แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
จำเลยออกเช็คพิพาทให้ส.เพื่อชำระหนี้ต่อมาส.นำเช็คดังกล่าวไปแลกเงินสดจากโจทก์เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินดังนี้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบในวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งเป็นวันที่มีการกระทำผิดของจำเลยโจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯได้.(ที่มา-ส่งเสิรม).
ย่อยาว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิด อัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ลงโทษ จำคุก 10เดือน ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า คง มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่าเมื่อ จำเลย มิได้ ออก เช็ค สั่ง จ่าย ให้ โจทก์ โดย ตรง โจทก์ จะ ฟ้องขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิด อัน เกิดจากการ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2497 ได้ หรือไม่ คดี นี้ ต้องห้าม ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ใน การวินิจฉัย ข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ จำเลย จึง ต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง ตามที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา แล้ว จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ตาม มาตรา222 ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ออก เช็ค พิพาท ให้ นาย แสนตันจรารักษ์ เพื่อ ชำระ หนี้ ต่อมา นาย แสน นำ เช็ค ดังกล่าว ไป แลกเงินสด จาก โจทก์ เมื่อ เช็ค ถึง กำหนด โจทก์ นำ เข้า บัญชี เพื่อ เรียกบัญชี เพื่อ เรียก เก็บ เงิน ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่าย เงิน ดังนี้ ตามข้อเท็จจริง ดังกล่าว ถือ ว่า โจทก์ เป็น ผู้ทรง โดย ชอบ ใน วันที่ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่าย เงิน อัน เป็น วัน ที่ มี การ กระทำ ผิด ของจำเลย โจทก์ จึง อยู่ ใน ฐานะ เป็น ผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) ที่ จะ ดำเนินคดี แก่จำเลย ใน ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิด อัน เกิดจาก การใช้ เช็ค พ.ศ. 2497 มิใช่ เพียง สิทธิ ที่ จะ ฟ้อง จำเลย ทาง แพ่ง ตามที่ จำเลย ฎีกา เท่านั้น ฎีกา ของ จำเลย ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน