แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยที่ 1 ยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า ฎีกาของจำเลยที่ 1 ทุกข้อเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทมากกว่าโจทก์ เพื่อให้ศาลฎีกาฟังว่าทั้งสองฝ่ายประมาทเท่า ๆ กันอันนำไปสู่ ข้อกฎหมายที่ว่าต้องแบ่งความรับผิดเท่า ๆ กัน มิใช่ จำเลยที่ 1 รับผิด 7 ส่วนใน 10 ส่วน จึงเป็นฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้อง ห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ที่แก้ไขแล้ว ไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 เห็นว่า คดีของจำเลยที่ 1 เหตุเกิดมาก่อนที่กฎหมายฉบับใหม่ประกาศใช้บังคับ จึงควรให้จำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ฉบับเดิม กล่าวคือราคาทุนทรัพย์เกินห้าหมื่นบาทขึ้นไป จำเลยที่ 1 ย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะเป็นกฎหมายที่เป็นคุณ แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรกโปรดอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้กฎหมายฉบับเดิมบังคับซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยด้วย
หมายเหตุ โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 162 แผ่นที่ 3)
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 109,500 บาท แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงิน ดังกล่าวนับแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่มิให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2530 จนถึงวันฟ้อง (วันที่ 18 มกราคม 2531) เกินกว่า 4,796 บาท ตามที่โจทก์ขอ และพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1ชำระเงิน 76,650 บาท แก่โจทก์ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว(อันดับ 157)
จำเลยที่ 1 จึงยื่นคำร้องนี้ โดยมิได้นำเงินมาชำระตาม คำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล (อันดับ 159) แต่จำเลยที่ 1 ได้หาประกันสำหรับจำนวนเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นพร้อมดอกเบี้ยในชั้นขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างอุทธรณ์แล้ว (อันดับ 145)
คำสั่ง
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 บัญญัติเรื่องจำนวนทุนทรัพย์ ที่พิพาท กันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 และให้มีผลบังคับได้ เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2534จึงมีผลบังคับได้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2534 จำเลยที่ 1ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2534 จึงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาชอบแล้วในยกคำร้องค่าคำร้องให้เป็นพับ