แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า ผู้ร้องที่ 1 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เนื่องจากผู้ร้องที่ 1 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว อำนาจในการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ของผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีอำนาจยื่นฎีกาคำร้องขัดทรัพย์ซึ่ง เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ร้องที่ 1 ไม่รับฎีกาของผู้ร้องที่ 1 คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด ผู้ร้องที่ 1 เห็นว่า เนื่องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ของผู้ร้องที่ 1 มีคำสั่งไม่ยื่นฎีกาให้ผู้ร้องที่ 1 ในคดีนี้ ผู้ร้องที่ 1 คัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว คดีอยู่ระหว่างไต่สวนคำร้อง ซึ่งการไต่สวนไม่สามารถเสร็จ ทันกำหนดเวลาที่ศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาในคดีนี้ เป็นครั้งสุดท้าย ผู้ร้องที่ 1 จึงยื่นฎีกาเอง ซึ่งตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 65 ให้อำนาจลูกหนี้ (จำเลย) ช่วยจัดการทรัพย์สินได้ ดังนั้นเพื่อป้องกัน ความเสียหายกับกองทรัพย์สินของผู้ร้องที่ 1 ในคดีล้มละลาย และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ประกอบกับฎีกาของผู้ร้องที่ 1 มีทั้งปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริงอันสมควรได้รับการ วินิจฉัยจากศาลฎีกา โปรดมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ร้องที่ 1 ด้วย หมายเหตุ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 76 แผ่นที่ 2) คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยเป็น บุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 1312 ถึง 1317 ตำบลองครักษ์ (คลองซอยที่ 24 ฝั่งเหนือ)อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ของจำเลย เพื่อขายทอดตลาดนำเงินเข้ากองทรัพย์สินของจำเลย ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 ว่า ผู้ร้องทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 6 แปลงดังกล่าว ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้สอบสวนและมีคำสั่งคืนโฉนดที่ดินทั้ง 6 ฉบับ ให้แก่ผู้ร้องทั้งสอง แต่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองนำเงินประกันค่าเสียหาย จำนวน 6,502,100 บาท มาวางภายใน 7 วัน ซึ่งคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวต่อมาผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 11 มิถุนายน 2533 ว่าตามที่ผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คืนโฉนดที่ดินทั้ง 6 ฉบับให้แก่ ผู้ร้องนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นัดสอบสวนคำร้องของ ผู้ร้องทั้งสองในวันที่ 9 พฤษภาคม 2533 เมื่อถึงวันนัด สอบสวนผู้ร้องทั้งสองขอเลื่อนการสอบสวน เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้งดสอบสวนพยานของผู้ร้องทั้งสอง และ มีคำสั่งยกคำร้องขอคืนโฉนดที่ดินด้วยคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วย กฎหมาย เนื่องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ปฏิบัติตาม ขั้นตอนพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 158 ขอให้ ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดทรัพย์ คืนโฉนด ดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องทั้งสองหรือเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการสอบสวนพยานหลักฐานของผู้ร้องทั้งสองต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของ ผู้ร้องทั้งสอง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้ร้องที่ 1 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว(อันดับ 73) ผู้ร้องที่ 1 จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 75)
คำสั่ง พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าผู้ร้องที่ 1 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาดแล้ว อำนาจในการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับ ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ 1 ย่อมตกเป็นอำนาจของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะดำเนินการดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22(3) ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีอำนาจ ยื่นฎีการ้องขัดทรัพย์ซึ่งเป็นการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน ของผู้ร้องที่ 1 ได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของ ผู้ร้องที่ 1 ชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องเป็นพับ