คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2492

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

สัญญาเช่ามีข้อความว่า “เมื่อผู้เช่าชำระค่าเช่าให้ตามกำหนดและปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ปรากฎอยู่ในนี้แล้วผู้เช่าจะอยู่ในสถานที่เช่าได้ โดยปรกติสุขตลอดระยะเวลาเช่า” เป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเช่า ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลแพ่งฯ มาตรา566.

ย่อยาว

คดีนี้ จำเลยได้ขอให้ศาลชี้อขาดเบื้องต้นในข้อตัดฟ้องบางข้อศาลชั้นตนได้สั่งชี้ขาดเบื้อต้นว่า (๑) ข้อที่จำเลยอ้างว่าโจทก์เลิกสัญญาเช่าไม่ได้ตามสัญญาข้อ ๑๑ โดยสัญญาข้อนี้มีว่า เมื่อผู้เช่าชำระค่าเช่าให้ตามกำหนด และปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ปรากฎผู้เช่าชำระค่าเช่าให้ตามกำหนด และปฏิบัติตามข้อสัญยาที่ปรากฏอยุ่ในนี้แล้ว ผู้เช่าจะอยู่ในสาถนที่เช่าได้โดยปรกติสุขตลอดเวลาเช่า ศาลชั้นต้นเห็ฯว่าสัญญาข้อนี้ได้ได้หมายความว่าให้สิทธิจำเลยครอบครองอยู่ชั่วกัลปาวสาน คดีนี้โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาตาม ป.ม. แพ่ง ฯ มาตรา ๕๕๙ แล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิครอบครองอยู่ต่อไป (๒) จำเลยว่า การบอกเลิกสัญญาเช่าไม่มีผลตามกฎหมายศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยไม่ได้เถียงเรื่องอำนาจของนายสถิตย์ตัวแทนของโจทก์ การอบกเลิกสัญยาเช่าไม่ต้องทำเป็นหนังสือ หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ การบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ต้องทำเป็นหนังสือ หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ให้นายสถิตย์ฟ้องร้องคดีนี้หนังสือย่อมเป็นการให้สัตยาบันการกระทำของนายสถติย์อยู่ ส่วนข้อกฎหมายที่ว่าจำเลยได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันหรือไม่นั้น โจทก์,จำเลยยังเถียงข้อทเ็จจริงกันอยู่ จะต้องสือพะยานกันต่อไปในประเด็น-ข้อนี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน.
จำเลยฏีกา,
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า (๑) สัญญาเช่าข้อ ๑๑ นั้น เป็นข้อสัญญาที่ไม่มีการหนดเวลาเช่า โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ตาม ป.ม. แพ่งฯ มาตรา ๕๖๖
(๒) เรื่องที่นายสถิตย์บอกเลิกสัญญา ฝ่ายจำเลยฎีกาว่า ไม่มีผลในกฎหมายนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่า ฝ่ายโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญากับจำเลย และในข้อที่ว่า การบอกเลิกสัญญาของนายสถิตย์ ไม่มีผลทางกฎหมาย ก็เป็นเรื่องกล่าวอ้างในทางว่า จำเลยทำสัญยาเช่าฉะบับจากนายแม้น นายสถิตย์มิได้เป็นคู่สัญญาว่า จำเลยมิได้กล่าให้มีประเด็นว่านายสถิตย์ไม่ใช่ตัวแทนโจทก์ ในการบอกเลิกสัญญา ผู้บอกเลิกสัญญาไม่ได้เป็นคู่สัญญา ก้อาจบอกเลิกในฐานะทำการเป็นตัวแทนของคู่สัญญาได้
(๓) จำเลยอ้างว่าได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ควบคุมค่าเช่าฯ ศาลฎีกาเห็นว่า ประเด็นในข้อนี้ ศาลชั้นต้นไม่ได้ชี้ขาดเบื้องต้น จำเลยฎีกาในชั้นนี้ไม่ได้
พิพากษายืน.

Share