แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ตามศาลชั้นต้นให้ปรับจำเลยฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริง คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกไม่รับฎีกา
จำเลยเห็นว่า ฎีกาข้อ 2.1 ในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นสินค้า รายเดียวกับที่จำเลยได้มาจากการประมูลการขายทอดตลาด ของกลางของด่านศุลกากร และเป็นสินค้าที่จำเลยซื้อภายใน ราชอาณาจักรจึงมิใช่เป็นของต้องห้ามต้องจำกัดจากต่างประเทศ ที่ยังมิได้เสียภาษีและยังไม่ได้ผ่านด่านศุลกากร และประเด็น ที่ว่าภาระการพิสูจน์ความผิดของจำเลยเป็นหน้าที่ของโจทก์ ที่จะต้องนำสืบ เพราะไม่เข้าข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติ ศุลกากร และฎีกาข้อ 2.2 ที่ว่าจะต้องมีเอกสารใบรับรอง การนำเข้า แบบ 32 มาแสดงประกอบการขนย้ายสินค้าดังกล่าว หรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายทั้งสิ้น โปรดมีคำสั่งรับฎีกา ของจำเลยไว้พิจารณาต่อไปด้วย
หมายเหตุ โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 109)
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ,102 ตรีที่แก้ไขแล้ว พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 6,7,8 วรรคสองวางโทษปรับสี่เท่าของราคาของกลางราคา 656,400 บาท รวมค่า อากรราคา 393,840 บาท ด้วยแล้วเป็นเงิน 1,050,240 บาท คงปรับ 4,200,460 บาท หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30 โดยให้กักขังมีกำหนดสองปี ยกคำขอนอกจากนี้
จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับดังกล่าว (อันดับ 103)
จำเลยจึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 109)
คำสั่ง
พิเคราะห์คำฟ้องฎีกาของจำเลยแล้ว จำเลยฎีกาว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้ารายเดียวกับที่จำเลยได้มาจากการประมูลขายทอดตลาด โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าของกลางเป็นสินค้าต้องห้ามต้องจำกัดจากต่างประเทศ และจำเลยมิได้แสดงพยานหลักฐานเป็นพิรุธ นั้น ล้วนเป็นการโต้เถียงในข้อเท็จจริงฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาชอบแล้ว ยกคำร้อง