช่ ของ จำเลย ผู้ร้อง ได้ ซื้อ บ้าน พิพาท มาจาก ธ. เมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน 2531 ใน ราคา 20,000 บาท และ ผู้ร้อง ได้ เป็น เจ้าของ บ้าน พิพาท ใน ทะเบียนบ้าน แล้ว เมื่อ โจทก์ทั้ง สอง ฟ้อง จำเลย ได้ ออก ไป จาก บ้าน พิพาท แล้ว โจทก์ ทั้ง สอง หา มีสิทธิที่ จะ บังคับคดี ให้ รื้อถอน บ้าน พิพาท ได้ อีก ต่อไป การ ที่ โจทก์ ทั้ง สองขอให้ บังคับคดี จึง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นั้น เห็นว่า คดี นี้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ว่า เมื่อ ศาลชั้นต้น ไม่อนุญาต ให้ ผู้ร้อง นำพยาน เข้าสืบจึง ถือได้ว่า ผู้ร้อง ไม่มี พยาน มา สืบ ตาม คำร้อง และ ฟัง ไม่ได้ ว่าบ้าน พิพาท เป็น ของ ผู้ร้อง เช่นนี้ ย่อม เป็น ที่ เห็น ได้ว่า ฎีกา ของผู้ร้อง ดังกล่าว มิได้ โต้แย้ง คัดค้าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ว่าไม่ถูกต้อง หรือ ผิดพลาด อย่างไร จึง เป็น ฎีกา ที่ ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
พิพากษายืน

Share