คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์อ้างว่าต้นฉบับใบบันทึกการใช้บัตรเครดิตของสำเนาเอกสารหมายจ.8อยู่ที่จำเลยทั้งสองเมื่อจำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้ไว้แล้วว่าสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรเครดิตหรือใบบันทึกค่าสินค้าและบริการท้ายฟ้องซึ่งตรงกับสำเนาเอกสารหมายจ.8เป็นเอกสารปลอมเท่ากับจำเลยทั้งสองไม่รับว่าต้นฉบับใบบันทึกการใช้บัตรเครดิตหรือใบบันทึกค่าสินค้าและบริการดังกล่าวอยู่ที่จำเลยทั้งสองถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารใบบันทึกค่าสินค้าและบริการดังกล่าวมาได้ศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารใบบันทึกการใช้บัตรเครดิตเป็นค่าสินค้าและบริการเอกสารหมายจ.8ซึ่งเป็นภาพถ่ายจากไมโครฟิล์มที่โจทก์ถ่ายจากสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรเครดิตเป็นค่าสินค้าและบริการของจำเลยที่1ที่ร้านค้าส่งไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์เป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93(2) โจทก์ฟ้องคดีโดยแนบสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรเครดิตเป็นค่าสินค้าและบริการและสำเนาใบบันทึกการเบิกเงินสดของจำเลยเอกสารหมายจ.10และจ.11มาท้ายคำฟ้องจำเลยทั้งสองได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าวพร้อมกับฟ้องแล้วไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการนำเอกสารมาสืบก่อนวันสืบพยานโดยเหตุว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับและไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความแท้จริงของต้นฉบับเอกสารดังกล่าวรวมทั้งยอมรับว่าสำเนาตรงกับต้นฉบับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา125แล้วศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารนั้นแทนต้นฉบับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93(1)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น สมาชิก บัตร อเมริกันเอ็กซ์เพรส ของ โจทก์ ต่อมา จำเลย ที่ 1 ขอให้ โจทก์ ออก บัตร เสริม อเมริกัน เอ็กซ์เพรสให้ แก่ จำเลย ที่ 2 โจทก์ ได้ ออก บัตร อเมริกันเอ็กซ์เพรส ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 และ บัตร เสริม อเมริกัน เอ็กซ์เพรส ให้ แก่ จำเลย ที่ 2เพื่อ ใช้ แทน เงินสด ใน การ ซื้อ สินค้า และ บริการ ตลอดจน เบิกเงิน สดจาก สถาน ประกอบ กิจการ ค้า ที่ เป็น สมาชิก ของ โจทก์ ทั้ง ภายใน ประเทศและ ต่างประเทศ โดย มี ข้อตกลง ว่า โจทก์ จะ เป็น ผู้ออกเงิน ทดรองจ่าย แทนจำเลย ทั้ง สอง ให้ แก่ สถาน ประกอบ กิจการ ค้า ต่าง ๆ ไป ก่อน ตาม ที่ จำเลยทั้ง สอง นำ บัตร ที่ โจทก์ ออก ให้ ไป ใช้ จาก นั้น โจทก์ จะ เรียกเก็บเงินค่าสินค้า และ บริการ ตลอดจน เงินสด ที่ เบิก จาก จำเลย ทั้ง สอง เป็น รายเดือนจำเลย ทั้ง สอง ตกลง ร่วมกัน รับผิด ต่อ โจทก์ ใน หนี้ ที่ เกิดจาก การ นำ บัตรดังกล่าว ที่ โจทก์ ออก ให้ ไป ใช้ อย่าง ลูกหนี้ ร่วม โดย ต้อง ชำระ เงินที่ โจทก์ เรียกเก็บ ทั้งหมด ให้ แก่ โจทก์ ทันที หาก ไม่ชำระ โจทก์ มีสิทธิเรียก ค่าทดแทน การ ออก เงินทุน เพิ่ม ใน อัตรา ร้อยละ 1 ต่อ เดือน และค่าปรับ เพื่อ ทดแทน ค่าใช้จ่าย จาก การ เรียกเก็บเงิน ใน อัตรา ร้อยละ2.5 ต่อ เดือน ใน ต้นเงิน ที่ ยัง คง ค้างชำระ นับแต่ วัน ผิดนัด เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ได้ มี การ ชำระ เงิน ให้ แก่ โจทก์ เสร็จสิ้น ระหว่าง วันที่26 มิถุนายน 2535 ถึง วันที่ 3 สิงหาคม 2535 จำเลย ที่ 1 นำ บัตรที่ โจทก์ ออก ให้ ไป ใช้ แทน เงินสด ใน เมือง ฮ่องกง รวม 15 ครั้ง เป็น เงิน 1,231,071.14 บาท ปรากฏ ตาม สำเนา ใบ รายการ ใช้ บัตร และ สำเนา ใบ บันทึกค่าสินค้า และ บริการ เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 8 และ 9 ตามลำดับและ จำเลย ที่ 2 นำ บัตร ที่ โจทก์ ออก ให้ ไป ใช้ เบิกเงิน สด จาก เครื่อง เบิกเงินสด อัตโนมัติ ของ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด และ ใช้ แทน เงินสด ใน ประเทศ ไทย รวม 8 ครั้ง เป็น เงิน 33,605.25 บาท ปรากฏ ตาม สำเนาใบ รายการ ใช้ บัตร สำเนา ใบ บันทึก การ เบิกเงิน สด และ สำเนา ใบ บันทึกค่าสินค้า และ บริการ เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 10, 11 และ 12 ตามลำดับรวมเป็น เงิน ที่ โจทก์ ได้ ออก ทดรองจ่าย แทน จำเลย ทั้ง สอง ให้ แก่สถาน ประกอบ กิจการ ค้า ต่าง ๆ ดังกล่าว ทั้งสิ้น 1,264,676.39 บาทโจทก์ ได้ ส่ง ใบ แจ้ง หนี้ ไป ยัง จำเลย ทั้ง สอง เพื่อ เรียกเก็บเงิน จากจำเลย ทั้ง สอง ตั้งแต่ วันที่ 5 สิงหาคม 2535 เดือน ละ 1 ครั้งจำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน ให้ โจทก์ จำนวน 500,000 บาท ใน วันที่ 29ธันวาคม 2535 ซึ่ง เป็น การ ชำระ เงินต้น 329,738 บาท และ เป็น การชำระ ค่าทดแทน การ ออก เงินทุน เพิ่ม กับ ค่าปรับ เพื่อ ทดแทน ค่าใช้จ่ายจาก การ เรียกเก็บเงิน ที่ จำเลย ทั้ง สอง ค้างชำระ นับ ตั้งแต่ วันที่4 กันยายน 2535 ซึ่ง เป็น วันที่ จำเลย ทั้ง สอง ผิดนัด ชำระ เงิน ที่ โจทก์เรียกเก็บ ทั้งหมด จน ถึง วันที่ 29 ธันวาคม 2535 จำนวน 170,262 บาทแล้ว จำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอม ชำระ เงิน ให้ โจทก์ อีก จำเลย ทั้ง สอง เป็นหนี้ เงินต้น จำนวน 934,938.39 บาท และ ต้อง ร่วมกัน รับผิด ชำระค่าทดแทน การ ออก เงินทุน เพิ่ม ใน อัตรา ร้อยละ 1 ต่อ เดือน กับ ค่าปรับเพื่อ ทดแทน ค่าใช้จ่าย จาก การ เรียกเก็บเงิน ใน อัตรา ร้อยละ 2.5 ต่อ เดือนนับ ตั้งแต่ วันที่ 30 ธันวาคม 2535 เป็นต้น ไป จน ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน28,278 บาท และ 70,696 บาท ตามลำดับ รวมเป็น เงิน ที่ จำเลย ทั้ง สองเป็น หนี้ โจทก์ ถึง วันฟ้อง ทั้งสิ้น 1,033,912.39 บาท
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ไม่ได้ ใช้ บัตร ของ โจทก์แทน เงินสด ใน การ ซื้อ สินค้า และ บริการ จาก ร้านค้า ซึ่ง เป็น สมาชิก ของ โจทก์ตาม ฟ้อง จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ ใช้ บัตร ของ โจทก์ เบิกเงิน สด จาก เครื่อง เบิกเงินสด อัตโนมัติ ของ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 8และ 9 เป็น เอกสารปลอม โจทก์ ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ให้ จำเลย ทั้ง สองชำระ ค่าทดแทน การ ออก เงินทุน เพิ่ม และ ค่าปรับ เพื่อ ทดแทน ค่าใช้จ่ายจาก การ เรียกเก็บเงิน เพราะ โจทก์ มิใช่ สถาบันการเงิน เป็น การเรียก ดอกเบี้ย หรือ เบี้ยปรับ เกินกว่า ที่ กฎหมาย กำหนด เป็น โมฆะจำเลย ที่ 2 ไม่ได้ ตกลง หรือ ให้ สัญญา ว่า จะ ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1อย่าง ลูกหนี้ ร่วม ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน 934,938.39 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันที่30 ธันวาคม 2535 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 2ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ ข้างต้น ใน จำนวนเงิน 33,605.25 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2535 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย เป็น ข้อ แรก ตาม ฎีกาของ จำเลย ทั้ง สอง ว่า ศาล ไม่อาจ รับฟัง สำเนา เอกสาร หมาย จ. 8 จ. 10และ จ. 11 เป็น พยานหลักฐาน หรือไม่ ใน ปัญหา นี้ สำหรับ สำเนา เอกสาร หมายจ. 8 ซึ่ง เป็น สำเนา ใบ บันทึก การ ใช้ บัตร หรือ ใบ บันทึก ค่าสินค้าและ บริการ ของ จำเลย ที่ 1 และ ตรง กับ สำเนา ใบ บันทึก ค่าสินค้า และ บริการของ จำเลย ที่ 1 และ ตรง กับ สำเนา ใบ บันทึก ค่าสินค้า และ บริการ เอกสารท้ายฟ้อง หมายเลข 9 นั้น จำเลย ทั้ง สอง ได้ ให้การ ต่อสู้ ไว้ แล้ว ว่าสำเนา เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 8 เป็น เอกสารปลอม จึง เป็น กรณี ที่จำเลย ทั้ง สอง ได้ คัดค้าน การ นำ เอกสาร นั้น มา สืบ โดย เหตุ ที่ ว่า ต้นฉบับนั้น ปลอม ทั้ง ฉบับ ก่อน วันสืบพยาน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 วรรคสอง แล้ว และ มีสิทธิ คัดค้าน การ มี อยู่ และ ความ แท้จริงของ เอกสาร นั้น หรือ ความ ถูกต้อง แห่ง สำเนา เอกสาร นั้น ได้ แต่ ใน ข้อ นี้แม้ จำเลย ที่ 1 เบิกความ เป็น พยาน จำเลย ทั้ง สอง ว่า สำเนา เอกสาร หมาย จ. 8เป็น ภาพถ่าย จำเลย ที่ 1 ไม่ ยืนยัน ว่า ถูกต้อง หรือไม่ ก็ ตาม แต่เมื่อได้ความ จาก คำเบิกความ ของ จำเลย ที่ 1 ว่า ใน การ ใช้ บัตร แต่ละ ครั้งจะ มี การ ทำ เอกสาร ชุด ละ 3 แผ่น โดย ร้านค้า จะ มอบ แผ่น สุดท้าย ซึ่ง เป็นสำเนา ให้ จำเลย ที่ 1 เก็บ ไว้ ตรวจสอบ และ จะ ส่ง ต้นฉบับ ไป เก็บ เงินจาก โจทก์ และ นาย สุภักดี เทพรักษ์ ผู้รับมอบอำนาจ จาก โจทก์ เบิกความ เป็น พยานโจทก์ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ นำ บัตร ของ โจทก์ ไป ใช้แทน เงินสด ใน การ ชำระ ค่าสินค้า และ บริการ จาก สถาน ประกอบ กิจการ ค้าซึ่ง เป็น สมาชิก ของ โจทก์ ที่ เมือง ฮ่องกง รวม 15 ครั้ง ตาม สำเนา ใบ บันทึก การ ใช้ บัตร ซึ่ง เป็น ภาพถ่าย จาก ไมโครฟิลม์ พร้อม คำแปลเอกสาร หมาย จ. 8 โจทก์ ไม่มี ทั้ง ต้นฉบับ และ สำเนา ใบ บันทึก การ ใช้ บัตรอยู่ ใน ความ ครอบครอง เพราะ ต้นฉบับ ใบ บันทึก การ ใช้ บัตร นั้น อยู่ ที่จำเลย ร้านค้า เก็บ สำเนา ไว้ 1 แผ่น และ ส่ง สำเนา อีก 1 แผ่น มา เรียกเก็บ เงิน จาก โจทก์ ซึ่ง โจทก์ จะ นำ ไป ถ่าย เป็น ไมโครฟิลม์ ไว้ ตาม ภาพถ่ายเอกสาร หมาย จ. 8 แล้ว โจทก์ จะ ส่ง หลักฐาน สำเนา ที่ ร้านค้า ส่ง มา นั้นไป เรียกเก็บเงิน จาก จำเลย โดย แนบ ไป พร้อม กับ ใบ แจ้ง หนี้ โดย จำเลยทั้ง สอง มิได้ นำสืบ ปฏิเสธ ว่า โจทก์ ไม่ได้ ส่ง หลักฐาน ใบ บันทึก การ ใช้ บัตรที่ ร้านค้า ส่ง มา เก็บ เงิน จาก โจทก์ ไป ให้ จำเลย โดย แนบ ไป พร้อม กับใบ แจ้ง หนี้ จึง ฟังได้ ว่า โจทก์ ได้ ส่ง หลักฐาน ใบ บันทึก การ ใช้ บัตรดังกล่าว ไป ให้ จำเลย ทั้ง สอง เช่นนั้น แล้ว จึง ย่อม ไม่มี ต้นฉบับ หรือสำเนา ใบ บันทึก การ ใช้ บัตร ดังกล่าว อยู่ ที่ โจทก์ อีก ต่อไป และ ที่ โจทก์อ้างว่า ต้นฉบับ ใบ บันทึก การ ใช้ บัตร อยู่ ที่ จำเลย ทั้ง สอง นั้นเมื่อ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ให้การ ต่อสู้ ไว้ แล้ว ว่า สำเนา ใบ บันทึก การ ใช้ บัตรหรือ ใบ บันทึก ค่าสินค้า และ บริการ เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 9 ซึ่ง ตรง กับสำเนา ใบ บันทึก การ ใช้ บัตร เอกสาร หมาย จ. 8 เป็น เอกสารปลอม จึง เท่ากับว่า จำเลย ทั้ง สอง ไม่รับ ว่า ต้นฉบับ ใบ บันทึก การ ใช้ บัตร หรือ ใบ บันทึกค่าสินค้า และ บริการ ดังกล่าว อยู่ ที่ จำเลย ทั้ง สอง ถือได้ว่า เป็น กรณีที่ โจทก์ ไม่สามารถ นำ ต้นฉบับ เอกสาร ใบ บันทึก ค่าสินค้า และ บริการ มา ได้ดังนั้น เมื่อ ได้ความ จาก คำเบิกความ ของ นาย สุภักดี พยานโจทก์ ว่า เอกสาร หมาย จ. 8 เป็น สำเนา ใบ บันทึก การ ใช้ บัตร เป็น ค่าสินค้า และ บริการซึ่ง เป็น ภาพถ่าย จาก ไมโครฟิลม์ ที่โจทก์ ถ่าย จาก สำเนา ใบ บันทึก การ ใช้บัตร เป็น ค่าสินค้า และ บริการ ของ จำเลย ที่ 1 ที่ ร้านค้า ส่ง ไป เรียกเก็บเงิน จาก โจทก์ จึง ฟังได้ ว่า เอกสาร หมาย จ. 8 เป็น สำเนา ที่ ถูกต้องของ ต้นฉบับ เอกสาร และ ศาล มีอำนาจ รับฟัง เอกสาร หมาย จ. 8 ซึ่ง เป็นสำเนา เอกสาร เป็น พยานหลักฐาน ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) สำหรับ สำเนา เอกสาร หมาย จ. 10 และ จ. 11 ซึ่ง เป็นสำเนา ใบ บันทึก การ ใช้ บัตร เป็น ค่าสินค้า และ บริการ และ สำเนา ใบ บันทึกการ เบิกเงิน สด ของ จำเลย ที่ 2 นั้น จำเลย ทั้ง สอง ได้รับ สำเนา เอกสารดังกล่าว พร้อม กับ ฟ้อง แล้ว แต่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ได้ โต้แย้ง คัดค้านการ นำ เอกสาร มา สืบ ก่อน วันสืบพยาน โดย เหตุ ว่า ไม่มี ต้นฉบับ หรือต้นฉบับ นั้น ปลอม ทั้ง ฉบับ หรือ บางส่วน หรือ สำเนา นั้น ไม่ถูกต้องกับ ต้นฉบับ และ ไม่ได้ ขออนุญาต คัดค้าน ใน ภายหลัง ก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษา จึง ถือได้ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ ยอมรับ ถึง การ มี อยู่ ของ ต้นฉบับและ ความ แท้จริง ของ ต้นฉบับ เอกสาร นั้น รวมทั้ง ยอมรับ ว่า สำเนา นั้นตรง กับ ต้นฉบับ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 แล้วใน ชั้นพิจารณา ศาล จึง ย่อม มีอำนาจ รับฟัง สำเนา เอกสาร ดังกล่าวเป็น พยานหลักฐาน แห่ง เอกสาร นั้น แทน ต้นฉบับ ได้ ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 93(1) ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ข้อ นี้ฟังไม่ขึ้น
ส่วน ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า พยานหลักฐาน ของ โจทก์ รับฟัง ไม่ได้ ว่าจำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ โจทก์ ตาม ฟ้อง นั้น ใน ปัญหา นี้ โจทก์ มีนาย สุภักดี เบิกความ เป็น พยาน ประกอบ เอกสาร หมาย จ. 8 จ. 10 และ จ. 11ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ใช้ บัตร ของ โจทก์ แทน เงินสด ใน การ ชำระ ค่าสินค้าและ บริการ ที่ สถาน ประกอบ กิจการ ค้า ซึ่ง เป็น สมาชิก ของ โจทก์ ที่เมือง ฮ่องกง รวม 15 ครั้ง เป็น เงิน 1,231,071.14 บาท ตาม สำเนา ใบ บันทึก ค่าสินค้า และ บริการ พร้อม คำแปล เอกสาร หมาย จ. 8 และ จำเลย ที่ 2ได้ ใช้ บัตร ของ โจทก์ แทน เงินสด ใน การ ชำระ ค่าสินค้า และ บริการ ที่สถาน ประกอบ กิจการ ค้า ซึ่ง เป็น สมาชิก ของ โจทก์ ใน ประเทศ ไทย ตามสำเนา ใบ บันทึก ค่าสินค้า และ บริการ พร้อม คำแปล เอกสาร หมาย จ. 10และ เบิกเงิน สด จาก เครื่อง เบิกเงิน สด อัตโนมัติ ของ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด ตาม สำเนา ใบ บันทึก การ เบิกเงิน สด พร้อม คำแปล เอกสาร หมาย จ. 11รวม 8 ครั้ง เป็น เงิน 33,605.25 บาท รวมเป็น เงิน ที่ จำเลย ทั้ง สองใช้ ไป ทั้งสิ้น 1,264,676.39 บาท จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน 500,000 บาทให้ โจทก์ เมื่อ วันที่ 29 ธันวาคม 2535 โจทก์ นำ ไป หัก เป็น เงิน ค่าทดแทนการ ออก เงินทุน เพิ่ม ใน อัตรา ร้อยละ 1 ต่อ เดือน และ ค่าปรับ เพื่อ ทดแทนค่าใช้จ่าย จาก การ เรียกเก็บเงิน ใน อัตรา ร้อยละ 2.5 ต่อ เดือน นับแต่วันที่ จำเลย ทั้ง สอง ผิดนัด ถึง วันที่ 4 กันยายน 2535 จน ถึง วันที่29 ธันวาคม 2535 เป็น เงิน 170,262 บาท และ นำ เงิน ส่วน ที่ เหลือจำนวน 329,738 บาท ไป หัก ชำระ ต้นเงิน จำเลย ทั้ง สอง ยัง คง เป็น หนี้ต้นเงิน โจทก์ จำนวน 934,938.39 บาท นับแต่ วันที่ 30 ธันวาคม 2535เป็นต้น ไป ส่วน จำเลย ทั้ง สอง คง มี แต่ ตัว จำเลย ที่ 1 เบิกความ ว่าจำเลย ที่ 1 ไม่ ยืนยัน ว่า เอกสาร หมาย จ. 8 ถูกต้อง หรือไม่ และไม่ทราบ ว่า จำเลย ที่ 2 นำ บัตร เสริม ไป เบิก ถอนเงิน สด หรือไม่ ศาลฎีกาได้ พิเคราะห์ เอกสาร หมาย จ. 8 จ. 10 และ จ. 11 ประกอบ แล้วเอกสาร หมาย จ. 8 ปรากฏ หมายเลข บัตร สมาชิก ของ จำเลย ที่ 1 เอกสาร หมายจ. 10 และ จ. 11 ปรากฏ หมายเลข บัตร สมาชิก ของ จำเลย ที่ 2 โดย เอกสารดังกล่าว ปรากฏ วัน เวลา สถานที่ และ จำนวนเงิน ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2นำ บัตร ดังกล่าว ไป ใช้ ด้วย พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ดังกล่าว มี น้ำหนักดีกว่า พยานหลักฐาน ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังได้ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ใช้ บัตรของ โจทก์ แทน เงินสด ใน การ ชำระ ค่าสินค้า และ บริการ และ เบิกเงิน สดไป ทั้งสิ้น 1,264,676.39 บาท ซึ่ง โจทก์ ได้ ทดรองจ่าย เงิน จำนวนดังกล่าว แทน จำเลย ทั้ง สอง ไป แล้ว ต่อมา จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน 500,000บาท ให้ โจทก์ เมื่อ วันที่ 29 ธันวาคม 2535 ซึ่ง เมื่อ หัก เป็น ค่าทดแทนการ ออก เงินทุน เพิ่ม และ ค่าปรับ เพื่อ ทดแทน ค่าใช้จ่าย จาก การ เรียกเก็บ เงิน และ นำ เงิน ที่ เหลือ ไป หัก ชำระ ต้นเงิน แล้ว จำเลย ที่ 1 ยัง เป็นหนี้ ต้นเงิน โจทก์ จำนวน 934,938.39 บาท ตาม ฟ้อง ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สองข้อ นี้ จึง ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน

Share