แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ศาลชั้นต้น ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า การ เคหะ แห่งชาติ เคย มี หนังสือ บอกเลิก การ เช่า ห้อง พิพาท แก่ จำเลย แล้ว จำเลย ก็ ยอมรับ แต่ ปฏิเสธ ว่า หนังสือ บอกเลิก สัญญาเช่า ไม่มี ผลบังคับ เพราะ ได้ มี บัญชา ของ นายกรัฐมนตรี ขณะ นั้น ให้ ระงับ โครงการ รื้อถอน และ ให้ ผู้เช่า รวมทั้ง จำเลย เช่า อยู่ ต่อไป แต่ จำเลย ไม่มี พยาน มา สืบ ให้ เห็น เป็น ดัง ที่ จำเลย อ้าง เพียง กล่าวอ้าง ลอย ๆ ถือว่า การ บอกเลิก การ เช่า มีผล สมบูรณ์ จำเลย อยู่ ใน ห้อง พิพาท โดย ละเมิด การ ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า โจทก์ และ โจทก์ร่วม ไม่มี อำนาจฟ้อง ขับไล่ จำเลย เนื่องจาก การ บอกเลิก การ เช่า ห้อง พิพาท ไม่มี ผล ตาม กฎหมาย นั้น เป็น การ โต้เถียง ข้อเท็จจริง ว่า หนังสือ บอกเลิก สัญญา ไม่มี ผลบังคับ เพื่อ นำ ไป สู่ ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย มีสิทธิ การ เช่า ใน ห้อง พิพาท ดีกว่า โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543(3) อุทธรณ์ ของ จำเลย จึง เป็น อุทธรณ์ ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกา ของ จำเลย ใน ข้อ ที่ ว่า โจทก์ จะ เรียก สำนักงาน ทรัพย์สิน ส่วน พระมหากษัตริย์ เข้า มา เป็น โจทก์ร่วม ไม่ต้อง ด้วย เหตุ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3)( ก ) เมื่อ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย ว่า กรณี ที่ โจทก์ เรียก สำนักงาน ทรัพย์สิน ส่วน พระมหากษัตริย์ เข้า มา เป็น โจทก์ร่วม ต้องด้วย เหตุ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)( ข ) แล้ว ดังนี้ ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย จึง ไม่เป็น การ โต้แย้ง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไม่ วินิจฉัย ให้ ตาม สัญญาเช่า ระบุ ว่า ผู้เช่า สัญญา จะ เป็น ผู้ดำเนินการ ให้ ผู้ครอบครอง ผู้บุกรุก หรือ บุคคลอื่น ออกจาก สถานที่ เช่า และ สิ่งปลูกสร้าง ใน สถานที่ เช่า จน สามารถ ครอบครอง สถานที่ เช่า ได้ ทั้งหมด โดย ผู้ให้เช่า เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ตาม ที่ ผู้เช่า จ่าย จริง ภายใน วงเงิน ไม่เกิน สิบ ล้าน บาท นั้น สัญญา ได้ ระบุ ไว้ ชัดเจน ว่า ผู้เช่า คือ โจทก์ เป็น ผู้ดำเนินการ โดย ผู้ให้เช่า คือ โจทก์ร่วม เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย จึง เป็น เรื่อง การ กำหนด ค่าใช้จ่าย ใน การ ดำเนินการ ของ โจทก์ มิใช่ เป็น สัญญา เพื่อ ประโยชน์ ของ บุคคลภายนอก ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ร่วม ด้วย นั้น เมื่อ ปรากฏ ตาม คำร้อง เข้า เป็น โจทก์ร่วม ว่า โจทก์ร่วม เพียงแต่ ขอให้ บังคับ จำเลย และ บริวาร ขนย้าย ทรัพย์สิน ออก ไป จาก ห้อง พิพาท และ ห้ามเข้า ไป เกี่ยวข้อง อีก เท่านั้น ดังนั้น คำพิพากษา ศาลล่าง ทั้ง สอง ใน ส่วน นี้ จึง เป็น การ พิพากษา เกิน ไป กว่า คำขอ อันเป็น การ ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ศาลฎีกา สมควร แก้ไข เสีย ให้ ถูกต้อง เป็น จำเลย ไม่ต้อง ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ร่วม
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า เดิมอาคารสงเคราะห์ราชวิถี-รางน้ำ เป็นกรรมสิทธิ์ของกรมประชาสงเคราะห์ ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1235ถนนราชวิถี แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานครซึ่งเช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และกรมประชาสงเคราะห์ได้ให้จำเลยเช่าห้องเลขที่ 7 ของอาคารดังกล่าวอยู่อาศัยในอัตราค่าเช่าเดือนละ 145 บาท โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาเช่า ต่อมามีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 316 ลงวันที่13 ธันวาคม 2515 ข้อ 54 ให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้และความรับผิดของกรมประชาสงเคราะห์เฉพาะที่เกี่ยวกับกิจการอาคารสงเคราะห์ไปให้การเคหะแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่11 กุมภาพันธ์ 2516 ซึ่งรวมทั้งห้องที่จำเลยเช่าอยู่ด้วยเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2522 การเคหะแห่งชาติได้บอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยแต่จำเลยกับบริวารไม่ยอมย้ายออก คงอาศัยอยู่ในห้องพิพาทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตลอดมา ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2533การเคหะแห่งชาติได้ขายอาคารสงเคราะห์ราชวิถี-รางน้ำ รวมทั้งห้องพิพาทให้แก่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และในวันเดียวกันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ให้โจทก์เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1235 พร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดในที่ดินดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาการเช่า 30 ปี นับตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม 2533 เป็นต้นไปเพื่อประโยชน์ทำเป็นสวนสาธารณะโดยสัญญาเช่าได้กำหนดให้โจทก์ผู้เช่าเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ครอบครอง ผู้บุกรุก หรือบุคคลอื่นใดออกไปจากสถานที่เช่า และเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2535 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยนายสมควร รวิรัฐ ผู้อำนวยการสำนักงานสวัสดิการสังคมกรุงเทพมหานคร ผู้รับมอบอำนาจได้มีหนังสือถึงจำเลยบอกเลิกสัญญาเช่า และให้จำเลยพร้อมทั้งบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากห้องที่เช่าภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าว 2 ครั้ง แต่ไม่ยอมจนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากห้องพิพาท การกระทำของจำเลย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถนำสถานที่ดังกล่าวไปทำประโยชน์เป็นสวนสาธารณะได้ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์ออกไปจากห้องพิพาทกับให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 2,175 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นรายเดือน เดือนละ 145 บาทนับวันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากห้องพิพาท โจทก์ร้องขอให้ศาลหมายเรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต จำเลยให้การว่า แม้โจทก์จะได้เช่าอาคารทั้งหมดรวมทั้งห้องพิพาทจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นกรณีที่มีผู้เช่าหลายรายอาศัยสิทธิต่างกัน จำเลยเป็นผู้เช่าก่อนและได้เข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าก่อนโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย สัญญาซื้อขายระหว่างสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับการเคหะแห่งชาติ และสัญญาเช่าระหว่างสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับโจทก์มีข้อกำหนดในสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกเช่นจำเลยจำเลยได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาโดยแจ้งไปยังโจทก์และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้มีการชดเชยในการขนย้ายโดยคำนึงถึงความเป็นธรรม แต่โจทก์และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามข้อสัญญา โจทก์จึงผิดสัญญาและไม่มีอำนาจฟ้องทั้งหนังสือมอบอำนาจให้บอกเลิกสัญญาเช่าเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5 และหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5 เป็นเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่ายังไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่า สัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ยังมีผลบังคับอยู่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย ขอให้ยกฟ้อง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ยื่นคำร้องว่า ตามที่ศาลหมายเรียกให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนั้นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมและขอเพิ่มเติมฟ้องว่าโจทก์ร่วมเป็นนิติบุคคลโดยมีนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นผู้อำนวยการ มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 1235 ถนนราชวิถี แขวงพญาไทเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินทั้งหมดรวมอาคารสงเคราะห์ราชวิถี-รางน้ำ เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2533 โจทก์ร่วมให้โจทก์เช่าที่ดินดังกล่าวเพื่อประโยชน์ทำเป็นสวนสาธารณะ มีกำหนดระยะเวลาเช่า 30 ปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2533 เป็นต้นไปโจทก์ร่วมมอบอำนาจให้นายสมควร รวิรัฐผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร บอกเลิกสัญญาเช่าอาคารที่ตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าวแก่ผู้เช่าทุกรายรวมทั้งจำเลยแล้ว แต่จำเลยและบริวารไม่ยอมออกไปจากห้องพิพาทเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมไม่สามารถส่งมอบที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์ได้และทำให้โจทก์และโจทก์ร่วมได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องพิพาทและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องอีก จำเลยไม่ให้การแก้ฟ้องของโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องพิพาทและส่งมอบห้องดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมในสภาพเรียบร้อย ห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องกับห้องพิพาทอีกต่อไป กับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และโจทก์ร่วมเป็นเงินจำนวน 2,175 บาท และค่าเสียหายอีกเดือนละ 145 บาทนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องพิพาท คำขออื่นให้ยก จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า อุทธรณ์ของจำเลยในข้อที่ว่าโจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเนื่องจากการบอกเลิกการเช่าห้องพิพาทของการเคหะแห่งชาติ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2522 ตามเอกสารหมาย จ.4 ไม่มีผลตามกฎหมาย เป็นปัญหาข้อกฎหมายหรือปัญหาข้อเท็จจริงเห็นว่า ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า การเคหะแห่งชาติเคยมีหนังสือฉบับลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2522 บอกเลิกการเช่าห้องพิพาทแก่จำเลยแล้ว จำเลยก็ยอมรับ แต่ปฏิเสธว่า หนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไม่มีผลบังคับ เพราะได้มีบัญชาของนายกรัฐมนตรีขณะนั้นให้ระงับโครงการรื้อถอนและให้ผู้เช่ารวมทั้งจำเลยเช่าอยู่ต่อไป แต่จำเลยไม่มีพยานมาสืบให้เห็นเป็นดังที่จำเลยอ้างเพียงกล่าวอ้างลอย ๆถือว่าการบอกเลิกการเช่ามีผลสมบูรณ์ จำเลยอยู่ในห้องพิพาทโดยละเมิด อุทธรณ์ในข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่า หนังสือบอกเลิกสัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 ไม่มีผลบังคับเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิการเช่าในห้องพิพาทดีกว่าโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 543(3) อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้นั้นชอบแล้วสำหรับฎีกาของจำเลยในข้อต่อมาว่า โจทก์จะเรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) นั้น ไม่ต้องด้วยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3)(ก) เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า กรณีที่โจทก์เรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมต้องด้วยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ข)ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อสุดท้ายว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมตามเอกสารหมาย จ.2 ข้อ 3 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกหรือไม่ เห็นว่า ตามสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.2 ข้อ 3 ระบุว่าผู้เช่าสัญญาจะเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ครอบครองผู้บุกรุก หรือบุคคลอื่นออกจากสถานที่เช่าและสิ่งปลูกสร้างในสถานที่เช่าจนสามารถครอบครองสถานที่เช่าได้ทั้งหมด โดยผู้ให้เช่าเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่ผู้เช่าจ่ายจริงภายในวงเงินไม่เกินสิบล้านบาทนั้น สัญญาได้ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้เช่าคือโจทก์เป็นผู้ดำเนินการโดยผู้ให้เช่าคือโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย จึงเป็นเรื่องการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของโจทก์ มิใช่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก แต่ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมด้วยนั้น ปรากฏตามคำร้องเข้าเป็นโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องพิพาทและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องอีกกับขอให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ร่วมดังนั้น คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอ อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 จึงสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์