คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยที่1ได้ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งห้ากับพวกแล้วจำเลยที่1ได้มอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งห้ากับพวกเข้าครอบครองทำนาในที่ดินพิพาทตลอดมาโดยสัญญาว่าจะโอนสิทธิทางทะเบียนให้ในภายหลังซึ่งขณะนั้นที่ดินพิพาทมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)แล้วและต่อมาจำเลยที่1ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทไว้กับจำเลยที่2จำเลยที่1ไม่ไถ่คืนภายในกำหนดโดยจำเลยที่2ไม่เคยเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทเลยทั้งซื้อฝากที่ดินพิพาทโดยไม่มีค่าตอบแทนและไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งอยู่ในฐานะที่จะบังคับให้จำเลยที่1จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้ตนได้อยู่ก่อนแล้วเสียเปรียบโจทก์ทั้งห้ามีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300และบังคับให้จำเลยที่1จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้ตนจำเลยที่2ไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเอาคืนที่ดินพิพาทที่ตนได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทนและไม่สุจริต.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2515 จำเลย ที่ 1 ตกลงทำ สัญญา ขาย ที่นา เนื้อที่ ประมาณ 340 ไร่ ให้ โจทก์ กับ พวก รวม5 คน จำเลย ที่ 1 รับ เงิน ไป ครบถ้วน แล้ว ใน วัน ทำ สัญญา และ ยินยอมให้ โจทก์ กับพวก รวม 5 คน เข้า ครอบครอง ทำ ประโยชน์ ได้ ตั้งแต่วัน ทำ สัญญา และ จำเลย ที่ 1 สัญญา จะ โอน สิทธิ ทาง ทะเบียน ให้โจทก์ กับพวก ภายใน ปี พ.ศ. 2515 โจทก์ ทั้ง ห้า จึง เข้า ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่นา ดังกล่าว โดย สงบ เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของตลอดมา จน ถึง ปัจจุบัน ปรากฏ ว่า เป็น ที่ดิน มี หนังสือ รับรอง การทำ ประโยชน์ 5 แปลง จำเลย ที่ 1 ใช้ กล ฉ้อฉล นำ ที่ดิน ไป ขายฝากให้ กับ จำเลย ที่ 2 ตั้งแต่ วันที่ 18 กรกฎาคม 2517 ซึ่ง เป็น การสมรู้ ร่วมคิด จะ ไม่ โอน ที่ดิน ให้ โจทก์ การ ทำ นิติกรรม ขายฝากจึง เป็น การ โอน ที่ดิน อัน เป็น ทาง เสียเปรียบ แก่ โจทก์ ผู้ อยู่ใน ฐานะ อัน จะ ให้ จด ทะเบียน สิทธิ ได้ อยู่ ก่อน จึง ตก เป็น โมฆะขอ ให้ เพิกถอน นิติกรรม ขายฝาก ที่ดิน ตาม ฟ้อง ฉบับ ลง วันที่ 18กรกฎาคม 2517 ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 บังคับ ให้ จำเลยทั้ง สอง โอน สิทธิ ใน ที่ดิน ตาม ฟ้อง ให้ โจทก์ กับพวก โดย ปลอด ภาระติดพัน ใดๆ ใน ที่ดิน ดังกล่าว หาก ไม่ ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือ เอาคำพิพากษา ของ ศาล เป็น การ แสดง เจตนา ของ จำเลย ที่ 1
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 นำ ที่ดิน พิพาท ไป ขายฝาก ให้จำเลย ที่ 2 และ มอบ สิทธิ ครอบครอง ทำ ประโยชน์ ใน ที่ดิน ทั้งหมด ให้จำเลย ที่ 2 ไป นับ แต่ วัน จด ทะเบียน ขายฝาก เมื่อ ครบ กำหนด ขายฝากจำเลย ที่ 1 ไม่ มี เงินไถ่ ที่ดิน จึง ตก เป็น ของ จำเลย ที่ 2 จำเลยที่ 1 ไม่ เคย ตกลง ขาย ที่ดิน ให้ โจทก์ ไม่ รับรอง ว่า โจทก์ เข้าครอบครอง ที่ดิน การ แต่งตั้ง ตัวแทน มา ทำ นิติกรรม ซื้อขาย ที่ดินไม่ มี หลักฐาน เป็น หนังสือ จึง เป็น โมฆะ ฟ้อง เคลือบคลุม ขอ ให้ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า นา พิพาท มี 5 แปลง มี หนังสือรับรอง การ ทำ ประโยชน์ มี ชื่อ จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของ และ นำมาขายฝาก กับ จำเลย ที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2517 ครบ กำหนด จำเลย ที่ 1 ไม่ไถ่คืน นา พิพาท จึง เป็น สิทธิ ของ จำเลย ที่ 2 ครอบครอง ตลอดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519 จน ถึง ปัจจุบัน จำเลย ที่ 2 ไม่ รู้เห็น เป็นใจกระทำ นิติกรรม ขายฝาก โดย กล ฉ้อฉล กับ จำเลย ที่ 1 โจทก์ มิได้ครอบครอง ที่นา พิพาท การ กล่าวอ้าง ใน ฟ้อง และ ฟ้อง ของ โจทก์ เป็นการ ละเมิด โต้แย้ง สิทธิ ของ จำเลย ที่ 2 จึง ฟ้องแย้ง ให้ พิพากษาว่า ที่นา พิพาท เป็น ของ จำเลย ที่ 2 ผู้เดียว ห้าม โจทก์ ทุก คนและ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง ใน ที่นา พิพาท ให้ ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ ให้การ แก้ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ที่ 1 ส่งมอบ ที่นา พิพาท ให้โจทก์ เข้า ครอบครอง ทำ กิน ตลอดมา จำเลย ที่ 2 กับพวก ไม่ เคย เข้า มาเกี่ยวข้อง นิติกรรม ขายฝาก กระทำ ลง โดย รู้ อยู่ ว่า ทำ ให้ โจทก์เสียเปรียบ จึง เป็น โมฆะ ฟ้องแย้ง เคลือบคลุม ขอ ให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ ห้าม มิให้ โจทก์ และ บริวาร เข้าเกี่ยวข้อง รบกวน สิทธิ ของ จำเลย ที่ 2 ใน ที่ พิพาท
โจทก์ ทั้ง ห้า อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา กลับ ให้ เพิกถอน นิติกรรม ขายฝาก ที่ดิน ตามฟ้อง รวม 5 แปลง ระห่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 เสีย ทั้งสิ้นให้ จำเลย ที่ 1 จด ทะเบียน ขาย ที่ดิน ทั้ง ห้า แปลง ให้ แก่ โจทก์ทั้ง ห้า ภายใน 7 วัน นับแต่ วันที่ ศาล พิพากษา หาก ไม่ ปฏิบัติ ตามให้ ถือ เอา คำพิพากษา แทน การ แสดง เจตนา ของ จำเลย ให้ ยกฟ้อง แย้งของ จำเลย ที่ 2
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จาก ข้อเท็จจริง ที่ ยุติ แล้ว ดังกล่าว เห็นว่าสัญญา ที่ จำเลย ที่ 1 ขาย ที่ดิน พิพาท ให้ โจทก์ ทั้ง ห้า กับ พวก ตามเอกสาร หมาย จ.3 นั้น เป็น สัญญา จะ ซื้อขาย การ ที่ โจทก์ ทั้ง ห้ากับพวก เข้า ครอบครอง ทำ ประโยชน์ ใน ที่ดิน พิพาท เป็น การ อาศัยสิทธิ ของ จำเลย ที่ 1 โจทก์ ทั้ง ห้า อ้าง ว่า ได้ ครอบครอง เป็นเจ้าของ ที่ดิน พิพาท ตั้งแต่ วัน ได้ รับ มอบ การ ครอบครอง จาก จำเลยที่ 1 โดย ใช้ ทำนา แจ้ง เสีย ภาษี บำรุง ท้องที่ และ เสีย ภาษี บำรุงท้องที่ ตาม เอกสาร หมาย จ.10, จ.11 และจ.13 ไม่ เคย เห็น มี การ ทำประกาศ แจ้งว่า จะ ทำ นิติกรรม ขายฝาก ที่ดิน พิพาท ไป ปิด ไว้ ยังที่ดิน พิพาท หรือ ที่ทำการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ ที่ดิน พิพาท อยู่ใน เขต การ ปกครอง เลย นาย เจริญ ผู้ใหญ่ บ้าน ซึ่ง ที่ดิน พิพาทอยู่ ใน เขต ปกครอง ก็ เบิกความ สนับสนุน ข้ออ้าง ของ โจทก์ ดังกล่าว จำเลย อ้างว่า มูลเหตุ ที่ จำเลย ที่ 1 ขายฝาก ที่ดิน พิพาท ให้ จำเลยที่ 2 เพราะ จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ นาย บุญทรัพย์ ที่ จำเลย ที่ 2 อยู่นาย บุญทรัพย์ โอน สิทธิ การ เป็น เจ้าหนี้ ให้ จำเลย ที่ 2 และจำเลย ที่ 2 เร่งรัด ให้ ชำระ หนี้ จึง ขายฝาก ที่ดิน พิพาท ให้ จำเลยที่ 2 ราคา 300,000 บาท ซึ่ง จำเลย ก็ มิได้ นำ นาย บุญทรัพย์ มา สืบสนับสนุน ข้ออ้าง ของ ตน ว่า ได้ โอน สิทธิ การ เป็น เจ้าหนี้ จำเลยที่ 1 ให้ จำเลย ที่ 2 คง มี แต่ คำ กล่าวอ้าง ของ จำเลย ทั้ง สอง ลอยๆสำหรับ จำเลย ที่ 1 เห็น อยู่แล้ว ว่า เป็น ผู้ใช้ สิทธิ ขายฝาก ที่ดินพิพาท โดย ไม่ สุจริต คำ ของ จำเลย ที่ 1 ไม่ มี น้ำหนัก จำเลย ที่ 2อ้างว่า เมื่อ ซื้อฝาก ที่ พิพาท แล้ว ได้ ให้ จำเลย ที่ 1 เช่า ทำนา2 ปี จำเลย ที่ 1 ไม่ ชำระ ค่าเช่า จึง ฟ้อง ให้ ชำระ ค่าเช่า แล้วให้ นาย เอนก บุตร จำเลย ที่ 1 เช่า ทำนา ต่อมา จน ถึง วันฟ้อง แต่จำเลย ที่ 1 กลับ ว่า เมื่อ ขายฝาก ที่ดิน พิพาท ให้ จำเลย ที่ 2แล้ว ใคร จะ เป็น ผู้ ทำนา ไม่ ทราบ ครั้น ตอบ ทนาย จำเลย ที่ 2 จึงว่า เมื่อ ขายฝาก ที่ดิน พิพาท แล้ว ได้ เช่า ที่ดิน พิพาท ทำนา โดยให้ นาย เอนก ผู้ เป็น บุตร ทำ แทน นาย เอนก เบิกความ สนับสนุน ข้ออ้างของ จำเลย ที่ 2 ดังกล่าว ใน ข้อ ที่ ว่า นาย เอนก เข้า ทำนา ใน ที่ดินพิพาท นั้น มี แต่ คำ ของ นาย เอนก ปาก เดียว เมื่อ พิจารณา เปรียบเทียบกับ พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ดัง ยก ขึ้น กล่าว แล้ว เห็น ว่า พยานหลักฐานของ โจทก์ ใน ข้อนี้ มี น้ำหนัก ดีกว่า พยานหลักฐาน ของ จำเลย เชื่อว่าโจทก์ ทั้ง ห้า กับ พวก ครอบครอง ทำ นา ใน ที่ดิน พิพาท ตลอดมา นาย เอนกไม่ เคย เข้า ทำนา ใน ที่ดิน พิพาท เลย จำเลย ที่ 2 คง มี แต่ พยานเอกสาร แสดงว่า ซื้อฝาก ที่ดิน พิพาท จาก จำเลย ที่ 1 แล้ว ให้ จำเลยที่ 1 เช่า ทำนา 2 ปี ต่อมา ให้ นาย เอนก บุตร ของ จำเลย ที่ 1 เช่าทำนา ใน อัตรา ค่าเช่า 4 ถัง ต่อ 60 ไร่ ตาม เอกสาร หมาย ล.1 ถึงล.15 โดย จำเลย ที่ 2 หรือ คน ที่ จำเลย ที่ 2 ให้ เช่า ที่ดิน พิพาทไม่ เคย เข้า ครอบครอง ทำนา ใน ที่ดิน พิพาท เลย ทั้ง ค่าเช่า ก็ ไม่เคย ได้ รับ ชำระ ต้อง ฟ้อง บังคับ ให้ ชำระ ค่าเช่า ซึ่ง เป็น อัตราค่าเช่า ที่ ต่ำ มาก อยู่ แล้ว ทั้ง จาก จำเลย ที่ 1 และ นาย เอนกซึ่ง บุคคล ทั้ง สอง เมื่อ ถูก ฟ้อง ได้ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความยอม ชำระ ค่าเช่า ให้ แต่ จำเลย ที่ 2 ไม่เคย บังคับ คดี ให้ ชำระค่าเช่า คง ให้ นาย เอนก เช่า ทำนา ต่อไป พฤติการณ์ ดังกล่าว ส่อ ไปใน ทาง ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ร่วมกัน ทำ หลักฐาน ทาง เอกสาร ให้เห็นว่า ที่ดิน พิพาท เป็น ของ จำเลย ที่ 2 โดย จำเลย ที่ 2 ไม่ เคยเกี่ยวข้อง กับ ที่ดิน พิพาท เลย เป็น การ ผิด ปกติ วิสัย ของ เจ้าของที่ดิน พึง กระทำ เชื่อว่า จำเลย ที่ 2 ซื้อฝาก ที่ดิน พิพาท โดยไม่ มี ค่า ตอบแทน และ ไม่ สุจริต เป็น ทาง ให้ โจทก์ ทั้ง ห้า ซึ่งอยู่ ใน ฐานะ ที่ จะ บังคับ ให้ จำเลย ที่ 1 จด ทะเบียน โอน สิทธิครอบครอง ที่ดิน พิพาท ให้ ตน ได้ อยู่ ก่อน แล้ว เสียเปรียบ โจทก์ทั้ง ห้า มี สิทธิ ฟ้อง ขอ ให้ เพิกถอน นิติกรรม ขายฝาก ที่ดิน พิพาทระหว่าง จำเลย ทั้ง สอง ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300และ บังคับ ให้ จำเลย ที่ 1 จด ทะเบียน ขาย ที่ดิน พิพาท ให้ ตน จำเลยที่ 2 ไม่ มี สิทธิ ฟ้องแย้ง เอา คืน ที่ พิพาท ที่ ตน ได้ มา โดยไม่ มี ค่า ตอบแทน และ โดย ไม่ สุจริต คดี ไม่ จำเป็น ต้อง พิจารณาฎีกา ข้อ อื่นๆ ต่อไป ศาลฎีกา เห็นด้วย กับ ผล คำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ ฎีกา จำเลย ที่ 2 ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน.

Share